มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ
by ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
Title: | มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ |
Other title(s): | Legal measures for the protection of rights and assistance of ex-offenders |
Author(s): | ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ |
Advisor: | บรรเจิด สิงคะเนติ |
Degree name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree level: | Doctoral |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2018.173 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
ดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ” (Legal Measures for the Protection of Rights and Assistance of Ex-Offenders) มี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ค้นคว้า แนวคิดด้านสิทธิและการคุ้มครองสิทธิ การลงโทษ การสงเคราะห์ ผู้กระทาผิดและทฤษฎีทางสวัสดิการสังคม เพื่อศึกษาพัฒนาการของมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ พ้นโทษในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกในประเด็นปัญหา อุปสรรคของ กฎหมายสาหรับการสงเคราะห์ผู้พ้นโทษของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ และสุดท้าย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากฎหมายเพื่อการคุ้มครองและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษรวมถึงมาตรการ คุ้มครองสังคม วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษา เปรียบเทียบกฎหมาย (Comparative Law) มีขอบเขตในการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายด้านการ คุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ ทาให้ได้ประเด็นสาคัญเชิงลึกและเชิงเปรียบเทียบทางกฎหมายใน การคุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ อีกทั้งจะได้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาร่างกฎหมายเพื่อการ คุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ผลการศึกษาจากข้อมูลทางวิชาการ สามารถตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยพบว่า การ คุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษจะต้องเป็นไปตามกฎ กติกาสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ ในการคุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ รวมถึงหลักแห่งความยุติธรรมและหลักนิติธรรม สำหรับ ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2497 เคยมีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสงเคราะห์บุคคลผู้ที่ได้รับการ พักการลงโทษ ผู้พ้นโทษ และเด็กผู้พ้นการฝึกอบรม พ.ศ. 2497” แต่มิได้มีการดำเนินในเชิงคุ้มครอง สิทธิและสงเคราะห์อย่างจริงจังแต่อย่างใด และได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2499 ทาให้ประเทศไทยไม่มี กฎหมายคุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษโดยเฉพาะที่เป็นกิจจะลักษณะ กฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถช่วยเหลือผู้พ้นโทษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากส่วนใหญ่จะใช้กฎหมาย ระเบียบ การสงเคราะห์กลุ่มผู้อยู่ในสภาวะยากลาบากทั่วไป เช่น ในฐานะ “ผู้รับบริการ” ตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการ พ.ศ. 2546 ตรงกันข้ามกฎหมายหลายฉบับกลับเป็นอุปสรรคในการศึกษา เล่าเรียน และการทำงานของผู้พ้นโทษ จึงควรมีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองสิทธิและ สงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เพื่อป้องกันมิให้บุคคลเหล่านั้นหวนกลับไปกระทำความผิดอีก อีกทั้งควรมีการ กระจายความเป็นธรรมทางสังคมไปยังกลุ่มที่มีความเปราะบางทางสังคม ผู้ศึกษามีข้อค้นพบแยกเป็นปัญหาด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้พ้นโทษและปัญหาด้านการ สงเคราะห์ผู้พ้นโทษ จึงมีข้อเสนอแนะแยกพิจารณาได้ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้พ้นโทษ (1) ควรมีการ จัดทำร่าง “พระราชบัญญัติคุ้มครองและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ”อย่างเป็นกิจจะลักษณะเพื่อให้การ คุ้มครองและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษมีความเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ (2) ควรบัญญัติกลุ่มเป้าหมายที่ ชัดเจนว่า ผู้พ้นโทษ ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง หมายถึงใครบ้าง (3) ควรส่งเสริมให้กรมคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมมีบทบาทร่วมกับกรมคุมประพฤติให้มากขี้น (4) ควรมีบทบัญญัติเรื่อง หลักเกณฑ์การขอลบหรือปกปิดประวัติการกระทำผิด (5) ควรมีการปรับปรุงการบัญญัติกฎหมายล้าง มลทินให้สามารถลบล้างการกระทำผิดด้วยมิใช่ลบล้างเฉพาะตัวโทษที่ผู้พ้นโทษได้รับ (6) ควรมี บทบัญญัติให้ผู้พ้นโทษมีช่องทางพิเศษในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนหรือกรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้อย่างรวดเร็วหรือสามารถใช้สิทธิทางศาลในกรณีถูกเลือกปฏิบัติ 2) ข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายด้านการสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ (1) ควรมีบทบัญญัติให้กรมคุม ประพฤติทำหน้าที่ในการดูแลผู้พ้นโทษโดยตรง (2) ควรมีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ของหน่วยงาน ด้านการสงเคราะห์สำหรับผู้พ้นโทษจากกระบวนการยุติธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งต่อ ข้อมูลของผู้พ้นโทษ (3) ควรจัดตั้ง “คณะกรรมการคุ้มครองและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ” ระดับชาติ (4) ควรมีคณะกรรมการคุ้มครองและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษกรุงเทพมหานครและระดับจังหวัดที่เพิ่มสัดส่วน ภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น (5) ควรมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการสงเคราะห์ ดูแลและเฝ้าระวังผู้พ้นโทษ (6) ควรจัดตั้งองค์กรอิสระเป็นศูนย์กลาง การเก็บประวัติการกระทาผิด (7) ควรจัดทำฐานข้อมูลผู้พ้นโทษเพื่อให้การช่วยเหลือในเชิงป้องกันการ กระทำผิดซ้ำ (8) ควรมีการขยายระยะเวลาการสงเคราะห์ผู้พ้นโทษหลังจากการพ้นโทษ (9) ควรมี บทบัญญัติเกี่ยวกับบ้านกึ่งวิถี (Halfway House (10) ควรมีกระบวนการสรรหาบุคคลที่มีคุณภาพเข้า ทางานในบ้านกึ่งวิถี (11) ควรมีบทบัญญัติกำหนดบทบาทและหน้าที่ของอาสาสมัครในพื้นที่ของ กระทรวงต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน (12) ควรมีบทบัญญัติจัดสรรงบประมาณเฉพาะสาหรับการสงเคราะห์ ผู้พ้นโทษ โดยกระทรวงยุติธรรมเป็นแกนหลัก (13) ควรมีบทบัญญัติการจัดตั้งกองทุนเพื่อการคุ้มครอง และสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ (14) ควรมีบทบัญญัติให้ประโยชน์ตอบแทนให้กับบริษัท ห้างร้านเอกชนที่ ยอมจ้างงานผู้พ้นโทษ (15) ควรส่งเสริมให้ภาครัฐมีอานาจในการทำสัญญากรณีพิเศษเพื่อจัดจ้างผู้พ้น โทษที่มีทักษะความเชี่ยวชาญพิเศษ และ (16) ควรมีหน่วยงานเฉพาะในการติดตามประเมินผลการ กลับคืนสู่สังคมของผู้พ้นโทษ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | มาตรการทางกฎหมาย
สิทธิผู้ต้องหา บุคคลผู้พ้นโทษ นักโทษ |
Resource type: | ดุษฎีนิพนธ์ |
Extent: | 379 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6491 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|