• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Dissertations
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

มาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในประเทศไทย

by ปัญญา สุทธา

Title:

มาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในประเทศไทย

Other title(s):

Legal measures for the management of the waste remains of products devices and medicak equipment after the end of uses of hospitals in Thailand

Author(s):

ปัญญา สุทธา

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree level:

Doctoral

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2021

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2021.13

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย และมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล การบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาลและมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล ช่องว่างทางกฎหมาย และอุปสรรคสำคัญในการบริหารจัดการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้สามารถบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งดำเนินการศึกษา แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิธีปฏิบัติทางกฎหมายในการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล เพื่อนำมากำหนดกรอบแนวคิด และรูปแบบทางกฎหมายที่ใช้ในการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า ซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาลเป็นขยะที่มีลักษณะแตกต่างจากขยะชนิดอื่น คือ เป็นขยะที่ปนเปื้อนกับเชื้อโรคและสารเคมี การกำจัดและบริหารจัดการต้องดำเนินการตามหลักสุขาภิบาลและตามที่กฎหมายกำหนด จำเป็นต้องมีบทบัญญัติและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการบริหารจัดการ ปัจจุบันประเทศไทยขาด กฎหมายเฉพาะที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล ในการศึกษามาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรการทางกฎหมายต่างประเทศ พบว่า ได้นำหลักการทางเศรษฐศาสตร์และหลักการด้านสิ่งแวดล้อมในหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) ปรับใช้เป็นกลไกการมีส่วนร่วมรับผิดชอบแก้ไขปัญหาและเพิ่มความรับผิดชอบของผู้ผลิตในหลักการขยายความรับผิดของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) ซึ่งหลังจากวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายและหลักการด้านสิ่งแวดล้อมแล้วพบว่า โครงสร้างต้นแบบของกฏหมายการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล ประกอบด้วย 1) การกำหนดความหมายขยะทางการแพทย์ และการจัดการ 2) การจัดแบ่งประเภทหรือชนิดของขยะทางการแพทย์ 3) การกำหนดบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะทางการแพทย์ 4) การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยพิจารณาจากวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ 5) การกำหนดหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาลซึ่งเป็นขยะติดเชื้อและเป็นบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของภาครัฐ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล แบ่งเป็น 4 มาตรการ ดังนี้ มาตรการที่ 1 การแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายในระยะสั้น ระหว่างที่ประเทศไทยขาดกฎหมายเฉพาะที่ใช้สำหรับกับการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล มาตรการที่ 2 กำหนดมาตรการเฉพาะที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์กรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล มาตรการที่ 3 กำหนดมาตรการทางกฎหมายในจัดแบ่งประเภท หรือชนิดของซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล เพื่อเป็นมาตรการนำร่อง และ มาตรการที่ 4 ออกกฎหมายระยะยาวเป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลังสิ้นสุดการใช้งานของโรงพยาบาล
This research aims to study the legal measures of Thailand and foreign legal measures, concepts and theories used in the management of the waste remains of products, devices and medical equipment after the end of hospital’s uses. Management of waste products, devices and medical equipment after the end of hospital’s uses and current legal measures in Thailand. Study and analyze problems and effects caused by the waste remains of products, devices and medical equipment after the end of hospital’s uses, legal loophole, and main obstacle to management, are to be used as an amendment data to the existing law in order to properly manage the waste products, tools and medical equipment after the end-of-life uses of the hospitals. This research is a qualitative research by using documentary research method, which conducts the study of concepts, theories, and related research; and legal practices for the management of post-hospital end-of-uses of waste products, devices and medical equipment in order to define the conceptual framework and the legal models used in the management of end-of-uses of waste products, devices and medical equipment of the hospitals. The results of this research found that the remains of products, devices, medical equipment after the end of uses of the hospitals are wastes that are different from other types of wastes, namely, wastes contaminated with pathogens and chemicals. Disposal and management must be carried out in accordance with sanitation principles and regulations as required by law. It is necessary to have provisions and legal measures to be used in managing them. Currently, Thailand lacks specific laws for the management of end-of-life waste products, devices, and medical equipment after the end of hospital uses. In the study of international legal measures and foreign legal measures, it was found that the economic principles and environmental principles of Polluter Pays Principle (PPP) have been applied as a mechanism for participation, responsibility in solving problems and increasing the responsibility of producers in the principle of Extended Producer Responsibility (EPR), that after analyzing legal measures and environmental principles, it was found that the model structure of the law on the management of the remains of waste products, devices and medical equipment and equipment after the end of uses of the hospitals, consisting of 1) Definition of medical wastes and its management; 2) Classification or type of medical wastes; 3) Determination of persons involved in medical waste management; 4) Determining the duties and responsibilities of those involved based on the life cycle of products, devices and medical equipment; and 5) Determining the main unit responsible for the management of waste products, devices and medical equipment after the end of uses of the hospitals, which are infectious wastes and are the public service under the responsibility of the government. Recommendations for this research to solve the problems of the remains of waste products, devices, and medical equipment after the end of uses of the hospitals are divided into 4 measures as follows: Measure 1: Amendment and improvement of the law in the short term. While Thailand lacks specific laws applicable to the management of waste products, equipment and medical equipment after the end of hospital’s uses; Measure 2: specifies specific measures to promote the utilization the remains of waste products, devices and medical equipment after the end of hospital’s uses; Measure 3: Determines the legal measures to classify the type or categories of the remains of products, devices and medical equipment after the end of the hospital's uses as a pilot measure; and Measure 4: adopting a long-term law that is a specific law for solving problems and managing the remains of waste products, devices and medical equipment after the end of the hospital's uses.

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564

Subject(s):

ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ -- ซาก
ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายทางการแพทย์ฅฅการแพทย์ -- เครื่องมือและอุปกรณ์

Keyword(s):

e-Thesis

Resource type:

ดุษฎีนิพนธ์

Extent:

519 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5997
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b213842.pdf ( 3,864.63 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Dissertations [35]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×