• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะภาษาและการสื่อสาร
  • GSLC: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะภาษาและการสื่อสาร
  • GSLC: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษา การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง: วาทกรรม พื้นที่สาธารณะ ประชาธิปไตย กรณีศึกษา รายการเถียงให้รู้เรื่องทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

by ชนาภา เมืองงามสมบูรณ์

Title:

การศึกษา การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง: วาทกรรม พื้นที่สาธารณะ ประชาธิปไตย กรณีศึกษา รายการเถียงให้รู้เรื่องทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

Other title(s):

Communication for conflict management : discourses public sphere democracy in case study program "Policydebate" in Thai PBS

Author(s):

ชนาภา เมืองงามสมบูรณ์

Advisor:

สาวิตรี คทวณิช

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การสื่อสารเพื่อกิจการภาครัฐและภาคเอกชน

Degree department:

คณะภาษาและการสื่อสาร

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2017.137

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง ที่ เกี่ยวข้องกับวาทกรรม พื้นที่สาธารณะ และประชาธิปไตย ผ่านการนำเสนอจากสื่อมวลชนในรูปแบบ ของรายการโทรทัศน์ กรณีศึกษา รายการเถียงให้รู้เรื่อง ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส งานวิจัยเก็บ ข้อมูลจากยูทูปโดยเลือกเก็บรายการ 5 ตอนที่มียอดชมสูงสุดและเป็นตัวแทนของประเด็นที่รายการนี้ มักจะนำเสนอเป็นหลักสามประเด็นได้แก่ เรื่องการเมือง สังคมและกฎหมาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ประกอบด้วยการศึกษาใน 3 มิติได้แก่ การวิเคราะห์ตัวบท (Text Analysis) ซึ่งด าเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา และการใช้กลวิธีในการโน้มน้าว การศึกษาภาคปฏิบัติทางวาทกรรม (Discursive Practice) ซึ่งเป็น การวิเคราะห์การผลิตและรูปแบบของรายการ รวมถึงมิติการวิเคราะห์สภาพบริบททางสังคม วัฒนธรรม (Sociocultural Practice) ที่ได้ข้อมูลจาก การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจรูปแบบและกลไกการสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการสื่อสารของรายการเถียงให้รู้เรื่องแสดงให้เห็นความพยายามสร้างเวทีการ แลกเปลี่ยนที่มีความเป็นประชาธิปไตย ให้พื้นที่กับคนที่มีความคิดเห็นหลากหลาย โดยมีพิธีกร หรือ ที่เรียกว่าผู้อำนวยการสื่อสารเป็นผู้จัดการให้การถกเถียงเป็นไปบนพื้นฐานประเด็นเดียวกัน บนกฎเกณฑ์ของการสื่อสารอย่างมีความเป็นเหตุเป็นผล ผลการวิเคราะห์เนื้อหาของตัวบทพบว่ามี ประเด็นที่แตกต่างไปในแต่ละสัปดาห์แต่ในการโต้เถียงมักมีการอ้างวาทกรรมกระแสหลักกับวาทกรรม กระแสรองที่ซ้ าๆ กัน เช่น วาทกรรมความเป็นไทย-ความสงบเรียบร้อย-การรู้หน้าที่มีวินัย ปะทะกับ วาทกรรมประชาธิปไตย-สิทธิเสรีภาพ-ความเท่าเทียมกัน ในส่วนของกลไกการจัดการความขัดแย้งแต่ ละฝ่ายใช้การอ้างคำพูดของคนอื่น การตั้งคำถามวาทศิลป์ การให้นิยามเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ ตนเองและลดความน่าเชื่อถือของคนอื่น โดยมีผู้อำนวยการสื่อสาร ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชมในรายการ เป็นเสมือนกรรมการ ทั้งรูปแบบการจัดรายการและวาทกรรมที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความพลวัตใน วาทกรรมแสดงการสร้างตัวตน อัตลักษณ์ ชุดความรู้ และชุดความจริงอันเกี่ยวข้องประเด็นขัดแย้ง ต่างๆ ที่ปรากฏร่วมกันอยู่ในสังคมไทย

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสื่อสารเพื่อกิจการภาครัฐและภาคเอกชน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

โทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

150 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6291
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b199261.pdf ( 2,468.68 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSLC: Theses [32]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×