การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการพัฒนากฎหมายบริษัทจำกัดในประเทศไทย
by นพดล ปกรณ์นิมิตดี
Title: | การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการพัฒนากฎหมายบริษัทจำกัดในประเทศไทย |
Other title(s): | The application of good governance principle to develop limited company law in Thailand |
Author(s): | นพดล ปกรณ์นิมิตดี |
Advisor: | นเรศร์ เกษะประกร |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2021 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2021.12 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ดุษฎีนิพนธ์นี้ศึกษาวิจัยในเรื่องการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการพัฒนากฎหมายบริษัทในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัด ที่สอดรับกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับสากล เพราะระบบกฎหมายบริษัทในประเทศไทย ยังไม่เหมือนกฎหมายบริษัทต่างประเทศที่ได้รวมเอาบริษัททุกประเภทไว้ในกฎหมายเดียวกัน อีกทั้งประมวลกฎหมายและพาณิชย์ ในส่วนบริษัทจำกัด ยังมีพัฒนาการที่แตกต่างจากกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัดในประเด็นความสอดรับกับหลักการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งหากได้มีการพัฒนากฎหมายบริษัทจำกัด จะทำให้เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ประกอบการเพื่อการแสวงหากำไรในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่มีความยั่งยืน
การศึกษาวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ พบว่า กฎหมายบริษัทจาก 3 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ในระบบ Common Law และประเทศญี่ปุ่น ในระบบ Civil Law ซึ่งแนวคิดการพัฒนารูปแบบและเนื้อหากฎหมายบริษัท จากเดิมที่เป็นทฤษฎีผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ กลายมาสู่ทฤษฎีบริษัทรูปแบบผู้มีส่วนได้เสียซึ่งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมากขึ้น โดยกฎหมายบริษัทของทั้งสามประเทศมีกำหนดหน้าที่และความรับผิดของกรรมการเพื่อสร้างการมีหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการให้ความสำคัญแก่ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ขณะที่กฎหมายบริษัทจำกัดของไทย หลายมาตราที่สัมพันธ์กับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ยังคงได้รับอิทธิพลจากรูปแบบทฤษฎีบริษัทที่ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้น มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรมีการปฏิรูปกฎหมายบริษัทจำกัดของไทย โดยการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มาใช้ในการพัฒนากฎหมาย เพื่อให้มีการบริหารจัดการบริษัทในมาตรฐานที่ไม่แตกต่างกันระหว่างบริษัทเอกชนจำกัดกับบริษัทมหาชนจำกัด ส่วนรูปแบบการแก้ไขปรับปรุงอาจเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นรายมาตรา หรือ การยกร่างใหม่โดยรวมกฎหมายบริษัทจำกัดกับกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัดเข้าไว้ด้วยกัน ในส่วนการพัฒนา Soft Law นั้น เสนอให้มีหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการเตรียมบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ให้พร้อมในการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนเพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ หากมีความประสงค์
สำหรับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่ไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ ควรมีการผลักดันให้เกิดบรรษัทภิบาลที่ดีในบริษัทเหล่านี้ โดยใช้กฎหมายบริษัทจำกัดของไทยเป็นเครื่องมือผลักดัน ดังเช่นกรณีกฎหมายบริษัทของต่างประเทศที่กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่ในการจัดทำรายงานแผนการดำเนินการของบริษัท ที่มีประเด็นเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธุรกิจเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เฉกเช่นบริษัทจดทะเบียน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564 |
Subject(s): | การกำกับดูแลกิจการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การกำกับดูแลกิจการ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- บริษัทจำกัด |
Keyword(s): | e-Thesis
บริษัทจำกัด |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 295 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5998 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|