• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานตามกรอบข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน

by ชนินทร์ ศรีวิสุทธิ์

Title:

แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานตามกรอบข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน

Other title(s):

The policy implementation guidelines of the ASEAN mutual recognition arrangement on tourism professionals : a comparative case study of Thailand and ASEAN member countries

Author(s):

ชนินทร์ ศรีวิสุทธิ์

Advisor:

พัทรียา หลักเพ็ชร

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาบริบทการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมว่า ด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน 2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และประเด็นช่องว่างในการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับ คุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียนของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับ คุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน โดยใช้แนวคิดหลักด้านการติดตามและ ประเมินผล การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Benchmarking)และทฤษฎีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทย และผู้แทนจากองค์กรการท่องเที่ยว แห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตวัอย่างแบบเจาะจงจำนวน ทั้งสิ้น 54คน
ผลการศึกษา พบว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการนำนโยบายตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพการท่องเที่ยวในระดับอาเซียนไปสู่การปฏิบัติในระดับประเทศที่แตกต่างกันส่งผลใหเ้กิดช่องว่างในการดำเนินงานขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากบริบทภูมิหลังของแต่ละ ประเทศที่แตกต่างกันส่งผลให้มีทิศทางการดำเนินงานในประเด็นต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะ สิงคโปร์และบรูไนที่ให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าวน้อยที่สุด ทั้งนี้พบว่า กัมพูชาและอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีการดำเนินงานตามข้อตกลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมี ความก้าวหน้ามาก เนื่องมาจากการให้ความสำคัญกับภาคีเครือข่าย การวางแผนงานตาม
หลักการ PDCA ตลอดจนการบริหารจัดการความรู้ที่ส่งเสริมให้มีศูนย์แห่งความเป็นเลิศขึ้นเพื่อเป็นแกนกลางในการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี
แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายตามกรอบข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติ บุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียนของประเทศไทย จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด วงจรPDCA และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในการพฒันากระบวนการทำงาน ซึ่งสามารถวาง แนวทางการดำเนินงานได้จากความร่วมมือของสามภาคีหลัก ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สมาคม วิชาชีพการท่องเที่ยวและสถาบนัการศึกษา ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นการบูรณาการการทำงานให้ บรรลุผลและทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้โดยผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย ใน 3 ประการ ได้แก่1) การเป็นแกนกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การพัฒนา บุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน 2) การพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะ บุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว ระดับ อาเซียน และ 3) การพัฒนาหน่วยงานคลังสมองด้านการพัฒนา บุคลากรท่องเที่ยว

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

บุคลากรวิชาชีพ -- การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว -- นโยบายของรัฐ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

246 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5826
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b201082.pdf ( 5,495.16 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×