• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Content Analysis and Communication Strategy about Online Depression Communities 

การวิเคราะห์เนื้อหาสารและกลยุทธ์การสื่อสารบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 

by Apasnan Pongpanus; อภัสนันท์ พงษ์พนัส; Pornpun Prajaknate; พรพรรณ ประจักษ์เนตร

Title:

Content Analysis and Communication Strategy about Online Depression Communities 
การวิเคราะห์เนื้อหาสารและกลยุทธ์การสื่อสารบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 

Advisor:

Pornpun Prajaknate
พรพรรณ ประจักษ์เนตร

Issued date:

12/8/2022

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

The objectives of this research were to: 1) explore communication strategy of the admins who managed depression-related online community; and 2) investigate the content concerning resilience, trust, and social attachment from the members of depression-related online community. Samples were Facebook users in three different community groups. The research methodology includes in-depth interview with the admins, examining their communication strategies, and content analysis on resilience, trust, and social attachment which the users in depression-related online community posted. The findings showed the three communication strategies that the admins used were as follows: 1) Communication patterns: members were allowed to participate in the discussion, being both the audiences and the sources 2) Messages structures: main ideas and bullet points were essential components of the message, with concern to its rationalization 3) Communication techniques: establish or maintain relationships with the members while engaging them with controversial social issues. Positive life quotes and inspirational words were most frequently found within depression-related online community. This indicated that the members expressed themselves, mostly trust, through self-disclosure messages. Resilience was revealed by using what-I-am messages, in contrast, traits of being a hopeful, faithful, self-confident, and emotional-engaged person were told from emotional-attached messages. The results also provided useful information–effective communication strategy, guideline, and content planning–for social media admins and individuals who want to communicate in depression-related online communities. Presenting the information based on what they need, it will help the depressed users cope well with depression and recover from it eventually. Keywords: Depression, Communication Strategy, Resilience, Trust, Attachment   
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ดูแลสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 2) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาร ด้านความเข้มแข็งทางจิตใจ ความไว้วางใจและความผูกพันต่อชุมชนของสมาชิกบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ประชากรในการศึกษาคือกลุ่มสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊กกลุ่ม 3 กลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของผู้ดูแลสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และการวิเคราะห์เนื้อหาสาร (Content Analysis) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาร ด้านความเข้มแข็งทางจิตใจ ความไว้วางใจ และความผูกพันต่อชุมชนของสมาชิกบนสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลกลุ่มสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสื่อสารด้านรูปแบบ คือ ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการสื่อสารโดยสมาชิกมีอิสระทั้งในการเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร 2) ด้านการเรียบเรียงสาร ใช้วิธีการกำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อรองในการสื่อสาร โดยให้ความสำคัญต่อความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องราวที่สื่อสาร 3) ด้านเทคนิคการสื่อสาร ใช้วิธีการสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ และเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก และการประยุกต์ใช้ประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจในการสื่อสาร โดยลักษณะข้อความที่มีการสื่อสารกันในกลุ่มสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากที่สุด คือ ลักษณะการใช้ข้อความเพื่อจรรโลงใจให้คติข้อคิด ทำให้การแสดงออกทางการสื่อสารของสมาชิกในกลุ่มในด้านความไว้วางใจมากที่สุด ผ่านการใช้ข้อความเปิดเผยตนเอง ลำดับต่อมา คือ ความเข้มแข็งทางจิตใจ ผ่านการใช้ข้อความด้านสิ่งที่ตนเป็น (I am) การเป็นผู้มีความหวัง ความศรัทธา และเชื่อมั่น และความผูกพันด้านความรู้สึก ผ่านการใช้ข้อความแสดงความผูกพันด้านความรู้สึก ผลวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลสังคมออนไลน์และผู้ที่ต้องการสื่อสารไปยังสังคมออนไลน์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ในการจัดกลยุทธ์การสื่อสาร กำหนดแนวทาง การวางแผนด้านเนื้อหาสารให้ตรงกับความต้องการของผู้รับสาร อันจะทำให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามีอาการดีขึ้น และหายป่วยได้ในอนาคต  

Keyword(s):

โรคซึมเศร้า
กลยุทธ์การสื่อสาร
ความเข้มแข็งทางจิตใจ
ความไว้วางใจ
ความผูกพันต่อชุมชน

Type:

Text

Language:

tha

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5660
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 6111811018.pdf ( 4,539.36 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [192]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×