• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ในกรณีเด็กและเยาวชน

by วรณัน ดาราพงษ์

Title:

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ในกรณีเด็กและเยาวชน

Other title(s):

Legal problems related to supervision of cyberbullying among children and youth

Author(s):

วรณัน ดาราพงษ์

Advisor:

อัญธิกา ณ พิบูลย์

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2020

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2020.87

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์เรื่องปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ ในกรณีเด็กและเยาวชน ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ผ่านเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี รูปแบบ ผลกระทบของการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ ซึ่งเน้นศึกษาในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน เพื่อวิเคราะห์และค้นหาแนวทางการคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเครือข่ายจึงเป็นเหตุให้การกลั่นแกล้งรังแกเปลี่ยนแปลงจากแบบดั้งเดิม พัฒนาการเกิดเป็นปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ อันทวีความรุนแรงและเกิดผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ จิตใจ และร่างกายต่อผู้เสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่นำไปสู่ผลกระทบต่อการเรียน และพัฒนาการทางสังคม จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายสำหรับป้องกันและปราบปรามปัญหาดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ทำให้ไม่อาจค้นหาบทนิยามศัพท์ ฐานความผิด และหน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเหลือได้โดยตรง แต่ต้องค้นหาจากบทบัญญัติกฎหมายใกล้เคียงอื่น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งไม่อาจปรับใช้ได้อย่างครอบคลุม ชัดเจนเพียงพอ แต่เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศที่มีการตรารับรองไว้เป็นการเฉพาะ เช่น Intimate Images and Cyber-protection Act 2017 กฎหมายของรัฐ Nova Scotia ประเทศแคนาดา หรือ Enhancing Online Safety Act 2015 กฎหมายของประเทศออสเตรเลียที่มีการกำหนดบทนิยามศัพท์ ฐานความผิด และหน่วยงานไว้เป็นการเฉพาะที่ดำเนินการคุ้มครอง ตรวจสอบเนื้อหาที่อาจมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ มีมาตรการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงเสนอให้มีการตรากฎหมายในเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ไว้เป็นการเฉพาะแยกเป็นหนึ่งฉบับ
This research is about the legal problems related to supervision of cyberbullying among children and youth. It examines the current issues arising against children and youth in order to propose appropriate legal framework for addressing such issues. The study was conducted by studying legal documents to find concepts, theories, laws, and impacts related to cyberbullying. At present, the network communications cause the bullying to change from physical bullying to cyberbullying. Cyberbullying has become increasingly severe and affected emotional, mental, and physical conditions of victims, in particular children and youth leading to an impact on social learning and development. According to the study, there is no specific cyberbullying law that addresses such issues in Thailand. This issue results in the absence of the legal definition of terms, offences, and work agencies in charge. Therefore, an analogy to the provisions as applicable must be applied; for instance, the penal code and the Computer-Related Offenses Act B.E. 2550 (2007) and the Computer-Related Offenses Amendment Act B.E.2560 (2017). However, the analogy practices are unable to apply thereto in comprehensive, clear, and sufficient manners. Nonetheless, upon comparison with the Intimate Images and Cyber-protection Act 2017 of Nova Scotia State, Canada and the Enhancing Online Safety Act 2015 of Australia that have specific definitions, offenses, and regulatory agency on examine texts which may have cyberbully, there have been rapid problem-solving measures. In consequence, this study proposes a separate specific law on cyberbullying with a view to providing the protection comprehensively for children and youth.

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563

Subject(s):

กฎหมาย -- เด็กและเยาวชน
ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Keyword(s):

e-Thesis
การกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์
การกลั่นแกล้งรังแก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

172 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5608
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b212291.pdf ( 2,242.13 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×