• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Guidelines for the Development of Consumer Protection Law on Digital Content

แนวทางการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหาดิจิทัล

by Sakunphong Treesomphong; สกุลพงษ์ ตรีสมพงษ์; Bajrawan Nuchprayool; พัชรวรรณ นุชประยูร; National Institute of Development Administration. The Graduate School of Law

Title:

Guidelines for the Development of Consumer Protection Law on Digital Content
แนวทางการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหาดิจิทัล

Contributor(s):

National Institute of Development Administration. The Graduate School of Law

Advisor:

Bajrawan Nuchprayool
พัชรวรรณ นุชประยูร

Issued date:

4/6/2021

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

This thesis aims is to study to investigate and suggest the guidelines for development of consumer protection laws on digital content by documented methods, study for the consumer protection laws on digital content, including enforcing Thai laws, International Laws and Foreign Law in comparative law perspective. The research is involved of the Definition and the scope of consumer protection on digital content, consumer protection on pre-contract and post-contract for the contract to supply digital content, standard for digital content and consumer remedial threshold in case of supplying digital content that non-conformation of said standard, consumers protection in case of entrepreneur does not have the right to supply digital content and digital content cause damages to other digital content or damages of consumer’s devices issue, right to freely terminate the contract to supply digital content and unfair contract issues of consumers. The result of the research illustrates that the current Thai Consumer protection law in many versions is inappropriate because they have not been specifically constructed applicable to digital content’s consumers which may cause injustice to the consumers. Accordingly, this thesis is to present the guidelines for development of Consumer Protection laws on digital content by applying international laws, namely EU law and foreign laws, including UK law and German law as a guideline for the development of the Consumer Protection laws on digital content to be enforced in Thailand. The authors suggest that it is necessary to legislate a specific individual law for consumer protection on digital content.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อค้นหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหาดิจิทัล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัล ทั้งกฎหมายไทยที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการศึกษาในประเด็นเรื่อง ความหมายของเนื้อหาดิจิทัลและขอบเขตการคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัล การคุ้มครองผู้บริโภคก่อนและหลังทำสัญญาจัดส่งเนื้อหาดิจิทัล มาตรฐานของเนื้อหาดิจิทัลและมาตรการเยียวยาผู้บริโภคกรณีเนื้อหาดิจิทัลไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด การคุ้มครองผู้บริโภคกรณีผู้ประกอบธุรกิจไม่มีสิทธิจัดส่งเนื้อหาดิจิทัล และกรณีเนื้อหาดิจิทัลทำให้เนื้อหาดิจิทัลอื่นหรืออุปกรณ์ของผู้บริโภคได้รับความเสียหาย และสิทธิเลิกสัญญาอย่างอิสระของผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัล จากการศึกษาพบว่ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันแม้จะมีอยู่หลายฉบับแต่ก็ขาดความเหมาะสม เนื่องจากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อนำมาใช้บังคับแก่กรณีผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัลโดยเฉพาะจึงอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ดังนั้น จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหาดิจิทัล โดยนำหลักการทางกฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎหมายสหภาพยุโรป และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายสหราชอาณาจักรและกฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มาเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัลขึ้นใช้บังคับในประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าต้องมีการบัญญัติกฎหมายพิเศษขึ้นมาต่างหากเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเนื้อหาดิจิทัลโดยเฉพาะ

Description:

Master of Laws (LL.M.)
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)

Keyword(s):

เนื้อหาดิจิทัล, คุ้มครองผู้บริโภค, การพัฒนากฎหมาย
Digital content Consumer Protection Law Development

Type:

Thesis
วิทยานิพนธ์

Language:

th

Rights:

National Institute of Development Administration

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5604
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5821911023.pdf ( 3,270.76 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [179]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×