• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  • GSEDA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

by นภาภรณ์ แสงสุวอ

Title:

ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

Other title(s):

Helth problems and occupational safety behaviors of junk-shop workers in Prawat District, Bangkok

Author(s):

นภาภรณ์ แสงสุวอ

Advisor:

วรางคณา ศรนิล

Degree name:

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการสิ่งแวดล้อม

Degree department:

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2017.139

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า และ 3) เสนอแนะแนวทาง การส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้านรับซื้อของเก่า ในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง และคนงานจำนวน 125 คน ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่กำหนด โดยใช้แบบสอบถามกึ่ง สัมภาษณ์และแบบตรวจประเมินร้านรับซื้อของเก่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent Samples) และF-test (One-Way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05 ผลการศึกษา พบว่า คนงานในร้านรับซื้อของเก่าเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย (ร้อยละ 59.80) โดยคนงานแต่ละคนสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ ร้อยละ 90.40 ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง คนงานสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านกายภาพมากที่สุด โดยสัมผัสฝุ่นละออง ร้อยละ 67.20 ทำงาน ในบริเวณที่มีความร้อนและแสงแดด ร้อยละ 36.00 ท างานในบริเวณที่มีเสียงดังจากเครื่องจักร ร้อยละ 12.00 สัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านเคมี ร้อยละ 19.20และสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้าน ชีวภาพ ร้อยละ 20.80 จากการสัมภาษณ์ปัญหาสุขภาพ พบว่า คนงานมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ร้อยละ 65.60 มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 53.60 มีอาการทางสายตาและการมองเห็น ร้อยละ 40.80 มีอาการทางการได้ยินร้อยละ 40.00 และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร้อยละ 36.80 ส่วน พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ผลการปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของ คนงานในร้านรับซื้อของเก่า พบว่า คนงานที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ทำงานในภาพรวมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการศึกษา พบว่า คนงานยังไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ เหมาะสมกับลักษณะงาน ขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยใน การทำงาน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทางด้านสุขภาพยังมีน้อย และจากการสำรวจการ จัดการสิ่งแวดล้อมภายในร้านรับซื้อของเก่า พบว่า ร้านรับซื้อของเก่าไม่ได้จัดให้มีที่อาบน้ำชำระ ร่างกายเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินในบริเวณพื้นที่สถานประกอบการ โดยมีร้านรับซื้อของเก่าที่ผ่าน เกณฑ์การตรวจประเมินดังกล่าวเพียงร้อยละ 6.50เท่านั้น หากเกิดเหตุฉุกเฉินในสถานประกอบการ อาจทำให้เกิดอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนงานได้ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานกับอาการ เจ็บป่วย 5 กลุ่มอาการ ด้วยวิธี Odds Ratio (OR) พบว่า คนงานที่สัมผัสปัจจัยเสี่ยงในเรื่องแสงสว่าง ความร้อนในขั้นตอนการคัดแยกกระดาษ เสียงดังในขั้นตอนการบดพลาสติกและอัดกระดาษ และมี ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมในขั้นตอนการนำของเก่าบรรจุภาชนะ มีโอกาสเจ็บป่วยหรือมี อาการทางผิวหนัง อาการทางการได้ยิน และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อมากกว่า คนงานที่ไม่ได้สัมผัสปัจจัยเสี่ยง แนวทางการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า คือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านรับซื้อของเก่า ให้ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อองค์กร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่คนงานถึงวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จัดทำคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมใน การทำงานให้แก่คนงาน รวมถึงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความ ร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เจ้าของสถานประกอบการและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่คุกคาม สุขภาพจากการทำงานและส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานที่ปลอดภัย

Description:

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

ร้านรับซื้อของเก่า -- แง่สิ่งแวดล้อม
สุขภาพ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

210 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6298
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b199284.pdf ( 2,669.73 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSEDA: Theses [91]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×