แนวทางการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการจัดประชุมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในเขตเมืองศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
338 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193213
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นิศารัตน์ อนุตรวัฒนกุล (2016). แนวทางการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการจัดประชุมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในเขตเมืองศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5455.
Title
แนวทางการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการจัดประชุมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในเขตเมืองศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์
Alternative Title(s)
Guidelines for leveraging competitive advantages of meeting business in potential MICE cities
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการจัดประชุมเพื่อความได้เปรียบใน การแข่งขันในเขตเมืองศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์มีวัตถุประสงคด์ งั้นคือ1) เพื่อศึกษาระดับของความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวในธุรกิจการจัด ประชุมเพื่อส่งเสริมศักยภาพธุรกิจเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในเขตเมืองศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ 2) เพื่อศึกษาระดับ ส่วนต่างความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมที่ แตกต่างกัน ต่อปัจจัยด้านศักยภาพธุรกิจการจัดประชุมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการจัดประชุมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในเขตเมืองศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์
วิธีการศึกษาแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอุปสงค์(Demand) เป็นการศึกษาเชิง ปริมาณด้านความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวในธุรกิจการจัดประชุมต่อศกัยภาพธุรกิจ การจัดประชุมในเขตเมืองศักยภาพไมซ์โดยอาศัยแนวความคิด Resource-based View (RBV) ของ Barney (1991) เกี่ยวกับ ปัจจยัความได้เปรียบในการแข่งขันประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความมีคุณค่า (Valuable) 2) ด้านปัจจยัเหนือกว่าคู่แข่งขนั (Rare) 3) ด้านความยากที่จะเลียนแบบ (Costly to imitate) และ4) ด้านไม่สามารถทดแทนได้ (Non-substitutable) ส่วนในด้านอุปทาน (Supply) เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้านศักยภาพของธุรกิจการจัดประชุมในเขตเมืองศักยภาพไมซ์โดยจากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการจัดประชุม
กลุ่มตัวอย่างงที่ใช้ในการศึกษาคือ นักท่องเที่ยวในธุรกิจการจัดประชุมรวมทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) และนำเสนอในรูปแบบตาราง และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)ในการทดสอบ สมมติฐาน ได้แก่สถิติ Independent t-test เพื่อทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตวัอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2กลุ่มขึ้นไปโดยใช้สถิติ One way ANOVA (F-test)โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดบั P
ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวในธุรกิจการจัดประชุมที่มีข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่อายุและรายได้แตกต่างกันและมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวปัจจัยจูงใจในการเข้าร่วมการประชุม แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจการจัดประชุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากน้ันนักท่องเที่ยวในธุรกิจการจัดประชุมมีระดับความ คาดหวังสูงสุด 2 อันดับ ได้แก่ ด้านนความมีคุณค่า รองลงมาคือ ด้านไม่สามารถหาทดแทนได้และระดับการรับรู้สูงสุด 2 อันดับแรกได้แก่ ด้านความมีคุณค่า รองลงมาคือ ด้านปัจจัยเหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งการศึกษาวิจยัในคร้ังนี้ได้เสนอแนวทางการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจการจัดประชุมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ในเขตเมืองศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้กับ หน่วยงานหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาองค์กรความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคตต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559