การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตามรอยวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Publisher
Issued Date
2022
Issued Date (B.E.)
2565
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
238 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b216623
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุภาวรรณ สุคนธี (2022). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตามรอยวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6703.
Title
การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตามรอยวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Alternative Title(s)
The potential development of muslim way of life's community case study Phra Nakorn Sri Ayutthaya
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิมซึ่งมีการศึกษาถึงบทบาท หน้าที่ และความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 ภาคส่วน 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของภาครัฐต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิม 2) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของภาคเอกชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิม 3) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของชุมชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิม และ 4) เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure Interview) ด้วยการใช้คำถามปลายเปิด (Open-end Questions) มีการแบ่งกลุ่มการสัมภาษณ์เป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนมุสลิมจำนวน 7 คน หน่วยงานภาคเอกชนได้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของฝาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการถักทอแหจับสัตว์น้ำ และผู้ปกระกอบการร้านอาหารบริเวณชุมชน จำนวน 6 คน หน่วยงานภาคชุมชน ได้แก่คณะกรรมการชุมชน ผู้นำศาสนาอิสลาม อาสาสมัครและชาวบ้าน จำนวน 7 คน และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มนักท่องเที่ยวมุสลิมที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ชุมชนมุสลิมคลองตะเคียน จำนวน 10 คน รวมทั้งหมด 30 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา Content Analysis
ผลการศึกษาพบว่าบทบาทหน้าที่ของภาครัฐต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิมมีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการออกแบบนโยบาย ถูกแบ่งออกเป็น 4 นโยบายหลักดังนี้ นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการประจำปีของชุมชน นโยบายการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชน นโยบายการสร้างความรู้ในการพัฒนาชุมชนให้แก่ชาวบ้าน นโยบายการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน 2) ด้านการบริหารสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีการหมุนเวียนงบประมาณไปในแต่ละปี 3) ด้านเงินทุน หน่วยงานภาครัฐแบ่งการสนับสนุนเงินทุนของชุมชนมุสลิมคลองตะเคียนเป็น 2 ส่วน คือ เงินทุนสนับสนุนโครงการประจำปี และเงินทุนเพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก 4)ด้านการวางแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ ซึ่งบทบาทหน้าที่ในส่วนนี้ภาครัฐมีการช่วยสนับสนุนชุมชนเป็นส่วนน้อย 5) ด้านการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นบทบาทสำคัญยิ่งที่จะทำให้ชุมชนสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้จริง
บทบาทหน้าที่ของภาคเอกชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิมมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ซึ่งภาคเอกชนมีการรับรู้ว่าภาครัฐต้องการผลักดันชุมชนมุสลิมคลองตะเคียนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ในทางปฏิบัติจริงภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังขาดความร่วมมือในด้านนี้ 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ชุมชนของทางภาคเอกชนนั้นมีการช่วยเหลือในด้านนี้เป็นส่วนน้อย 3) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นด้านที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญมากที่สุด โดยมีการแบ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการออกเป็น 3 ด้านย่อยดังนี้ ด้านการปรับปรุงและตกแต่งร้านค้าให้สวยงาม การเพิ่มช่องทางการขายโดยการขนส่งทางไปรษณีย์ และการทำสินค้าของที่ระลึกและการมองหาสินค้ามาขายเพิ่มเติม และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาคเอกชนที่มีส่วนน้อยให้ความร่วมมือกับทั้งทางภาครัฐและภาคชุมชน
บทบาทหน้าที่ของภาคชุมชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิมมีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ โดยทางชุมชนมีคณะกรรมการที่เข้มแข็งทำให้เกิดการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการสนับสนุนลักษณะทางกายภาพ 5As ได้แก่ Attractions มีจุดเด่นในเรื่องของความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีมัสยิดที่สวยงามถึง 4 แห่ง ได้แก่ มัสยิดกุฎีช่อฟ้า มัสยิดยามิอุ้ล มัสยิดตะเกี่ย และมัสยิดยามารุดีน อีกหนึ่งจุดเด่นคือความเป็นชุมชนที่มีพหุวัฒนธรรม ไทยพุทธ-มุสลิมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ และจุดที่สามคือความเก่าแก่ของชุมชนที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี Accessibility การเข้าถึงของชุมชนโดยส่วนใหญ่จะมีการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว หากเดินทางมาเป็นคณะจะมีการใช้รสบัส และรถตู้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีขนส่งสาธารณะคือรถสองแถวที่ขับผ่านตัวชุมชน Amenity ประกอบไปด้วย ห้องรับรองแขกวีไอพี ห้องรับรองแขกทั่วไป