การนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา : สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
by ณัฐธิดา เอื้อประเสริฐ
Title: | การนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา : สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร |
Other title(s): | The implementation of the policies on production and development of vocational manpower : a case of institute of vocational education in Bangkok |
Author(s): | ณัฐธิดา เอื้อประเสริฐ |
Advisor: | พลอย สืบวิเศษ |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2019 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2019.74 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพ กำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ กรณีศึกษา: สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไปปฏิบัติ งานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็น หลัก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอยางบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครทั้ง 13แห่ง จำนวน 309 ตัวอย่าง และเสริมด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงผู้บริหาร ระดับต้น ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ข้าราชการบำนาญที่ปรึกษาประจำกลุ่มนโยบายและ แผนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและแผน รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 ท่าน เพื่อทำให้การศึกษาในครั้งนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 1) สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็ นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และเกิดจากการรวมตัวของของสถานศึกษาทั้ง 13แห่ง เพื่อเข้าร่วมเป็นสถาบัน ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ซึ่งมีหน้าที่หลักใน การมุ่งสร้างและผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาทั้ง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เมื่อได้รับนโยบายมาแล้วนั้น สถาบันได้ทำการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันการ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อให้ตรงกับบริบทของสถาบัน สถานศึกษาในสังกัดและชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งยึดเป็นกรอบและแนวทางในการขับเคลื่อนของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตามแนวนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกาลังคนอาชีวศึกษา 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการผลิตและพัฒนาคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาไป ปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา โดยรวมอยูในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน 6 ด้าน พบว่า (1) ปัจจัยด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ระดับความคิดเห็นของ บุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยด้านทรัพยากรองค์การ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยูในระดับมาก แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (3) ปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างองค์การ ระดับ ความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ (4) ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การที่นำไปปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรใน สถานศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ (5) ปัจจัยด้านเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบว่า อยูในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำโยบายไปปฏิบัติ และ (6) ปัจจัยด้านความร่วมมือและการ ตอบสนองของผู้ปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาพบวาอยู่ ในระดับมาก และมีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามลำดับ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 |
Subject(s): | อาชีวศึกษา
กำลังคน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 195 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6325 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|