การปรับตัวของสตรีชนบทที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เขตสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

dc.contributor.advisorสุรสิทธิ์ วชิรขจร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorภารดี นามวงศ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:50Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:50Z
dc.date.issued1996th
dc.date.issuedBE2539th
dc.descriptionMethodology: Descriptive statistics, Frequency, Standard deviation, Inferential statistics, T test, F testth
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539.th
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มุ่งศึกษา 1) ระดับการปรับตัวของสตรีชนบท ที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยจำแนกการปรับตัวออกเป็น ด้านสรีระวิทยา/ร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์/ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านความสัมพันธ์พึ่งพาระหว่างกัน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยภายใน ของสตรีชนบทที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ฐานะทางเศรษฐกิจ ภาระทางครอบครัว ประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และความทันสมัยที่มีผลต่อระดับการปรับตัวของสตรีชนบท 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยภายนอกของสตรีชนบทที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และสภาพของปัจจัยการทำงาน ที่มีผลต่อระดับการปรับตัวของสตรีชนบท / กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่แรงงานสตรีที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี สิงห์บุรีและลพบุรี ซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3 แห่ง ในเขตสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย บริษัทโอกิ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทซันโย เซมิคอนดัดเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทมินีแบไทย (โรจนะ) จำกัด จำนวน 170 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน 10% จากประชากรทั้งหมด 1,700 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ F-test /ผลการศึกษา พบว่า / 1) สตรีชนบทที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม มากกว่าครึ่งหนึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 18-23 ปี (63.5%) จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (47.6%) ปัจจุบันไม่ได้มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม (75.9%) ส่วนใหญ่เป็นโสด (77.1%) ภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (60.6%) พักอาศัยอยู่กับครอบครัว (81.8%) รายได้จากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเดือนละ 4001-6000 บาท (44.7%) เกือบทั้งหมดไม่มีการหารายได้เสริม (90.0%) มีรายได้พอๆ กับรายจ่าย (53.5%) มีภาระทางครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (41.8%) จำนวนบุคคลที่เป็นภาระในครอบสตรีมี 1-2 คน (54.7%) มีระยะเวลาทำงานอยู่ในโรงงานปัจจุบัน 1-2 ปี (68.2%) และเกินกว่าครึ่งไม่เคยทำงานใดๆ มาก่อน (62.3%) ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม 1-3 ปี (58.2%)th
dc.description.abstract2) สตรีชนบทที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มีความทันสมัยอยู่ในระดับปานกลาง รวมทั้งมีสัมพันธภายในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม และสภาพของปัจจัยในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง / 3) สตรีชนบทที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีระดับการปรับตัวในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณาด้านย่อย พบว่าระดับการปรับตัวทั้งด้านสรีระวิทยา ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านความสัมพันธ์พึ่งพาระหว่างกัน อยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่าสตรีชนบทที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้สามารถรักษาความสมดุลในชีวิตได้พอสมควร โดยมีความมั่นคงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมอยู่ในภาวะที่เหมาะสม /4) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ฐานะทางเศรษฐกิจ ภาระครอบครัวประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ความทันสมัย สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมและสภาพของปัจจัยในการทำงาน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของสตรีชนบทที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส เป็นปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการปรับตัวของสตรีชนบทที่เข้าทำงาน / จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ด้านองค์กรของรัฐ / 1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ และอบรมความรู้แก่สตรีชนบท เกี่ยวกับสภาพการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในด้านบวกและลบ โดยให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ผ่านทางสื่อต่าง ๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ตลอดจนสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานต่างๆ ทั่วประเทศ /2) ควรมีการกำหนดให้องค์กรธุรกิจ สถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร โดยเฉพาะแรงงานในกระบวนการผลิต 3) ควรนำแนวคิดในเรื่องการสนับสนุนทางสังคมมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานสตรีชาวชนบท ที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมth
dc.description.abstractด้านผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม /1) ควรมีนโยบายส่งเสริมการปรับตัวของแรงงานสตรี โดยเฉพาะแรงงานสตรีที่มีประสบการณ์การทำงานในโรงงานต่ำ ด้วยการจัดปฐมนิเทศก์แก่คนงานใหม่ ยกย่องคนงานที่ปฏิบัติงานดี เพื่อเป็นการสร้างความภูมิใจในอาชีพ และทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญต่อหน่วยงาน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานที่ประสบปัญหาจากการทำงานในโรงงาน แลปัญหาอื่น ๆ ในชีวิต 2) ปรับปรุงระบบการทำงาน และลักษณะงาน ตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้แรงงานได้มีความก้าวหน้าในอาชีพ และได้เพิ่มฝีมือในงานอาชีพ 3) ควรกำหนดอัตราค่าจ้าง และผลตอบแทน ให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ และสภาพทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ เพื่อให้แรงงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสุขสบาย.th
