ผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬต่อพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
Publisher
Issued Date
1993
Issued Date (B.E.)
2536
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ช, 438 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เฉลิม เกิดโมลี (1993). ผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬต่อพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1776.
Title
ผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬต่อพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
The impact of Bloody May on voting behavior of rural Thai people : a case study of the 13 September BE 2535 general election Nakhonratchasima constituency C
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงผลกระทบของเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 ว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนหรือไม่ โดยวิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในเขตเลือกตั้ง ค.จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1095 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์หาลักษณะทั่วไปของตัวแปรตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยใช้สถิติร้อยละ หาความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแควร์ (Chi-Square) และหาค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรโดยใช้คอนติเจนซี (Contigency Coefficient) และทดสอบค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันของตัวแปรที่สำคัญบางตัวด้วย ที-เทส (T-Test)
ผลการศึกษาพบว่า.
1.1 ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาล ที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาขึ้นไป และมีอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ประกอบการด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีสถานภาพทางสังคมสูง หรือชนชั้นกลางในต่างจังหวัด จะมีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยสูงกว่าผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตสุขาภิบาล (ในชนบท) ที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับอนุปริญญา และมีอาชีพเป็นเกษตรกร แรงงานรับจ้าง ร้านค้าย่อย และแม่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่า กล่าวคือไปเลือกตั้งด้วยจิตสำนึกของตนเองมากกว่าถูกชักชวนร้องขอจากผู้อื่น มีการตัดสินใจเลือกผู้สมัครไว้ล่วงหน้านานกว่า เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งที่อยู่ในกลุ่ม 4 พรรคฝ่ายค้านมากกว่าผู้สมัครที่อยู่ในกลุ่ม 5 พรรคฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีเหตุผลในการเลือกผู้สมัครอยู่ที่การเป็นผู้สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมากกว่าเหตุผลอื่น ๆ.
1.2 สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องพฤติกรรมการไปหรือไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งการพิจารณาเลือกเป็นพรรคหรือบุคคล
2. ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีประสิทธิภาพหรือสมรรถภาพทางการเมือง กล่าวคือ ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีความรู้สึกมีสมรรถภาพทางการเมืองสูงกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำ แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีสมรรถภาพทางการเมืองกับระดับการรับรู้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬและความรู้สึกมีสมรรถภาพทางการเมืองกับพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง.
3. ความแตกต่างในสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมโดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษาและอาชีพ ก่อให้เกิดความแตกต่างในระดับผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ กล่าวคือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาล ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่า มีอาชีพที่มั่นคงกว่า จะมีระดับการรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้สูงกว่า และในขณะเดียวกันก็รับรู้ข่าวสารเหตุการณ์ที่บิดเบือนน้อยกว่า และในขณะเดียวกันมีทัศนคติที่ดีต่อกลุ่มผู้ประท้วงมากกว่าผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจต่ำ.
4. ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือผู้ "ชิดใกล้" ซึ่งหมายถึง ผู้ที่เข้าร่วมในเหตุการณ์ มีญาติพี่น้องหรือคนที่รู้สึกผูกพันกันเข้าร่วมในเหตุการณ์ในระดับที่แตกต่างกัน จะรับรู้และเข้าใจเหตุการณ์ได้ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่มีระยะชิดใกล้กับเหตุการณ์ และขณะเดียวกันก็มีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่ไม่แตกต่างกันด้วย.
5. ผู้ที่ยอมรับข่าวสารเหตุการณ์จากผู้นำทางความคิดชุมชนหรือ "ผู้นำมติชุมชน" สูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ จะมีระดับการรับรู้และเข้าใจเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ต่ำกว่า และขณะเดียวกันก็มีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยในบางด้านต่ำกว่าผู้ที่ไม่รับข่าวสารจากผู้นำทางความคิด
6. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬสูง คือ รับรู้สาระข่าวสารเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในระดับที่สูงกว่า รับรู้ข่าวสารเหตุการณ์อย่างบิดเบือนต่ำ และมีทัศนคติที่ดีต่อกลุ่มผู้ประท้วง จะมีพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งที่สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยในระดับสูงกว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในระดับที่ต่ำ.
สรุปผลการวิจัย.
ผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมสูง มักจะรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์จากสื่อสาธารณะด้านกว้างมากกว่าจากสื่อผู้นำทางความคิดในชุมชนหรือด้านลึก ขณะเดียวกันระดับการรับรู้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่สูงกว่ามักจะนำพาให้มีพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่สอดคล้องกับความคาดหวังของระบอบประชาธิปไตยมากกว่า.
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาล ที่มีระดับการศึกษาสูง มีอาชีพที่มั่นคง หรือที่เรียกกันว่า "ชนชั้นกลางในหัวเมือง" มักจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬสูงกว่า ประชาชนกลุ่มอื่น ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬก็คือ "การลุกขึ้นสู้ของชนชั้นกลางในเมืองหลวง จะสร้างผลกระทบให้ชนชั้นกลางในหัวเมืองในระดับหนึ่ง แต่ไม่อาจขยายผลไปสู่ชนชั้นล่างในเขตชนบทห่างไกล ทั้งนี้เพราะการรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์ด้านกว้างยังมีข้อจำกัด และแถมยังถูกดัดแปลงข่าวสารเหตุการณ์ให้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงโดยผู้นำทางความคิดในชุมชนชนบทอีกด้วย"
ผลการศึกษาพบว่า.
