dc.contributor.advisor | บรรเจิด สิงคะเนติ | |
dc.contributor.author | อนุรักษ์ ศุภลักษณ์ | |
dc.date.accessioned | 2023-01-11T03:46:21Z | |
dc.date.available | 2023-01-11T03:46:21Z | |
dc.date.issued | 2017 | |
dc.identifier.other | b198276 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6134 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 | th |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับ “กฎ” ถึงแนวความคิดในการตรา องค์กรที่มีอำนาจ สถานะ ประเภท ผลทางกฎหมาย การพิจารณาแยกความแตกต่าง และอายุความ ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข นำมาปรับใช้ และนำไปสู่ บทสรุปและข้อเสนอแนะในปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับ “กฎ” ต่อศาลปกครอง โดยเป็นการศึกษาโดย วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหลักกฎหมาย เอกสารประเภทต่าง ๆ ทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และนำข้อมูลมาดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อนำมาเป็น หลักเกณฑ์มาตรฐานของลักษณะของ “กฎ” จากการศึกษาพบว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองในคดีพิพาทที่เกี่ยวกับการ ที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตรากฎโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือการละเมิดที่เกิด จากกฎ มีประเด็นปัญหาที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายประการ ดังนี้ ปัญหาเขตอำนาจศาลในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ตราโดยองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ โดยปัญหาดังกล่าวมีที่มาจากสถานะความเป็นอิสระขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับกฎที่มีความเกี่ยวพันกับมาตรการภายในของฝ่ายปกครอง โดย ปัญหาดังกล่าวมีที่มาจากการไม่แบ่งแยกระหว่างกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่มีที่มาจากฐานอำนาจตาม กฎหมายระดับพระราชบัญญัติขึ้นไป และกฎเกณฑ์ภายในของฝ่ายปกครองที่มีที่มาจากอำนาจบังคับ บัญชา ปัญหาการเริ่มนับอายุความในการฟ้องคดีเกี่ยวกับกฎ โดยปัญหาดังกล่าวมีที่มาจากกรณีวัน เริ่มต้นการนับระยะเวลาในการฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 49 และกรณีที่ศาล ปกครองรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาในการฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเมื่อเห็นว่าการฟ้องคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็น อื่นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จากปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาขอนำเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา โดยการตีความบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย รวมถึงอาจสร้างหลักเกณฑ์โดยการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายในกรณีดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้ การพิจารณาอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง นอกจากพิจารณาตามที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องพิจารณากฎหมายเฉพาะประกอบด้วย กล่าวคือ พิจารณา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย และควร ตีความนิยามของคำว่าหน่วยงานทางปกครองตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยรวมถึง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญตรากฎ เนื่องจากเป็นการใช้อำนาจทางปกครองขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ควรตีความนิยามของกฎในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยไม่รวมถึงมาตรการภายในของฝ่ายปกครอง เนื่องจากมาตรการภายใน ของฝ่ายปกครองเป็นกรณีที่ฝ่ายปกครองกำหนดขึ้นเองโดยอาศัยอำนาจทางบริหารหรืออำนาจทั่วไป ของผู้บังคับบัญชาและมีผลบังคับใช้ภายในฝ่ายปกครองเท่านั้น เนื่องจากกฎจะต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่มี ผลโดยตรงไปยังภายนอก ทั้งนี้ คำว่ามีผลโดยตรงไปยังภายนอก หมายถึง มีผลโดยตรงไปสู่ประชาชน และหมายความรวมถึงมีผลโดยตรงไปสู่เจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีที่เป็นความสัมพันธ์พื้นฐานด้วย ควรตีความวันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีซึ่งเป็นการนับระยะเวลาเริ่มต้นในการฟ้อง คดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยเริ่มต้นนับแต่วันที่กฎนั้นได้ประกาศใช้บังคับไม่ว่าจะ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือประกาศด้วยวิธีอื่นตามที่กฎหมายกำหนด และควรตีความข้อยกเว้น กรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยไม่รวม เรื่องของประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความแน่นอนในเรื่องของ ระยะเวลา และกฎไม่ควรถูกฟ้องคดีเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายได้ตลอดเวลา | th |
dc.description.provenance | Submitted by Kwanruthai Kaewjampa (kwanruthai.k@nida.ac.th) on 2023-01-11T03:46:21Z
No. of bitstreams: 1
b198276.pdf: 2598123 bytes, checksum: 6fd212f042a5b2a76586755c05b6bee0 (MD5) | en |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2023-01-11T03:46:21Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b198276.pdf: 2598123 bytes, checksum: 6fd212f042a5b2a76586755c05b6bee0 (MD5)
Previous issue date: 2017 | en |
dc.format.extent | 239 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | ศาลปกครอง -- คดีและการสู้คดี | th |
dc.subject.other | ศาลปกครอง | th |
dc.title | ปัญหาการฟ้องคดีเกี่ยวกับ "กฎ" ต่อศาลปกครอง | th |
dc.title.alternative | The problem of lawsuit on "Rules" against Administrative Court | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.2017.92 | |