พฤติกรรมและทัศนคตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครหลังการเกิดวิฤติการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2556-2557
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
259 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b193301
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศลิษา ธีรานนท์ (2016). พฤติกรรมและทัศนคตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครหลังการเกิดวิฤติการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2556-2557. Retrieved from: b193301, https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5487.
Title
พฤติกรรมและทัศนคตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครหลังการเกิดวิฤติการณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2556-2557
Alternative Title(s)
Foreign tourist's behavior and attitude towards traveling in Bangkok, Thailand after political crisis 2013-2014
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป พฤติกรรมการตัดสินใจเดินทาง ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ทัศนคติและภาพลักษณ์ที่มีต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเมืองพ.ศ. 2556-2557 2) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและ3) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่มีต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครภายหลังวิกฤตการณ์ทางการเมืองพ.ศ. 2556-2557กับพฤติกรรมการตัดสินใจกลับมาเที่ยวซ้า โดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมายคือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใชภาษาอังกฤษในการ สื่อสารที่เข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร จำนวน 405 ตัวอย่าง ที่เดินทางท่องเที่ยวใน กรุงเทพมหานครภายหลังวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา นับตั้งแต่การเกิดรัฐประหารขึ้น ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจยัพบว่าข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ทัศนคติและภาพลักษณ์ที่มีต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครหลังวิกฤติการณ์ทางการเมืองพ.ศ. 2556-2557 พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าท่องเที่ยวนั้น มีภูมิลำเนาจากเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด (33%) รองลงมาคือยุโรป (25.2%) และ อเมริกา (10.4%) มีสัดส่วนเป็นเพศหญิง (50.4%) และเพศชาย (49.6%) เท่าๆกันมีอายุระหว่าง 26-35 ปี มากที่สุด (37.5%) รองลงมาคือ มีอายุต่ำกว่า 25 ปี (26.4%) มีสถานภาพโสด (67.2%) รายได้เฉลี่ย
ต่อปีต่ำกว่า 15,000 USD (52.3%) มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (80%) และมีอาชีพ พนักงานเอกชนมากที่สุด (48.4%) รองลงมาคือนักเรียน/ นักศึกษา (18.5%) พฤติกรรมการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครภายหลงัวกิฤติการณ์ทางการเมืองพ.ศ. 2556-2557 พบว่า นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติเคยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวแล้ว (52.6%) โดยเคยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครในระยะเวลา 5 ปี จำนวน 1-2 คร้ังมากที่สุด (41.3%) รองลงมาคือ 3-4 คร้ัง (28.2%) มีวัตถุประสงค์สงค์การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจมากที่สุด (89.1%) นิยมเดินทางด้วยตนเอง มากที่สุด (85.9%) นิยมเดินทางท่องเที่ยวร่วมกับเพื่อนมากที่สุด (32.8%) รองลงมาคือเดินทางกับครอบครัว (26.9%) ใช้ระยะเวลาการเดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร 1-7 วัน (43%) รองลงมา คือ 8-14 วัน (42.5%) โดยใช้ช่องทางการรับรู้ข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานการท่องเที่ยวมากที่สุด (60.7%) และมีการรับรู้ถึงวิกฤตการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในกรุงเทพมหานครก่อนการเดินทางท่องเที่ยว (72.1%) และคาดการณ์ว่าจะเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ อีกคร้ัง 92.3%
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของนักท่องเที่ยวและพฤติกรรมการตัดสินใจ เดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว พบว่าเพศ, รายได้, อาชีพ, ระดับการศึกษา, ภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากสมมติฐานงานวิจัยข้อที่ 1 ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) เพื่อจัดกลุ่มตัวแปรขึ้นมาใหม่แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอ้างอิง (Inference Statistics) Binary Logistic Regression เพื่อพยากรณ์แนวโน้มของการตัดสินใจเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำจาก ปัจจัยทัศนคติของนักท่องเที่ยวด้านภาพลักษณ์ที่ได้จากการจัดกลุ่มตัวแปรใหม่พบว่า ปัจจัยทัศนคติด้านภาพลักษณ์นั้น มีผลต่อต่อการตัดสินใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวซ้า อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และพบว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม , ปัจจัยด้านกิจกรรมและแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว, ปัจจัยด้านการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว, ทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยด้านสิ่งอำนวย ความสะดวกเป็นปัจจยัที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวซ้ำมากที่สุดและจากสมมติฐานงานวิจัยข้อที่ 2 ปัจจัยทัศนคติด้านภาพลักษณ์นั้น มีผลต่อต่อการตัดสินใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่าปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อม, ปัจจัยด้านกิจกรรมและแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว, ปัจจัยด้านการพัฒนาและส่งเสริม การท่องเที่ยว, ปัจจัยด้านนทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยด้านอำนวยความสะดวก เป็นปัจจัยที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวซ้ำมากที่สุด
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559