แนวทางการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนของประเทศไทย

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดา, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorณิชยารัตน์ พาณิชย์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:05Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:05Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,th
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย และวิเคราะห์ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งด้านบริหารจัดการที่มีผลต่อการบริ หารจัดการพลังงานหมุนเวียนในแต่ละภูมิภาคของ ประเทศไทย รวมทั้งเพื่อเสนอการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย โดยเลือก ผู้ตอบแบบสอบถามแบบเจาะจงเป็ นเจ้าหน้าที่พลังงานจังหวัดของทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย (76 จังหวัด) เมื่อใช้ทฤษฎีของ Taro Yamane ที่ค่าความเชื่อมั่น 0.95 พบว่า ใช้ขนาดตัวอย่าง 64 จังหวัด ซึ่งได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 62 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 96.88และมีการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนหรือคณะกรรมการชุมชนต้นแบบด้านพลังงานทั้ง 4 ภูมิภาค ผลการศึกษาพบว่า มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ภายในชุมชนทุกจังหวัด โดยทุก ภูมิภาคมีการใช้พลังงานหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับการสนับสนุนเทคโนโลยี ความรู้ และ แนวทางการดำเนินงานของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่ ซึ่งพบว่าพลังงานชีวมวลมีการนำมาใช้่ ในการผลิตพลังงานมากที่สุดของทุกภูมิภาค โดยรูปแบบเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น เตาเผา ถ่าน 200 ลิตร (แบบนอน) เตาเผาถ่าน 200 ลิตร (แบบตั้ง) เตาชีวมวลไม้เตาซูปเปอร์อั้งโล่และเตา แก๊สแกลบ เป็นต้น รองลงมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในรูปแบบ เซลล์แสงอาทิตย์ ตู้อบ แสงอาทิตย์ ส่วนพลังงานน้ำใช้ในรูปแบบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ระหัดวิดน้ำ ก๊าซชีวภาพส่วนใหญ่ หมักมาจากมูลสัตว์ที่มีอยูในชุมชน ตามลำดับ และพบว่า ปัจจัยด้านกายภาพ พลังงานหมุนเวียนบาง ประเภทที่แต่ละพื้นที่เลือกใช้ไม่ได้ขึ้นอยูกับปัจจัยทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ มีเฉพาะบางประเภทพลังงานที่ขึ้นกับปัจจัยดังกล่าว เช่น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ในด้านการขนส่งเมื่อนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ส่วนใหญ่ลดค่าขนส่งลงเพราะมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่อยู่ภายในชุมชน มาผลิตพลังงาน ในทางสังคมและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่จะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ และนำมาผสมผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้เหมาะสมกบชุมชนนั้นมากที่สุด แต่ปัจจัยความเชื่อ ค่านิยมของทุกภูมิภาคไม่ให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้พลังงาน แต่ จะมีผลหลังจากการดำเนินการใช้พลังงานหมุนเวียนในแง่ของความคิด การยอมรับ และทาง เศรษฐกิจ รายได้จะมาพร้อมกบเทคโนโลยีที่เลือกใช้และการเป็นวิทยากร ส่วนค่าใช้จ่ายพลังงาน ลดลงเพราะมีพลังงานที่ผลิตได้ใช้ส่วนหนึ่งแต่ยังมีการนำเข้าพลังงานทุกภูมิภาคมาก/น้อยขึ้นอยูกับปริมาณการผลิตพลังงาน และสิ่งหนึ่งที่เกิดตามมาคือการมีอาชีพและการรวมกลุ่ม ส่วนทางการ บริหารจัดการ ด้านบุคลากรไม่เพียงพอในบางพื้นที่และบุคลากรยังต้องการความรู้ความเข้าใจ เพิ่มเติม และด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่ไม่เพียงพอ แต่มีแนวทางการแก้ปัญหาโดยการหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม จากทั้งภาครัฐ เอกชนและแหล่งเงินทุนสนับสนุนอื่นๆ ส่วนด้านการ ควบคุบกำกับ ดูแลและการติดตามประเมินผล มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันยังไม่เป็น ระบบเอกสารที่ชัดเจน ส่วนด้านการมีส่วนร่วมช่วยในเรื่องของการขับเคลื่อนเพื่อให้การดำเนินงาน โครงการพลังงานต่างๆ ยั่งยืน รวมทั้งด้านของความรู้ความเข้าใจของประชาชนและการนำวิทยากร มาให้ความรู้มีผลต่อการสร้างจิตสำนึก ความรู้ความเข้าใจ ของพลังงานในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนในระดับประเทศไทย ควรเริ่มต้นจาก ครอบครัวแล้วขยายต่อไปในชุมชนและกลายเป็นจังหวัด แล้วค่อยๆ ขยายต่อไปเรื่อยๆ ในพื้นที่ ใกล้เคียง และควรศึกษาความเหมาะสมตามศักยภาพ วัตถุดิบในชุมชน พร้อมทั้งประชาชนต้องมี ความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภทและเทคโนโลยีพลังงานนั้นๆ และให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน เพื่อปลูกฝังจิตส านึกให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็ นเจ้าของ พลังงานในชุมชนของตนเอง อีกทั้งต้องอาศัยความร่วมแรงจากทุกฝ่ าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาค ประชาชนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และควรใช้ทรัพยากรที่มีอยูในชุมชนอย่างแท้จริงth
dc.format.extent199 แผ่น : ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2055th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.titleแนวทางการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนของประเทศไทยth
dc.title.alternativeGuidelines for renewable energy management in community of Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b180543.pdf
Size:
23.17 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections