การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
303 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b198260
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สิริมา นองมณี (2016). การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6143.
Title
การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น
Alternative Title(s)
Transfer of authority of investigations other than the principal mission of the Royal Thai Police to other government agencies
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงภารกิจอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามหลักสากล 2) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจใน ต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจ ในประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจ หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการศึกษาค้นคว้าจาก ตำรา เอกสารทางวิชาการ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 พระราช กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ กฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาทำให้ทราบ ว่าอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มีอยู่อย่าง กว้างขวางไม่ชัดเจน มีภารกิจมากมายที่ต้องปฏิบัติ มีทั้งหน้าที่หลักในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม และยังเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับกิจกรรม หลักที่สำคัญของรัฐแทบทุกด้านนับตั้งแต่ การจัดเก็บภาษี การศุลกากร การทหาร การสื่อสาร การบิน การศึกษา การพัฒนาชุมชน การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ และการมหรสพ เป็นต้น อันเป็นผลพวง มาจากพัฒนาการของตำรวจในอดีตที่รับการฝากงานจากหน่วยงานราชการอื่นให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ดังนั้นลักษณะงานที่มีการกำหนดโทษและเป็นการกระทำความผิดทางอาญาทุกประเภทที่เชื่อมโยงกับ เรื่องการสอบสวนจึงได้กลายมาเป็นงานของตำรวจในการดำเนินการเนื่องจากความไม่พร้อมของ หน่วยงานราชการเจ้าของเรื่อง จึงก่อให้เกิดปัญหางานล้นมือและเกิดวิกฤตความล่าช้าของงาน สอบสวนที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นจึงควรทำการปรับปรุงขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจหลักของตำรวจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจ แห่งชาติ พ.ศ.2547 ให้มีความชัดเจน และพิจารณาดำเนินการถ่ายโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจ หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่นกลับไปดำเนินการแทน แต่ไม่ตัดอำนาจ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างตรงจุด เพราะจะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจ และเป็นการสร้างความ เชี่ยวชาญเฉพาะในการบังคับใช้กฎหมาย อันเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมได้ อย่างเป็นระบบอีกด้วย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559