การใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสนับสนุนหลักการประโยชน์สาธารณะในกฎหมายมหาชนของไทย

dc.contributor.advisorปุ่น วิชชุไตรภพth
dc.contributor.authorบุญชณัฎฐา กรัชกายพันธ์th
dc.date.accessioned2022-02-08T12:00:02Z
dc.date.available2022-02-08T12:00:02Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractประโยชน์สาธารณะ เป็นนิติสมบัติของกฎหมายมหาชน เป็นคุณธรรมทางกฎหมายมหาชน บรรดากฎหมายที่อยู่ภายในปริมณฑลของกฎหมายมหาชนจึงพึงมีประโยชน์สาธารณะเป็นฐานแห่ง นิติวิธี แต่โดยที่ประโยชน์สาธารณะมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากต่อการพิจารณาขอบเขตได้อย่าง ชัดเจน จึงเป็นปัญหาในทางวิธีคิด วิธีใช้และวิธีตีความอยู่เสมอ ดังปรากฏในข้อเท็จจริงบางกรณีเมื่อ องค์กรฝ่ายรัฐผู้มีอำนาจและหน้าที่ได้ดำเนินภารกิจให้ตอบสนองเจตนารมณ์ของหลักการประโยชน์ สาธารณะ แต่ปรากฏความเสียหายขึ้นแก่ประชาชน เกิดข้อพิจารณาประโยชน์สาธารณะที่ขัดกัน กล่าวคือ เมื่อดำเนินการประโยชน์สาธารณะอย่างหนึ่งได้สำเร็จ จะส่งผลกระทบต่อประโยชน์ สาธารณะอีกอย่างหนึ่ง รวมถึงปัญหาในทางวิธีคิดทางกฎหมายมหาชนในการกำหนดความเป็น ประโยชน์สาธารณะของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ อันจะส่งผลต่อความชัดเจนในการปฏิบัติการ ขององค์กรฝ่ายรัฐในฐานะฝ่ายบริหาร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษาการแก้ไขปัญหานิติวิธีทาง กฎหมายมหาชนของไทย ในด้านของหลักการประโยชน์สาธารณะ โดยพิจารณาเทียบเคียงกับ สังฆะ ในฐานะเป็นชุมชนของภิกษุ ที่มีความมุ่งหมายคล้ายคลึงกัน คือการดำรงอยู่เพื่อประโยชน์ของชนหมู่ มากและพัฒนาชุมชนนี้ผ่านการฝึกฝน จากการศึกษา พบวิธีการในการแก้ไขข้อบกพร่องโดยอาศัยนิติวิธีทางกฎหมายมหาชน ซึ่ง ประกอบด้วยนิติวิธีหลักที่เป็นฐานคิดสำคัญของกฎหมายมหาชน และนิติวิธีประกอบที่เป็นส่วนช่วยให้ การคิด การใช้ การตีความสามารถเข้าถึงนิติวิธีหลักได้โดยรวดเร็ว การนำหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาเข้ามาสนับสนุนหลักการประโยชน์สาธารณะ จะใช้พุทธวิธีผ่านนิติวิธีประกอบ อันเป็น กระบวนการคิด การใช้ และการตีความด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์กฎหมาย สังคมวิทยากฎหมาย และกฎหมายเปรียบเทียบ โดยพิจารณาหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ หลักการบัญญัติพระวินัย หลักธรรมที่สนับสนุนการปฏิบัติการให้บรรลุเจตนารมณ์ของประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ หลักจุดหมาย 3 ขั้น และหลักจุดหมาย 3 ด้าน เป็นต้น ซึ่งพบว่าหลักธรรมแต่ละประการมีความสอดคล้องกับ หลักการทางกฎหมาย ทั้งสามารถอำนวยให้การคิด การใช้ การตีความ มีความกระจ่างชัดเจนมาก ยิ่งขึ้น ส่วนข้อพิจารณาประการสำคัญคือ เหตุผลที่พึงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการ สนับสนุนการคิด การใช้ และการตีความหลักการประโยชน์สาธารณะในกฎหมายมหาชนของไทยนั้นด้วยเป็นที่ชัดเจนว่าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีความสอดคล้องกับสังคมวิทยาของประเทศไทย ทั้งความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ ที่มีความเกื้อกูลกันอยู่เสมอ ทั้งเป็นหลักการที่มีอยู่แล้วตาม ธรรมชาติ จึงเป็นหลักการที่ไม่ทำให้มนุษย์หลงผิดลงไปในทางเสื่อม หากแต่สามารถฝึกฝนพัฒนาได้ อันจะยังให้ประโยชน์สาธารณะไม่เป็นประโยชน์ที่เบียดเบียนปัจเจกบุคคล ขณะที่ปัจเจกบุคคลที่ เอื้ออำนวยให้ประโยชน์สาธารณะดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม อนึ่ง ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะด้านการพิจารณาในทางกฎหมาย รัฐมักมองศาสนาเป็นองค์กรที่มี บทบาททางความเชื่อในสังคม หากแต่เมื่อพิจารณาเข้าไปจะพบบทบาทของศาสนาในฐานะหลักการ อันเป็นแนวคิดหรือเรียกว่า คำสอน ที่มุ่งหมายให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาได้ปฏิบัติตาม หากในทางกฎหมาย ได้นำเอาหลักการทางศาสนามาสนับสนุน ทั้งในทางหลักการคิด การใช้ และการตีความ ตามความ เหมาะสม จะพบว่าหลักการทางศาสนาสามารถผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายได้เป็นอย่างดี ทั้ง จะช่วยส่งเสริมให้กฎหมายกลายเป็นเครื่องฝึกให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตัวตรงตามเจตนารมณ์ได้ โดยเฉพาะในด้านหลักการประโยชน์สาธารณะที่เป็นคุณธรรมทางกฎหมายมหาชน จะไม่เกิดการ เบียดเบียนแก่ปัจเจกชน จะดำรงได้ซึ่งประโยชน์มหาชน จะเกิดเป็นดุลยภาพระหว่างประโยชน์ทั้งสอง เมื่อไม่เกิดเหตุดังกล่าวตั้งแต่ขั้นตอนของการปฏิบัติการเพื่อสนองตอบต่อประโยชน์สาธารณะ ความเสียหายของทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชนย่อมไม่เกิดขึ้น สังคมของรัฐก็ย่อมดำรงอยู่ได้โดย ปกติสุขในที่สุดth
dc.format.extent117 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb194164th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5477th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผลประโยชน์สาธารณะth
dc.subject.otherพุทธศาสนา -- คำสั่งสอนth
dc.titleการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสนับสนุนหลักการประโยชน์สาธารณะในกฎหมายมหาชนของไทยth
dc.title.alternativeApplying buddhist dhamma doctrines to support the public interest for public law in Thaith
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194164.pdf
Size:
1.21 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections