การนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษา หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี

dc.contributor.advisorณัฐฐา วินิจนัยภาคth
dc.contributor.authorสรายุทธ เชื้ออ่อนth
dc.date.accessioned2019-10-30T09:07:22Z
dc.date.available2019-10-30T09:07:22Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติ และ 2) เพื่อค้นหาแนวทางในการขับเคลื่อนแผนชุมชนให้สามารถนำไปปฏิบัติ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการค้นคว้าโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 288 คนและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม ได้แก่ตัวแทนภาคราชการส่วนท้องถิ่น ภาคราชการส่วนภูมิภาค ภาคราชการส่วนกลาง ผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาควิชาการด้านนโยบายและแผน ได้ผลการศึกษา ดังนี้th
dc.description.abstract1. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ปัจจัยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่คุณภาพแผนชุมชน การบูรณาการแผนชุมชน การสนับสนุนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สมรรถนะของคณะกรรมการหมู่บ้าน และการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอ ล้วนแต่มีผลต่อการนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติในระดับมาก ( = 4.32) โดยมีปัจจัยด้านการจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอมีความสำคัญและมีผลต่อการนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติมากที่สุด และแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมีความสำคัญอย่างยิ่งและมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการขับเคลื่อนแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติหรือทำให้แผนชุมชนไม่ถูกนำไปปฏิบัติth
dc.description.abstractขณะที่ปัญหาสำคัญของการนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติ พบว่ามีปัญหา 5 ประการประการแรก คือ ปัญหาแผนชุมชนยังไม่มีคุณภาพ ไม่ได้รับการยอมรับ ประการที่สอง ปัญหาขาดการขับเคลื่อนการบูรณาการแผนชุมชนในระดับพื้นที่ ประการที่สาม ผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่ให้ความสำคัญกับแผนชุมชนในระดับน้อย และปัญหาความซ้ำซ้อนในเชิงภารกิจของส่วนราชการประการที่สี่ คือ การจัดโครงสร้างของคณะกรรมการหมู่บ้านยังไม่มีความชัดเจน ความสามารถในการแสวงหาและนำเอาทรัพยากรในหมู่บ้าน/ชุมชนมาใช้ การสื่อสารภายในหมู่บ้านค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด และระดับความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการหมู่บ้านกับหน่วยงานราชการและการเมืองท้องถิ่นอยู่ในทิศทางที่เป็ นลบ และประการสุดท้าย คือ ปัญหาความไม่เพียงพอของทรัพยากรกล่าวคือ หน่วยงานภาครัฐมีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการจะสนับสนุนหรือจัดสรรให้แก่หมู่บ้านหมู่บ้านไม่ทราบแหล่งทุนหรือทรัพยากรth
dc.description.abstract2. การค้นหาแนวทางในการขับเคลื่อนแผนชุมชนให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริงพบว่า เพื่อให้แผนชุมชนสามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ต้องดำเนินการใน5 ด้าน ประกอบด้วย 1) เสริมสร้างคุณภาพแผนชุมชนให้เป็นแผนที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของส่วนราชการและกำหนดให้มีผลในทางปฏิบัติ 2) จัดให้มีเวทีการบูรณาการแผนชุมชนในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดอย่างแท้จริง เพื่อเป็นเวทีในการบูรณาการและส่งต่อแผนงาน/โครงการตามแผนชุมชนให้ส่วนราชการรับไปดำเนินการ 3) เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในเวทีแผนชุมชน สร้างความเป็นเจ้าของและความรู้สึกรับรู้ร่วมกัน ระหว่างประชาชนในหมู่บ้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการในพื้นที่ ให้เกิดภาคีการพัฒนาแบบเครือข่าย 4) เสริมสร้างสมรรถนะของคณะกรรมการหมู่บ้านด้วยการให้ความรู้ในการขับเคลื่อนแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัย พึ่งพาทรัพยากรภายในชุมชน และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การสร้างการยอมรับและปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างคณะกรรมการหมู่บ้านกับชาวบ้านและหน่วยงานราชการในพื้นที่ และจัดโครงสร้างคณะกรรมการหมู่บ้านและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความชัดเจน สร้างเครือข่ายคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อเสริมความเข้มแข็งและศักยภาพของคณะกรรมการหมู่บ้าน 5) จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนชุมชนอย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีการบูรณาการงบประมาณหนุนเสริมภารกิจระหว่างหน่วยงานth
dc.format.extent210th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb191045th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4651th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherแผนชุมชนth
dc.subject.otherกรณีศึกษาth
dc.subject.otherการขับเคลื่อนชุมชนth
dc.titleการนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษา หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานีth
dc.title.alternativeCommunity plan implementation : case study of villages in Natal Sub District, Natal District, Ubonratchanthani Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b191045.pdf
Size:
1.96 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections