ความรับผิดชอบของผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ: ศึกษากรณีการล่าช้า
by ลดารัตน์ โชติรัตน์
Title: | ความรับผิดชอบของผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ: ศึกษากรณีการล่าช้า |
Other title(s): | Responsibility of transport aircraft : study case of delay |
Author(s): | ลดารัตน์ โชติรัตน์ |
Advisor: | เกียรติพร อำไพ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2020 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2020.97 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ โดยศึกษาเนื้อหาภายใต้กฎหมายการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมา แนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ และวิวัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเกิดจากการล่าช้าในการรับขน เนื่องจากการล่าช้าในการรับขนหรือขนส่งทางอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดขอบเขตความหมายหรือคำนิยามของคำว่าการล่าช้า รวมถึงผลดีและผลเสียจากการไม่มีคำนิยามของคำว่าการล่าช้าในการรับขนทางอากาศ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการตีความและเป็นประโยชน์ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 โดยได้กำหนดให้ผู้ขนส่งทางอากาศจะต้องรับผิดอย่างไรและจำนวนเพียงใด และรับผิดภายใต้กฎหมายฉบับนี้หรือไม่ เพียงใด ตลอดจนเสนอมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการล่าช้าในการรับขนทางอากาศ ซึ่งในขณะนี้ความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศถือเป็นการเยียวยารูปแบบหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการล่าช้าในการรับขนเป็นเหตุซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการรับขนทางอากาศ แต่หากไม่มีการนิยามความหมายของคำว่าการล่าช้าโดยกำหนดนิยามให้ชัดเจน และในปัจจุบัน การฟ้องร้องผู้ขนส่งทางอากาศและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการับขนทางอากาศให้ รับผิดจากการล่าช้าในการรับขนทางอากาศนั้น ในการฟ้องร้องอาจอาศัยมูลเหตุอันเกิดจากละเมิด หรือมูลเหตุอันเกิดจากสัญญา หรืออาศัยกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ในกรณีเป็นผู้โดยสาร) ได้ก็ตาม แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่ได้ให้การช่วยเหลือเยียวยา หรือคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้เสียหายตามสิทธิที่ควรจะได้รับเท่าที่ควร หากศึกษาพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 อย่างแท้จริงแล้วกฎหมายฉบับนี้มีบทบัญญัติที่คุ้มครองผู้เสียหายได้มากกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากกฎหมายนี้ได้นำเอาหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดบังคับใช้ในหลายกรณี ทำให้ผู้โดยสารหรือผู้เสียหายได้เปรียบในการนำสืบพยานหลักฐานของฝ่ายตน ซึ่งหากมีการกำหนดบทนิยามหรือความหมายของ “การล่าช้า” ซึ่งในกฎหมายดังกล่าวไม่มีการกำหนดความหมายหรือคำนิยามไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้มีการตีความอย่างกว้างขึ้นอยู่กับแต่ละศาลที่จะตีความการล่าช้าดังกล่าวให้แตกต่างกัน ทำให้เมื่อไม่มีคำนิยามการล่าช้าไว้ชัดเจน การตีความคำว่า “การล่าช้า” อยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ย่อมมีความหมายที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้โดยสารเสียเปรียบอย่างมาก เพราะหากมีการบัญญัตินิยามศัพท์คำว่าการล่าช้าไว้อย่างชัดเจน จะทำให้มีการตีความที่เคร่งครัดไม่มีการตีความกว้างเพื่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้โดยสาร ซึ่งการศึกษากฎหมาย คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง ของศาลในต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ทำให้ทราบว่า ความรับผิดของผู้ขนส่งศาลจะตีความแบบกว้าง โดยให้สิทธิผู้พิพากษานิยามหรือตีความคำว่าการล่าช้าได้เองโดยอาศัยพฤติการณ์ประกอบ แต่เมื่อได้พิจารณาพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 กฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากรับขนทางอากาศในทุกกรณี
สำหรับผู้เขียนมีความเห็นว่า ต้องมีการกำหนดนิยามความหมายของคำว่า “การล่าช้า”ไว้อย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหาในการตีความการล่าช้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละศาลแต่ละประเทศ ซึ่งไม่ได้ให้นิยามหรือความหมายที่เหมือนกัน อาจทำให้สิทธิของผู้เสียหายหรือผู้โดยสารที่ได้รับความเสียหายเหมือนกัน แต่ได้รับค่าชดเชยที่ต่างกัน หากมีกรณีพิพาทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
Subject(s): | การขนส่งทางอากาศ -- ไทย
ความรับผิด (กฎหมาย) -- ไทย การขนส่งทางอากาศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
Keyword(s): | e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 114 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5598 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|