แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
184 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b197580
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กฤติยา สมศิลา (2016). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5749.
Title
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
Alternative Title(s)
Guidelines for participatory tourism management of Ban Phon Community, Khammuang District, Kalasin Province
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วมในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการสัมภาษณ์และจัดสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่ชุมชน หัวหน้าชมรมโฮมสเตย์ชุมชนบ้านโพน และประธานโครงการส่งเสริมการทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพนฯ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่ชุมชน เยาวชน และประชาชนชุมชนบ้านโพน จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมาน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และสำหรับการวิเคราะห์อิทธิผลของตัวแปรใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีลักษณะสัมผัสวัฒนธรรมชนบทหรือโฮมสเตย์ (Home Stay) มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมโดยตรงของชาวผู้ไทมีลักษณะการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นให้เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศของชุมชน ปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนกับปัจจัยขีดความสามารถของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วมได้ดีที่สุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผล (Beta = .416) และปัจจัยขีดความสามารถของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้านภาวะผู้น า (Beta = .527) จากผลการศึกษานี้นำไปสู่ข้อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ 1) แนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและกลุ่มเครือข่ายของชุมชน 2) แนวทางการพัฒนาหลักการบริหารและจัดการเชิงกลยุทธ์ของชุมชน และ 3) แนวทางการพัฒนาการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559