• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ศึกษากรณีองค์กรตุลาการ

by สิริรัตน์ มุลิจันทร์

ชื่อเรื่อง:

อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ศึกษากรณีองค์กรตุลาการ

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

The ombudsman's jurisdiction in the examination of agencies in the administration of justice, a case study of judicial organization

ผู้แต่ง:

สิริรัตน์ มุลิจันทร์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

บรรเจิด สิงคะเนติ

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

กฎหมายและการจัดการ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2015.125

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ศึกษากรณีองค์กรตุลาการนั้น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพทางนิติศาสตร์ เน้นการวิจัยเอกสาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการ โดยไม่ให้การตรวจสอบดังกล่าวกระทบกับความเป็นอิสระของตุลาการในการพิจารณาพากษาอรรถดี แต่มุ่งเน้นให้กิดการถ่วงดุลอำนาจ และการควบคุมตรวจสอบการใช้อ่านเป็นไปตามหลักนิติรัฐ ที่รัฐต้องยอมจำกัดอำนาจของตนเองให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่เป็นต้นกำเนิดของผู้ตรวจการแผ่นดินกำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการได้ เช่น ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ในการตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ผลการศึกษาจากงานวิจัยนี้ทำให้เกิดความชัดเจนในขอบเขตอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการหรือศาล ผู้เขียนจึงทำการศึกษาถึงโครงสร้าง ขั้นตอน และแนวทางการปฏิบัติงานขององค์กรตุลาการ ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร เมื่อวิเคราะห์ตามหลักแนวคิด ทฤษฎีพบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตุลาการในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับงานธุรการทั่วไปของสำนักงานศาล งานธุรการทางคดีซึ่งเป็นงานสนับสนุนด้านกระบวนการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ทั้งงานธุรการทั่วไปและงานธุรการทางคดีนั้นปฏิบัติโดยข้าราชการเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาล นอกจากนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินยังสามารถตรวจสอบในส่วนของงานบริหารจัดการคดีซึ่งเป็นกระบวนการขั้นตอนที่มิได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแห่งเนื้อหาอรรคคดี ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาในทางการบริหารงาน รวมถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบจริยธรรมของผู้พิพากษาด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายและการจัดการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ตุลาการ
กระบวนการยุติธรรม -- ไทย
กระบวนการยุติธรรม

คำสำคัญ:

ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

184 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6255
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b191198.pdf ( 2,359.15 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×