การศึกษาเชิงสำรวจระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหารจัดการการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียในเขตเมืองพัทยา
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
259 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193208
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา (2015). การศึกษาเชิงสำรวจระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหารจัดการการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียในเขตเมืองพัทยา. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5450.
Title
การศึกษาเชิงสำรวจระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหารจัดการการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียในเขตเมืองพัทยา
Alternative Title(s)
An empirical study of potential tourist attractions and carrying capacity management of incentive tourists : a case study of Indian tourists in Pattaya City
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเชิงสํารวจระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหาร จัดการการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยว อินเดียในเขตเมืองพัทยา กาหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของ นักท่องเที่ยวต่อระดับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการบริหารจัดการการ รองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียในเขต เมืองพัทยา 2) เพื่อสํารวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและขีด ความสามารถในการบริหารจัดการการรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กรณีศึกษากลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียในเขตเมืองพัทยาจําแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์และ พฤติกรรมการท่องเที่ยว 3) เพื่อเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อเป็ นรางวัลในเขตเมืองพัทยา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลเขตเมืองพัทยา จํานวน =>> คนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปวิเคราะห์สถิติทาง สังคมศาสตร์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการใช้การแจกแจงความถี่ การคํานวณหาค่าร้อยละและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานตามลักษณะของตัวแปร ในการแสดงผลใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ Independent Sample t-test การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA (F-test) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า ระดับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวด้านทรัพยากรหลักอยูในระดับมาก ( x̄ =3.42) ด้านปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว อยูในระดับปานกลาง ( x̄ =3.33) ด้านนโยบายอยูใน ระดับปานกลาง ( x̄ =3.31) ด้านปัจจัยอื่นๆอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ =3.31) และด้านการบริหาร จัดการแหล่งท่องเที่ยวอยูในระดับปานกลาง ( x̄ =3.25) ตามลําดับ ส่วนระดับขีดความสามารถใน การบริหารจัดการการรองรับที่อยู่ในระดับมากคือ ขีดความสามารถการรองรับด้านสิ่งแวดล้อม ( x̄ =3.52) รองลงมาคือ ขีดความสามารถการรองรับด้านกายภาพ ( x̄ = 3.47) อยูในระดับปานกลาง คือ ขีดความสามารถการรองรับด้านจิตวิทยา ( x̄ =3.39) และขีดความสามารถการรองรับด้านสังคม ( x̄ =3.36) ตามลําดับ ความคิดเห็นต่อขีดความสามารถในการบริหารจัดการการรองรับนักท่องเที่ยวในด้านอาชีพ ประเภทขององค์กร วัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวและความคิดเห็นต่อระดับศักยภาพแหล่ง ท่องเที่ยวในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ประเภทองค์กร และวัตถุประสงค์การ ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลพบว่า แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญที่สถิติ 0.05 รวมทั้งศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวมีอิทธิพลต่อขีดความสามารถในการรองรับ โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทาง ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 6 ด้านคือ 1) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการบริการของการท่องเที่ยว เพื่อเป็ นรางวัล 2) การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 3) นโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 4) การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายด้านการ ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล 5) การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเพื่อเป็ นรางวัล และ 6) การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลที่แตกต่างไปจากเดิม
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558