แนวทางการเพิ่มศักยภาพการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
148 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b193206
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วารุณี ดำกระโทก (2015). แนวทางการเพิ่มศักยภาพการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5449.
Title
แนวทางการเพิ่มศักยภาพการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Guidelines to increase accommodation service capacity for tourism of Nakhon Ratchasima Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยวต่อการบริการ ด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยว ต่อการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาความพึง พอใจของนักท่องเที่ยวต่อการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน และ4) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มศักยภาพการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัด นครราชสีมา เป็นการเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้ก าหนดวิธีการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูล ในการน ามาวิเคราะห์ผลการศึกษา โดยจ าแนกรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นกระบวนการวิจัยที่ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะท าการวิจัยเจาะลงไปถึงความคาดหวัง และการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพื่อน าข้อมูลดังกล่าวมาปรับใช้เป็นแนวทางการเพิ่มศักยภาพ การบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาผู้วิจัยน าแบบสอบถามที่ได้จาการเก็บ รวบรวมข้อมูลจ านวน 384 ชุด ด าเนินการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ ในการ วิเคราะห์จะใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistic Analysis) โดยใช้การแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) การค านวณหาค่าร้อยละ (Percentage) ตามลักษณะของตัวแปร ส่วนการวิเคราะห์ค่า ความคาดหวังและการรับรู้ในการบริการทั้ง 22 ปัจจัยย่อยและ 5 ปัจจัยหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั้งหมดโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติ Paired Sample T-Test และ F-Test ในการทดสอบสมมติฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลมา โดยใช้วิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เพื่อก าหนดแนว ทางการพัฒนาศักยภาพการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาโดยท าการ สัมภาษณ์กลุ่มผู้จัดการโรงแรมหรือหัวหน้างานแผนกต่างๆ ด้านที่พัก ประเภทโรงแรมระดับ 3-4 ดาว ในจังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอเพื่อก าหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพการ บริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคาดหวังต่อการบริการด้านที่พักเพื่อการ ท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาในด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าสูงที่สุด และมีการรับรู้ต่อการ บริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาในด้านการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าสูงที่สุด เช่นกัน เมื่อค านวณหาค่าความแตกต่าง ของทั้ง 5 ด้าน ตามหลักคุณภาพของการบริการ พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคาดหวังต่อการบริการด้านที่พักเพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา สูงกว่าการรับรู้ในทุกด้าน แสดงว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจมากต่อการบริการด้านที่พัก เพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา การท าความเข้าใจในความคาดหวัง และการรับรู้ เพื่อทราบถึงความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ชาวไทย ปัจจัยในคุณภาพของการบริการ เป็นส่วนส าคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถ มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อน าไปพัฒนาหรือปรับปรุงการบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเกิดความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งน าไปสู่การเพิ่ม ขีดความสามารถทางการแข่งขันและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558