dc.description.abstractThe purpose of this research was 1. to study the adjustment of the rural women working at three industrial factories by examining their physiological needs. self-concept, role function and interdependent relations : 2. to find out the impact of the internal factors (i.e., age, education, marital status, economic status. reponsibility for the family, work experience in the industrial factory, and modernizaiton) on their adjustment; 3. to reveal the impact of the external factors (i.e., family relationship. social support and working environment) on their adjustment. The subjects were 170 working women out of the total population of 1,700 working in 3 electronics factories in the Rojana industrial park in Ayutthaya Province--Oki (Thailand) Co.,Ltd. Sanyo Semi-conductors (Thailand) Co.,Ltd. and Mini Bear Thai (Rojana)Co.,Ltd. Besides Ayutthaya, these working women were from Angthong, Saraburi, Singhburi and Lopburi. As the population had similar characteristics, only 10 percent of them were randomly selected. They were given a questionnaire to fill up. The data were then analyzed using the descriptive statistics (e.g.frequency, percentage, mean and standard deviatin) and the inferential statistics (e.g. t-test and F-test). /Findings / 1. More than half of the industrial working women (63.5%) aged 18-23 and almost half of them (47.6%) completed high school education. Curently, around three-fourths (75.9%) did not continue their studies and the majority (77.1%) were still single, Around (60.6%) percent were local people and 81.8% percent lived with their families. The wage of 44.7 percent of them was 4001-6000 Baht per month. Nearly all (90.0%) did not earn extra money. A little more than half (53.5%) could make their ends meet. Around 41.8% percent had a moderate responsibility for their families. About 54.7% percent had 1-2 dependents. More than half (68.2%) had worked at their factories for 1-2 years. And also more than half (62.3%) had not worked anywhere before. Around 58.2% percent had previous work experience in industrial factorial factories for 1-3 years.th
dc.description.abstract2. Most of the working women were found to be moderately modernized. In addition. the ralationship with their families. social support and working environment were found to be at a moderate level. / 3. These working women as a whole counld adapt themselves at a moderate level. When each component of adjustments was considered, it was found that their adjustment in terms of physiological needs. self-concept. role function and interdependent ralations were moderate. This implied that the working women under the study could adapt themselves rather well, as they ware physically and mentally sound and could fit themselves well in the society. 4. It was also found that the factors that had a significant relationship with their adjustment were economic status. responsiblilty for the family, work experience in industrial factories. modernization. family relationship. social support and working environment. On the contrary, such background variables as age. education and marital status were found to have no realatonship with their adjustment. / The following were recommended / Government Agencies / 1. Rural women should be informed about the advantages and the disadvantages of working in industrial factories. Such information should be spread through the mass media such as the radio. t.v. and newspapers, including the skills development institutes across the country. / 2. There should be a policy enforcing enterprises and industrial factories to allocate a budget for their human resource development. particularly for upgrading their production skills. / 3. The concept of social support should be used to upgrade the skills of the working women who worked in industrial factories.th
dc.description.abstractFactory management / 1. The management of each factory should set a policy to support the working wormen's adjustment. especially those with little work experience. This might be done by holding an orientation to new working women and praising those with good performance, which would make them be proud of their work and have a sense of belonging. Also, the working women who had problems with work or others should be helped in one way or another. / 2. The working system. the working environment and the welfare system should be given an opportunity to progress in their work and to upgrade their skills. / 3. The wage and other remuneration should be adjusted to be in line with the present living condition or economic situation. so that they can have a better well-being. / Rural Working Women / 1. They should seek knowledge or upgrade their work skills so as to progress in work and in personal life. / 2. They should adapt themselves to the modern society while mintaining their good relationship within the family and the community.th
dc.format.extent23, 240 แผ่น ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1996.11
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1985th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHD 6055.6 .T52A9 ภ27th
dc.subject.otherสตรีชนบทth
dc.subject.otherสตรี -- การจ้างงาน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยาth
dc.titleการปรับตัวของสตรีชนบทที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เขตสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาth
dc.title.alternativeAdjustment of rural woman in industrial factory : a case study of electronic factory in Rojana Industrial Park, Ayutthaya Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b50369.pdf
Size:
4.62 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections