การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
by วรางค์ น้อยสุขเสริม
Title: | การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
Other title(s): | The application of geographic information system for dengue haemorrhagic fever surveillance in Bangkok Metropolis |
Author(s): | วรางค์ น้อยสุขเสริม |
Advisor: | จินตนา อมรสงวนสิน |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2016 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงของพื้นที่ต่อการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขกรุงเทพมหานคร การศึกษาหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตกรุงเทพมหานคร พิจารณา 5 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง คือ อัตราป่วยโรคด้วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ความหนาแน่นของประชากร ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI) และพื้นที่ระบาดโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก ทำการให้ค่าน้ำหนักคะแนนความเหมาะสมของปัจจัย (Weighting) และการให้ค่าน้ำหนักคะแนนระดับของปัจจัย (Rating) โดยการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ พบว่าค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย และพื้นที่ระบาดโรคไข้เลือดออก ซ้ำซากมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคืออัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ความหนาแน่นของประชากร และผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ตามลำดับ นำผลคูณของค่าน้ำหนักคะแนนทุกปัจจัยในรายเขตมารวมกัน แล้วนำไปหาค่าทางสถิติแล้วแบ่งระดับชั้นความเสี่ยงตามระดับการระบาด (Mean + S.D.) จำแนกระดับพื้นที่เสี่ยงในการเกิดโรคได้ 3 ระดับ ได้แก่ ความเสี่ยงระดับตามความเสี่ยงระดับปานกลาง และความเสี่ยงระดับสูง ศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงทุกระดับ และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) ในแต่ละพื้นที่เสี่ยง รวม 8 เขต จำนวน 400 ครัวเรือน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่เขตที่มีความเสี่ยงระดับสูง มีจำนวน 6 เขต คิดเป็นร้อยละ 12 ส่วนพื้นที่เขตที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง จำนวน 33 เขต คิดเป็นร้อยละ 66 และระดับต่ำ จำนวน 11 เขต คิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้ในการเฝ้าระวังจะพิจารณาตามความหมายของระบาดวิทยาคือพื้นที่ที่มีระดับคะแนนมากกว่าค่าเฉลี่ยขึ้นไป ได้แก่ พื้นที่ความเสี่ยงระดับสูง จำนวน 6 เขต คิดเป็นร้อยละ 12 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด ได้แก่ เขตสัมพันธวงศ์ เขตราชเทวี เขตภาษีเจริญ เขตห้วยขวาง เขตสวนหลวง และเขตบางบอน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายสูง มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูง และเป็นพื้นที่ระบาดโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก ผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในทุกพื้นที่เสี่ยงอยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในทุกพื้นที่เสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกของประชาชนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เสี่ยงทุกระดับ (p-value > 0.01) |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559 |
Subject(s): | การเฝ้าระวังโรค
ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 244 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5767 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|