แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
231 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b193211
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วรรณภา แตกปัญญา (2016). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5453.
Title
แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Guidelines to develop marketing communications for heritage tourism in Phimai District, Nakhon Ratchasima Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 5 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อการสื่อสารทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของอําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาการรับรู้การสื่อสาร ทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของอําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาความต้องการการสื่อสารทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่เดินทาง มาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของอําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 4) เพื่อการเปรียบเทียบ การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดและความต้องการการสื่อสารทางการตลาดของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของอําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาจําแนกตาม ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน 5) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาด ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จากผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากการสื่อสาร ทางการตลาดด้านการโฆษณามากที่สุด และนักท่องเที่ยวเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากการสื่อสารทาง ตลาดด้านการตลาดทางตรงน้อยที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มีการเปิดรับข้อมูลในทุกวันช่วงเวลา 18.01- 24.00 น. และพบว่าการสื่อสารทางการตลาดด้านการโฆษณาและด้านการใช้เครือข่ายการสื่อสาร ทางอิเล็กทรอนิกส์มีความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารมากที่สุดมากกว่า 6 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยผลการศึกษาพบว่า การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดที่มีการรับรู้มากที่สุด ได้แก่ ด้านการสื่อสารแบบ ปากต่อปาก ด้านการตลาดเชิงกิจกรรม และด้านการใช้เครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการการสื่อสารทางการตลาดที่พบว่า การสื่อสารทางการตลาดที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสื่อสารแบบปากต่อปาก ด้านการใช้เครือข่ายการสื่อสารทาง อิเล็กทรอนิกส์ และด้านการตลาดเชิงกิจกรรม จึงทําการเปรียบเทียบความแตกต่างระหวางการรับรู้ การสื่อสารทางการตลาดและความต้องการการสื่อสารทางการตลาดของนักท่องเที่ยว พบว่า ค่าเฉลี่ยความแตกต่างกันมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการใช้เครือข่ายการสื่อสารทาง อิเล็กทรอนิกส์ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการส่งเสริมการขาย และเมื่อทําการทดสอบความ แตกต่างของปัจจัยทางประชากรศาสตร์กับการรับรู้ การสื่อสารทางการตลาดและความต้องการการสื่อสารทางการตลาด พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีอายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพ และ ภูมิลําเนาที่แตกต่างกนมีการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดที่แตกต่างกัน และนักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และภูมิลําเนาที่แตกต่างกันมีความต้องการการสื่อสารทางการตลาดที่แตกต่างกัน โดยแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ควรพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการบริการ และ พัฒนาสื่อประเภทต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรมีกระบวนการการติดตามและประเมินผล การใช้สื่อการสื่อสารทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559