มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุรา
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
307 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b193180
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
มารียา เทพสิทธา (2016). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุรา. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5485.
Title
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุรา
Alternative Title(s)
Legal measures relating to drunk driver
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
สาเหตุประการหนึ่งที่สำคัญของอุบัติเหตุจราจรทางบกของประเทศไทย เกิดจากผู้ขับขี่รถ บริโภคสุรา ความเสียหายที่เกิดขึ้นนอกจากกระทบต่อตัวผู้ขับขี่ที่บริโภคสุราแล้ว ยังกระทบและ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น และความปลอดภัยในการใช้ถนนของประชาชน จากการศึกษา พบว่า ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ เกิดจากผู้ขับขี่รถบริโภคสุรา ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีสมาชิกในปฏิญญามอสโก (MOSCOW DECLARATION) และปฏิญญาบราซิเลีย (BRASILLIA DECLARATION) อันมีวัตถุประสงค์ที่ ให้เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ค.ศ.2011-2020 (A DECADE OF ACTION FOR ROAD SAFETY 2011-2020) นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปีพ.ศ.2554-2563 เป็นทศวรรษ แห่งความปลอดภัยทางถนน และกำหนดให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจัดทำแผนปฏิบัติ การทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2554-2563 อนึ่ง ปัจจุบัน ประเทศไทยมีมาตรการทาง กฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุรากำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ 3 ฉบับได้แก่ 1. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ก าหนดความผิดฐานขับขี่ในขณะเมาสุรา ใช้ บังคับกับผู้ขับขี่รถทุกชนิด เว้นแต่รถจักรยาน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจความเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่นไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ.2522 2. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 กำหนดความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาต ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถขับขี่ในขณะที่เมาหรือเสพสุรา และความรับผิดของผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบการขนส่ง ที่กำหนดห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งบังคับหรืออนุญาตให้ผู้ใดที่เมา สุราขับขี่รถที่ใช้ในการขนส่ง และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจความเมาสุราหรือของเมาอย่าง อื่น ไว้ในประกาศ กรมการขนส่งทางบกเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจหรือทดสอบสารอันเกิดจากการ เสพสุราและกำหนดเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถในขณะปฏิบัติหน้าที่รับการตรวจหรือทดสอบ พ.ศ.2554 และ 3. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ซึ่งมุ่งที่จะบังคับใช้กับผู้ขับรถยนต์สาธารณะหรือ รถจักรยานยนต์สาธารณะโดยห้ามเสพหรือเมาสุรา ทั้งนี้ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจ ความเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นไว
เมื่อศึกษา มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุราของประเทศไทย พบว่าใน ปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับมาตรการกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุราประเทศไทยที่มี ข้อบกพร่อง ทั้งในเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับการขับขี่รถและสุราที่ไม่ชัดเจน ไม่คลอบคลุมและเหมาะสม และปัญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจและทดสอบปริมาณความมึนเมาสุรา ยังมีความ ไม่ชัดเจนเหมาะสม ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุราของมลรัฐ แคลิฟอร์เนีย มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐนิวเซาท์เวลส์ประเทศออสเตรเลีย ประเทศ เยอรมันและประเทศญี่ปุ่น พบว่า ทุกมลรัฐ ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญในเรื่องนี้ มีการกำหนด กฎหมายไว้อย่างชัดเจนครอบคลุมและเหมาะสมโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและ ประโยชน์สาธารณะ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยขอเสนอแนะแนวทางมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ ขับขี่รถที่บริโภคสุราของประเทศไทยที่เหมาะสม ชัดเจน เท่าที่พอสมควรและจำเป็นอันจะ นำไปสู่การ บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันความเสียหายจากการขับขี่ขณะอยู่ภายใต้อิทธิพลของสุราได้ ภายใต้ ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมและทฤษฎีกระบวนการนิติธรรม และภายในขอบของหลักดุลยภาพ ระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ด้วยการแก้ไข ปรับปรุง และเพิ่มเติม มาตรการกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุราประเทศไทย และหลักเกณฑ์ และวิธีการในการตรวจและทดสอบ ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายให้ชัดเจน คลอบคลุมและเหมาะสม
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559