• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
  • GSCM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์ Second Screen ในสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัล

by นัทพร แบบประเสริฐ

Title:

การศึกษากลยุทธ์การสร้างสรรค์ Second Screen ในสื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัล

Other title(s):

Creativity strategies for second screen in digital television media

Author(s):

นัทพร แบบประเสริฐ

Advisor:

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2017.86

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการสร้างสรรค์กลยุทธ์Second Screen ใน สื่อโทรทัศน์ยุคดิจิทัล ทั้งเนื้อหารายการของ Second-Screen และศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ Second Screen ให้สอดคล้องกับ First Screen รวมถึงศึกษารูปแบบและแนวทางของเนื้อหา ของ Second Screen ที่เหมาะสมกับผู้รับสารในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่ง ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการรวบรวมเอกสารเพื่อการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ใหม่เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า Second Screen เป็นตัวที่เสริม First Screen ให้คนติดตามมากขึ้น โดยเป็นตัวสร้างหรือเพิ่มคุณค่าให้คนอยากดูในตอนออกอากาศจริงจากสื่อโทรทัศน์หรือหน้าจอ หลัก ส่วนตัวเนื้อหา (Content) ต้องทำให้สามารถไปได้ในทุกแพลทฟอร์ม (Platform) และทำ ให้ผู้ชมเป็นแฟนเบส (Fan Base) และพัฒนาเป็นซุปเปอร์แฟน (Super Fan) จนกลายเป็นกลุ่ม ผู้ชม (Community) ที่มีคุณภาพ
นอกจากนี้การทำ Second Screen นั้น ควรมีการยืนยันตัวบุคคลว่าใครเป็นเจ้าของ เพราะถ้าไม่ทราบแน่ชัด จะมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ในการสื่อสารระหว่างกัน เช่นการร่วมสนุก เล่นเกม การลงทะเบียน เป็นต้น ส่วนระบบของไทยยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ซึ่งเป็น ลักษณะการสื่อสารทางเดียวทั้งหมด คือ ต้องการผลิตอย่างเดียว แต่ไม่ได้มองการสื่อสาร ระหว่างผู้ชมกับช่อง ซึ่งในความเป็นจริงควรเริ่มจากช่องสัญญาณ แล้วก็จูงใจให้คนมีการตอบรับ โดยอาจจะต้องบอกว่าไม่เสียค่าใช้จ่ายให้ประชาชนเข้าใจ หรือบางทีอาจจะมีการจูงใจโดยการ แจกของรางวัลให้มีผู้ติดตาม จนกระทั่งไม่ต้องมีของรางวัลแจกก็มีผู้ติดตาม
ในเรื่องอุปสรรคของการรับชมบน Second Screen ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้อยู่ที่ด้าน เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะระบบสัญญาณมีการพัฒนาไปไกลทั้งมือถือ กล่องรับ สัญญาณ จนถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนมากกว่าอุปสรรคไปแล้ว แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคน่าจะเป็น เนื้อหาที่ต้องโดดเด่นมากกว่า ควรจะต้องคิดให้ซับซ้อนมากขึ้นทั้ง แอพลิเคชั่น เกมส์ หรือ กิจกรรมส่งเสริม รวมถึงความรู้ของผู้ผลิตที่จะทำออกมาอีกด้วย
อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงเม็ดเงินที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการผลิตสื่อด้วย แต่สุดท้ายแล้ว สิ่งที่จะทำให้ช่องหรือรายการนั้น ๆ อยู่ได้ก็คือ เนื้อหาที่โดดเด่น รวมไปถึงการสนับสนุนจากการ โฆษณาต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการลงทุนควบคู่ไปกับเนื้อหาเช่นกัน

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

กลยุทธ์การสร้างสรรค์

Keyword(s):

สื่อโทรทัศน์ยุคนิจิทัล

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

94 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6129
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203223.pdf ( 8,113.72 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSCM: Theses [178]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×