การส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว
Files
Publisher
Issued Date
2017
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
139 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b199286
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พรกมล เหล่าสิ้นฟ้า (2017). การส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6300.
Title
การส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว
Alternative Title(s)
Enhancing knowledge on household wastewater management in Klong Saen Saeb Communities : a case of Khon Rak Klong Community group in Khan Na Yao Distict
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ของชุมชนคลองแสนแสบ และส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการวัดความรู้ และพฤติกรรมของ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียเบื้องต้น ภายในชุมชนเป้าหมายทั้งหมด 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านเกาะ ชุมชนหมู่ 3 ร่วมใจพัฒนา ชุมชน เปรมฤทัย 1ชุมชนหมู่บ้าน บก. ทหารสูงสุด ชุมชนรามอินทรา 83-85 และชุมชนรามอินทรา 89-91 ผลการวิจัย พบว่า โดยรวมประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนทั้ง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้นในระดับสูง เมื่อ นำมาทดสอบทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ ความรู้มีความรู้แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของประชาชนในชุมชนก่อนการจัดกิจกรรมให้ความรู้ มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีเพศ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ใน ชุมชน และลักษณะการใช้น้ำที่แตกต่างกันจะมีความรู้ ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้น แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของประชาชนในชุมชนหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทาง สถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีอายุ ลักษณะการใช้น้ำและอาชีพหลัก ที่แตกต่างกันจะมีความรู้ในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนเบื้องต้นแตกต่างกันนอกจากนี้ประชาชนในชุมชนทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มีพฤติกรรมใน การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนในระดับปานกลาง เมื่อนำพฤติกรรมของประชาชนก่อน-หลังการจัด กิจกรรมให้ความรู้ มาทดสอบทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนก่อนและหลังการจัด กิจกรรมให้ความรู้มีพฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนไม่แตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลของ ประชาชนในชุมชนก่อนการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนในชุมชนที่มีอายุ การรับรู้ ข้อมูลข่าวสาร และการเคยร่วมอนุรักษ์ที่แตกต่างกันจะมี พฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนแตกต่างกัน และเมื่อนำข้อมูลพฤติกรรมของประชาชนใน ชุมชนหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้มาทดสอบทางสถิติ ที่ระดับ α = 0.05 พบว่า ประชาชนใน ชุมชนที่มีอายุ อาชีพหลัก สถานภาพในชุมชน ลักษณะการใช้น้ำและการเคยร่วมอนุรักษ์ที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการป้องกันน้ำเสียในครัวเรือนแตกต่างกัน ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ เรื่องการจัดการน้ำเสียครัวเรือนของชุมชนคลองแสนแสบ กรณีศึกษากลุ่มชุมชนคนรักษ์คลองในเขตคันนายาว ควรเริ่มที่ผู้นำชุมชนก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการน้ำเสียภายในครัวเรือนเพิ่มต่อไป และควรมี การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนในชุมชนต้องการติดตาม ดูแลและตรวจสอบ คุณภาพน้ำให้สม่ำเสมอ ความต่อเนื่องของกิจกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วน ร่วมในการจัดการน้ำเสียของครัวเรือน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560