ห้องเรียนศาสนา ห้องสมุด ห้องหนังสือ ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ลานอเนกประสงค์ที่ใช้ในการจัดงานกิจกรรม ลานจอดรถ ลานออกกำลังกาย และสถานที่นั่งพักผ่อนให้แก่นักท่องเที่ยวเนื่องจากทางชุมชนจะมีมัสยิดกุฎีช่อฟ้าที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครผลัดเปลี่ยนกันไปต้อนรับและให้การดูแลอยู่ตลอดทั้งคืน Ancillary Services บริการเสริมที่ทางภาคชุมชนได้กล่าวถึงคือ มีร้านค้าชุมชน มีตลาดนัด 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และการแจกเอกสารการท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา Activity ที่ชุมชนจัดหาได้แก่ การทำอาหารและขนมพื้นบ้าน การถักทอแหและสวิงจับสัตว์น้ำ การล่องเรือชมแม่น้ำเจ้าพระยา และการศึกษาคุณธรรมและความเป็นพหุวัฒนธรรมไทยพุทธ-มุสลิม 3) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน 4) ด้านการประชาสัมพันธ์ชุมชน ผ่านสื่อออนไลน์ผ่าน Facebook และ Youtube เป็นหลัก 5) ด้านการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาคชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ภาคชุมชนมีส่วนร่วมใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐมากกว่าภาคเอกชน
การรับรู้และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิมคลองตะเคียน ผลการศึกษาพบว่าจากการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ชุมชนมุสลิมคลองตะเคียนมีความต้องการที่จะศึกษาวิถีชีวิตชุมชนมุสลิม และเข้ามาชื่นชมความงามของมัสยิดและชุมชน โดยการรับรู้ก่อนการเดินทางนั้นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีการสืบค้นข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook YouTube Website ปากต่อปาก และจากประสบการณ์การท่องเที่ยวในอดีต ทำให้นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ลักษณะทางกายภาพเบื้องต้นของทางชุมชน อีกทั้งนักท่องเที่ยวทุกคนมีความพึงพอใจต่อพนักงานผู้ให้บริการ ที่มีความเป็นมืออาชีพ มีความน่าเชื่อถือ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้าใจความต้องการของนักท่องเที่ยวและมีการให้บริการอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนมุสลิมคลองตะเคียนจึงแบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญคือ 1) ด้านอุปสงค์ (Supply) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การปฏิบัติการ การรับผลประโยชน์และการประเมินผล รวมถึงทุกภาคส่วนต้องมีบทบาทและความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนโยบาย การจัดการเงินทุน การประชาสัมพันธ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน และมีความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง อีกทั้งชุมชนเองก็จะต้องมีลักษณะทางกายภาพของชุมชนที่โด่ดเด่น 2) ด้านอุปทาน (Demand) การรู้จักถึงความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งก่อนที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมานั้นจะมีการหาข้อมูลเบื้องต้นของทางชุมชนผ่านช่องทางต่าง ๆ มีความคาดหวังต่อแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนและการบริการของพนักงาน ซึ่งท้ายที่สุดจะก่อให้เกิดความพึงพอใจและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวมุสลิมที่เดินทางมาชุมชนคลองตะเคียน
The purpose of this research is to study the potential development of the Muslim community lifestyle tourist attraction by study roles, duties and opinions of four stakeholders. 1) to study the roles and responsibility of the government sector in the development of Muslim community lifestyle tourist attractions 2) to study the roles and duties of the private sector in the development of Muslim community lifestyle tourist attractions 3) to study the roles and duties of the community in the development of Muslim community lifestyle tourist attractions and 4) to study the perception and behavior of tourists towards the development of Muslim community lifestyle tourist attractions. This study employed qualitative research, a semi-structured interview was used as a tool to collect data, with a target sample of 30 people were interviewed; 7 government agencies involved in the development of Muslim community tourist attractions, 6 people of specialist in weaving fishing nets and a restaurant owner in the community area, 7 people from community committee, and Islamic leader and 10 Muslim tourists traveling to the Khlong Ta Khian Muslim Community. A content analysis technique was used to analyze data. The results revealed, roles and responsibilities of the government sector consisted of 5 aspects; Policy planning, Facility management, Funding, Participation and Marketing and public relations the least. For private sector consist of 4 aspects; Government policy driving, Public relations, Participation of private sector which need to be improved and Development of products and services. Community sector reveals 5 aspects; Government policy driving, Supporting community’s physical (5As; Attractions- 4 beautiful mosques, multicultural community ancientness of the community Accessibility- Most of community's access is by private car. Amenities- VIP lounges, Religious classrooms, libraries, toilets, multi-purpose yard used to organize activities, parking lot, and Mosque that will be open to tourists 24 hours a day. Ancillary Services - community shops, markets tourism brochure. Activities - Local cooking and desserts, Net weaving, Chao Phraya River Cruise and study multiculturalism.) Conservation of community resources, public relations and Participation of community sector. Tourists section, to understand their perception and behaviors in Khlong Ta Khian community. Their main visit is to study the way of life of the Muslim community and to admire the beauty of the mosque by investigate information of the community before travelling. In addition, all tourists were satisfied with service staff. with a professional, reliable, friendly and understands the needs of tourists. Therefore, the guidelines for developing the potential of lifestyles Khlong Takhian Muslim community are divided into 2 important parts: 1) Supply side, relevant agencies must participate in decision-making, operation, benefits and evaluation including shared roles and responsibilities to drive the policy, fund management, public relations, community resource conservation and have a strong leadership skill also, the community itself must have a distinctive physical characteristic. 2) Demand side, the needs of tourists are important, as they gathered the information of community through various channels with expectations for community attractions and staff services. This will ultimately create satisfaction and create a life time experience for Muslim tourists traveling to Khlong Ta Khian community.
The purpose of this research is to study the potential development of the Muslim community lifestyle tourist attraction by study roles, duties and opinions of four stakeholders. 1) to study the roles and responsibility of the government sector in the development of Muslim community lifestyle tourist attractions 2) to study the roles and duties of the private sector in the development of Muslim community lifestyle tourist attractions 3) to study the roles and duties of the community in the development of Muslim community lifestyle tourist attractions and 4) to study the perception and behavior of tourists towards the development of Muslim community lifestyle tourist attractions. This study employed qualitative research, a semi-structured interview was used as a tool to collect data, with a target sample of 30 people were interviewed; 7 government agencies involved in the development of Muslim community tourist attractions, 6 people of specialist in weaving fishing nets and a restaurant owner in the community area, 7 people from community committee, and Islamic leader and 10 Muslim tourists traveling to the Khlong Ta Khian Muslim Community. A content analysis technique was used to analyze data. The results revealed, roles and responsibilities of the government sector consisted of 5 aspects; Policy planning, Facility management, Funding, Participation and Marketing and public relations the least. For private sector consist of 4 aspects; Government policy driving, Public relations, Participation of private sector which need to be improved and Development of products and services. Community sector reveals 5 aspects; Government policy driving, Supporting community’s physical (5As; Attractions- 4 beautiful mosques, multicultural community ancientness of the community Accessibility- Most of community's access is by private car. Amenities- VIP lounges, Religious classrooms, libraries, toilets, multi-purpose yard used to organize activities, parking lot, and Mosque that will be open to tourists 24 hours a day. Ancillary Services - community shops, markets tourism brochure. Activities - Local cooking and desserts, Net weaving, Chao Phraya River Cruise and study multiculturalism.) Conservation of community resources, public relations and Participation of community sector. Tourists section, to understand their perception and behaviors in Khlong Ta Khian community. Their main visit is to study the way of life of the Muslim community and to admire the beauty of the mosque by investigate information of the community before travelling. In addition, all tourists were satisfied with service staff. with a professional, reliable, friendly and understands the needs of tourists. Therefore, the guidelines for developing the potential of lifestyles Khlong Takhian Muslim community are divided into 2 important parts: 1) Supply side, relevant agencies must participate in decision-making, operation, benefits and evaluation including shared roles and responsibilities to drive the policy, fund management, public relations, community resource conservation and have a strong leadership skill also, the community itself must have a distinctive physical characteristic. 2) Demand side, the needs of tourists are important, as they gathered the information of community through various channels with expectations for community attractions and staff services. This will ultimately create satisfaction and create a life time experience for Muslim tourists traveling to Khlong Ta Khian community.