• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • หน่วยงาน
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา
  • In Processing
  • Dissertations, Theses, Term Papers
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

Guidelines of Elephant Welfare Management for Tourism in Phuket Province

แนวทางการจัดการมาตรฐานและสวัสดิภาพช้างเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต 

by Phetchada Paruenathadakul; เพชรชฎา ปฤณธาดากุล; Paithoon Monpanthong; ไพฑูรย์ มนต์พานทอง; National Institute of Development Administration. The Graduate School of Tourism Management

Title:

Guidelines of Elephant Welfare Management for Tourism in Phuket Province
แนวทางการจัดการมาตรฐานและสวัสดิภาพช้างเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต 

Contributor(s):

National Institute of Development Administration. The Graduate School of Tourism Management

Advisor:

Paithoon Monpanthong
ไพฑูรย์ มนต์พานทอง

Issued date:

3/6/2022

Publisher:

National Institute of Development Administration

Abstract:

The research is a mixed research which is composed between the qualitative research and quantitative research. The purpose of research are 1) to examine the factors of marketing that affect the decision of elephant activities for tourism Phuket Province 2) To assess the potential of elephant welfare management for tourism Phuket Province 3)  To define guidelines for elephant welfare management for tourism Phuket Province The objectives are pursued through qualitative analyses conducted on the Representatives  of entrepreneurs at Phuket Elephant Camp questionnaires completed by 2 person, Mahout agent at Phuket Elephant Camp questionnaires completed by 2 person and Representative of Veterinary from Krabi Elephant Hospital questionnaires completed by 2 person which required comprising 3 items as following; General information of the interviewee, Questions about elephant welfare management for tourism Phuket Province and More suggestions The study employed questionnaire as tool, collecting data from 400 foreign tourists. Purposive sampling techniques was used to identify the samples. Frequency, percentage, mean, standard deviation as well as Paired Sample t-test and  Convenience Sampling were used for data analysis. The results revealed about to  study the factors of marketing that affect the decision of choosing activities for tourism. Phuket Province are There are projects and activities for tourists to take part, such as feeding elephants. Bathing elephants, etc.  There is a shop selling elephant food, Tourist routes and elephant trekking periods are appropriate. There are elephants welcoming tourists in front of the elephant camp and There are other activities Other than elephants such as monkey shows etc. The data result that tourists have expectation are the highest Structural elements of the elephant camp is high like Place and staff. Tourists have expectation for informing Administration and management of medium importance like environment, Safety and confidence for tourists. The researcher have  presented the important limitations that should be considered when interpreting the effective results especially should be concern about Phuket Industry as following. Additional interview respondents, such as foundations that oppose the use of animals as a means of providing human entertainment, should be classified in additional interviews to find a different view To improve the management and management of the welfare of elephants and other animals. To be processed whether bringing elephants or other animals To be a tool for doing tourism business Should it be worth continuing or should stop doing business like this in Thailand because many countries place great importance on animal welfare Some countries have canceled this type of business For these reasons, should Thailand focus on or make a difference to the animals that are known to be priceless in Thailand. How difficult is it to be.
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจจัดกิจกรรมช้างเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการสวัสดิภาพช้างเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต 3) สร้างแนวทางการจัดการสวัสดิภาพช้างเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมอในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างคือ ผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของตัวแทนผู้ประกอบการที่ปางช้างภูเก็ต 2 คนตัวแทนควาญช้างที่ปางช้างภูเก็ต 2 คนและตัวแทนสัตวแพทย์จากโรงพยาบาลช้างภาคใต้ จังหวัดช้างกระบี่ 2 คน ซึ่งให้ข้อมูลหลักๆ คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์  ประเด็นคำถามเกี่ยวกับการจัดการสวัสดิภาพช้างเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม     นอกจากนั้นการศึกษาได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 400 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อระบุกลุ่มตัวอย่าง ใช้ความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมทั้งการทดสอบค่าทีตัวอย่างแบบจับคู่และการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยเปิดเผยเกี่ยวกับการศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ตคือมีโครงการและกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมเช่นการให้อาหารช้าง การอาบน้ำช้าง เป็นต้น มีร้านขายอาหารช้างเส้นทางท่องเที่ยวและช่วงขี่ช้างมีความเหมาะสม หน้าปางช้างมีช้างต้อนรับนักท่องเที่ยวและยังมีกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากช้างเช่นการแสดงลิงเป็นต้น  นอกจากนั้นผลข้อมูลที่นักท่องเที่ยวคาดหวังที่อยู่ในระดับสูงคือองค์ประกอบโครงสร้างของปางช้างที่เช่นสถานที่ และเจ้าหน้าที่ รองลงมานักท่องเที่ยวมีความคาดหวังในการการบริหารและการจัดการในระดับปานกลางเช่น สิ่งแวดล้อมความ ปลอดภัย และความมั่นใจสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้วิจัยได้นำเสนอข้อที่สำคัญที่ควรพิจารณาในการตีความผลลัพธ์ที่ได้ผลโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมภูเก็ตคือ ควรจัดประเภทผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เพิ่มเติม เช่น มูลนิธิต่างๆ ที่ต่อต้านการนำสัตว์มาเป็นเครื่องมือในการให้ความบันเทิงแก่มนุษย์ เพื่อค้นหามุมมองที่แตกต่าง เพื่อทำการปรับปรุงการบริหารจัดการและการจัดการด้านสวัสดิภาพของช้างและสัตว์อื่นๆ แล้วนำมาประมวลผลว่าการนำช้างหรือสัตว์อื่นๆ มาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ควรค่าแก่การดำรงอยู่ต่อไปหรือควรยุติการทำธุรกิจในลักษณะนี้ในสังคมไทย เพราะในหลายๆ ประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์เป็นอย่างมาก บางประเทศได้ทำการยกเลิกธุรกิจประเภทนี้ออกไป  ด้วยสาเหตุเหล่านี้ประเทศไทยควรให้ความสำคัญหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สัตว์ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยหรือไม่ มีความยากง่ายต่อความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

Description:

Master of Management (Integrated Tourism and Hospitality Management) (M.M.(Integrated Tourism and Hospitality Management))
การจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ) (กจ.ม.(การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))

Type:

Thesis
วิทยานิพนธ์

Language:

th

Rights:

National Institute of Development Administration

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6073
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5911772005.pdf ( 4,319.48 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • Dissertations, Theses, Term Papers [191]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×