• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

วิเคราะห์การรับรู้และการปฏิบัติตนในเศรษฐกิจชุมชน ตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคิดเศรษฐกิจบุญนิยม: กรณีศึกษาชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี

by แก้วบุญเกื้อ ศรีลิขิตตานนท์

ชื่อเรื่อง:

วิเคราะห์การรับรู้และการปฏิบัติตนในเศรษฐกิจชุมชน ตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคิดเศรษฐกิจบุญนิยม: กรณีศึกษาชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Analyzing perception and practice in community economy in accordance with the concepts of sufficiency economy and Boon Niyom (Merit-based) economy : a case study of Ratchathani Asoke Community, Ubon Ratchathani Province

ผู้แต่ง:

แก้วบุญเกื้อ ศรีลิขิตตานนท์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วิวัฒน์ชัย อัตถากร

ชื่อปริญญา:

การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2560

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2017.91

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์การรับรู้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคิด เศรษฐกิจบุญนิยมของชาวอโศก พร้อมท้งัศึกษาการปฏิบัติตนในเศรษฐกิจชุมชน ตามหลักคิด เศรษฐกิจพอเพียงและหลักคิดเศรษฐกิจบุญนิยมที่ราชธานีอโศก นอกจากน้ียงัเสนอแนะการ ประยุกต์ต่อธุรกิจชุมชนและต่อนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อประชาชนท้ังสังคมไทย เป็นการวิจัย แบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงจ านวน 7คน ในการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ นั้นดำเนินการวิจัยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกชุมชนราช ธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีสถานะเป็นฆราวาส และไม่ใช่นักเรียน จำนวน 166คน จาก จำนวนประชากร 284คน (สำรวจล่าสุด ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2559)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อายุมากที่สุดอยู่ในช่วง 56ถึง65 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาศัยอยู่ในชุมชนราชธานีอโศก เป็นสมาชิกชุมชนราช ธานีอโศก 1ถึง 5 ปี สมาชิกส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าตอบแทน จึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ถึงแม้ว่า สมาชิกส่วนใหญ่จะไม่ได้รับค่าตอบแทน แต่ได้รับผลตอบแทนในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ที่พักอาศัย อาหาร ค่ารักษาพยาบาล ทุนการศึกษาในระดับปริญญา และสมาชิกส่วนใหญ่ไมม่ ีหน้ีสินเลยจากการ วิจัยพบว่า
1) สำหรับการรับรู้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคิดเศรษฐกิจบุญนิยมนั้น ผู้ตอบ แบบสอบถามมีระดับการรับรู้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากที่สุด และ เห็นว่าคนไทย โดยทั่วไปยังมีความเข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับน้อยอยู่นอกจากนี้ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการรับรู้หลักคิดเศรษฐกิจบุญนิยมในระดับมากที่สุด สอดคล้อง
กับผลการวิจัยเชิงคุณภาพระบุว่า ชาวราชธานีอโศกมีการรับรู้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคิด เศรษฐกิจบุญนิยมในระดับมากโดยท้ัง 2 หลักคิดมีความสอดคล้องกันที่เป้าหมาย แนวคิด และ หลักการปฏิบัติ 2) ส่วนด้านการปฏิบัติตนในเศรษฐกิจชุมชนพบว่า สมาชิกราชธานีอโศกมีการปฏิบัติตน ในเศรษฐกิจชุมชนตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจบุญนิยมซ่ึงยึดมนั่ ในศีลธรรมตาม แนวทางพุทธศาสนาในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพระบุว่า ชาวราชธานีอโศก มีการปฏิบัติตนตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคิดเศรษฐกิจบุญนิยมอย่างชัดเจน
3) ในส่วนของความคิดเห็นต่อรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่ารัฐบาลปัจจุบันได้มีการน าหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติน้อยมาก แม้จะกล่าวถึงหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่าง ต่อเนื่องแต่รัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง ซึ่งมีสาเหตุหลาย ประการ เช่น ขาดความเข้าใจในหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ ความเชื่อที่ว่ามีหลักคิดอื่นที่ สามารถประยุกต์ใช้กับสังคมไทยได้ดีกว่าหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผลการวิจัยเชิงคุณภาพระบุ ว่า หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถเป็นหลักในการพัฒนาประเทศได้อย่างแน่นอน โดยหลักคิดน้ี ยึดแนวทางการบริหารแบบคนจนที่สามารถบริหารภายใต้ความขาดแคลน ซึ่งสอดคล้องกับบริบท ของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายการทำให้คนอยู่ดีมีสุขและลดปัญหาความเหลื่อมล้า และมุ่งพัฒนา คนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคร้ังน้ีสา หรับการประยุกต์หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงต่อธุรกิจ ชุมชนและต่อนโยบายสาธารณะดังน้ีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักและเร่งศึกษาเกี่ยวกับการ นำหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถอาศัย ตัวแบบของชุมชนราชธานีอโศกที่ใช้หลักคิดบุญนิยมซึ่งสอดคล้องกับหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงมา ดำเนินชีวิตจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อีกทั้งชุมชนราชธานีอโศกยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการปฏิบัติ จริงผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้ทดลองปฏิบัติได้ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นชุมชนที่ยึดหลักพุทธ เศรษฐศาสตร์ที่รัฐบาลควรให้การส่งเสริม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจชุมชนโดยเฉพาะ เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งด้านธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมและด้านคุณธรรมจริยธรรม

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รอ.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

หัวเรื่องมาตรฐาน:

เศรษฐกิจชุมชน

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

232 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6135
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b203179.pdf ( 2,272.94 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×