ปัญหากฎหมายว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีการใช้ข้อมูลภายใน
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
128 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba185714
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศิริพงศ์ ชัยอำนวยศิลป์ (2014). ปัญหากฎหมายว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีการใช้ข้อมูลภายใน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3391.
Title
ปัญหากฎหมายว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีการใช้ข้อมูลภายใน
Alternative Title(s)
Legal problems concerning unfair securities trading practice : A study of insider trading
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ในปี พ.ศ. 2558 ที่กำลังจะถึงนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) กำลังจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญของตลาดทุนไทย โดยเศรษฐกิจและตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียนจะมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ดังนั้น กฎหมายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงของตลาดทุน จึงต้องครอบคลุมการดูแลความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยของตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งต้องมีการพัฒนากฎหมายหลักทรัพย์ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์กรณีการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) เป็นการกระทำความผิดที่เกิดจากพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูล ผู้ที่เป็นบุคคลภายในหรือใกล้ชิดกับบุคคลภายในที่รับทราบข้อมูลภายในก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะ ย่อมกุมความได้เปรียบ สามารถควบคุมความเสี่ยงรวมถึงสามารถแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลนั้น ในขณะที่ผู้อื่นไม่สามารถกระทำได้ พฤติกรรมเช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม เพราะเป็นการเข้าถึงและใช้ข้อมูลก่อนโดยเอาเปรียบผู้อื่น ซึ่งกฎหมายหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของประเทศไทย ได้แก่ มาตรา 241 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 นั้น ยังขาดประสิทธิภาพในแง่ของกระบวนการพิสูจน์ความผิดของผู้กระทำผิด และโทษทางอาญาตามมาตรา 296 ที่ใช้บังคับตามกฎหมายดังกล่าวยังไม่รุนแรงเพียงพอที่จะป้องปรามมิให้คนในสังคมเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการกระทำนั้น รวมทั้งกระบวนการลงโทษตามกฎหมายหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เน้นเฉพาะกระบวนการลงโทษทางอาญา ซึ่งการพิสูจน์ความผิดค่อนข้างกระทำได้ยาก เพราะจะต้องพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยอันสมควร (Proof Beyond Reasonable Doubt)
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงทำการศึกษาวิจัยข้อมูลจากเอกสารต่างๆ และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งใช้วิธีการค้นคว้าวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาหลักฎหมายและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย เนื่องจากกฎหมายหลักทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นต้นแบบของกฎหมายหลักทรัพย์ของโลกที่มีการพัฒนากฎหมายหลักทรัพย์มาเป็นเวลานาน ในส่วนของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซียนั้น เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงเป็นอันดับหนึ่งและสองในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556) และเป็นตลาดที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาวิจัย ทำให้ทราบถึงพัฒนาการ รูปแบบ และปัญหาของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีการใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งหากกฎหมายยังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ก็คงเป็นช่องทางให้ที่เป็นบุคคลภายในหรือใกล้ชิดกับบุคคลภายในสามารถเอาเปรียบผู้อื่นจากข้อมูลนั้นได้ โดยสรุปแล้ว ผู้เขียนจึงเสนอแนะว่า หากมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลักทรัพย์ว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบทบัญญัติในส่วนของอัตราโทษที่ใช้บังคับอยู่ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันและเพิ่มเติมในส่วนของมาตราการลงโทษทางแพ่ง ก็จะสนับสนุนให้กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้กระทำเกิดความยำเกรงต่อความผิดมากขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557