1.1 ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาล ที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาขึ้นไป และมีอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ประกอบการด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีสถานภาพทางสังคมสูง หรือชนชั้นกลางในต่างจังหวัด จะมีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยสูงกว่าผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตสุขาภิบาล (ในชนบท) ที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับอนุปริญญา และมีอาชีพเป็นเกษตรกร แรงงานรับจ้าง ร้านค้าย่อย และแม่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่า กล่าวคือไปเลือกตั้งด้วยจิตสำนึกของตนเองมากกว่าถูกชักชวนร้องขอจากผู้อื่น มีการตัดสินใจเลือกผู้สมัครไว้ล่วงหน้านานกว่า เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งที่อยู่ในกลุ่ม 4 พรรคฝ่ายค้านมากกว่าผู้สมัครที่อยู่ในกลุ่ม 5 พรรคฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และมีเหตุผลในการเลือกผู้สมัครอยู่ที่การเป็นผู้สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมากกว่าเหตุผลอื่น ๆ.
1.2 สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม โดยเฉพาะแหล่งที่อยู่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันไม่ก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องพฤติกรรมการไปหรือไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งการพิจารณาเลือกเป็นพรรคหรือบุคคล
2. ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกมีประสิทธิภาพหรือสมรรถภาพทางการเมือง กล่าวคือ ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีความรู้สึกมีสมรรถภาพทางการเมืองสูงกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำ แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีสมรรถภาพทางการเมืองกับระดับการรับรู้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬและความรู้สึกมีสมรรถภาพทางการเมืองกับพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง.
3. ความแตกต่างในสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมโดยเฉพาะแหล่งที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษาและอาชีพ ก่อให้เกิดความแตกต่างในระดับผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ กล่าวคือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาล ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่า มีอาชีพที่มั่นคงกว่า จะมีระดับการรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้สูงกว่า และในขณะเดียวกันก็รับรู้ข่าวสารเหตุการณ์ที่บิดเบือนน้อยกว่า และในขณะเดียวกันมีทัศนคติที่ดีต่อกลุ่มผู้ประท้วงมากกว่าผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจต่ำ.
4. ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือผู้ "ชิดใกล้" ซึ่งหมายถึง ผู้ที่เข้าร่วมในเหตุการณ์ มีญาติพี่น้องหรือคนที่รู้สึกผูกพันกันเข้าร่วมในเหตุการณ์ในระดับที่แตกต่างกัน จะรับรู้และเข้าใจเหตุการณ์ได้ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่มีระยะชิดใกล้กับเหตุการณ์ และขณะเดียวกันก็มีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่ไม่แตกต่างกันด้วย.
5. ผู้ที่ยอมรับข่าวสารเหตุการณ์จากผู้นำทางความคิดชุมชนหรือ "ผู้นำมติชุมชน" สูง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ จะมีระดับการรับรู้และเข้าใจเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ต่ำกว่า และขณะเดียวกันก็มีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยในบางด้านต่ำกว่าผู้ที่ไม่รับข่าวสารจากผู้นำทางความคิด
6. ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬสูง คือ รับรู้สาระข่าวสารเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในระดับที่สูงกว่า รับรู้ข่าวสารเหตุการณ์อย่างบิดเบือนต่ำ และมีทัศนคติที่ดีต่อกลุ่มผู้ประท้วง จะมีพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งที่สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยในระดับสูงกว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในระดับที่ต่ำ.
สรุปผลการวิจัย.
ผู้ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมสูง มักจะรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์จากสื่อสาธารณะด้านกว้างมากกว่าจากสื่อผู้นำทางความคิดในชุมชนหรือด้านลึก ขณะเดียวกันระดับการรับรู้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่สูงกว่ามักจะนำพาให้มีพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่สอดคล้องกับความคาดหวังของระบอบประชาธิปไตยมากกว่า.
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาล ที่มีระดับการศึกษาสูง มีอาชีพที่มั่นคง หรือที่เรียกกันว่า "ชนชั้นกลางในหัวเมือง" มักจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬสูงกว่า ประชาชนกลุ่มอื่น ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬก็คือ "การลุกขึ้นสู้ของชนชั้นกลางในเมืองหลวง จะสร้างผลกระทบให้ชนชั้นกลางในหัวเมืองในระดับหนึ่ง แต่ไม่อาจขยายผลไปสู่ชนชั้นล่างในเขตชนบทห่างไกล ทั้งนี้เพราะการรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์ด้านกว้างยังมีข้อจำกัด และแถมยังถูกดัดแปลงข่าวสารเหตุการณ์ให้ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงโดยผู้นำทางความคิดในชุมชนชนบทอีกด้วย"
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.