การจัดการบริการสาธารณะโดยวิธีการทำสัญญาจ้าง : กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลกและเทศบาลนครขอนแก่น

dc.contributor.advisorอุดม ทุมโฆสิต, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorมนัสนันท์ ชัยกิจยิ่งเจริญth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:15:45Z
dc.date.available2014-05-05T09:15:45Z
dc.date.issued2010th
dc.date.issuedBE2553th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการนำวิธีการทำสัญญาจ้างมาใช้ในเทศบาลมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อดีข้อเสียของการจัดการการบริการสาธารณะโดยวิธีการทำสัญญาจ้าง (Contracting Out) ของเทศบาลนคร 2) เพื่อศึกษาประเภทการบริการสาธารณะที่เหมาะสมในการ ใช้การจัดการการบริการสาธารณะโดยวิธีการทำสัญญาจ้างในเทศบาลนคร 3) เพื่อศึกษาถึง ประสทธิผลการบริการสาธารณะโดยวิธีการทำสัญญาจ้างของเทศบาลนครรูปแบบการศึกษาใช้วิธี การศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้กรณีศึกษาในพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลกและเทศบาลนครขอนแก่น ในเทศบาลทั้ง 2 แห่งผู้วิจัยดำเนินการศึกษาใน 4 โครงการคือ 1) การเก็บขนขยะ 2)การก่อสร้างซ่อมแซมถนน 3) การรักษาความปลอดภัยและ 4) การบำรุงรักษาสวนสาธารณะเกาะกลางถนนผลการศึกษาพบว่าการจัดการการบริการสาธารณะโดยวิธีการทำสัญญาจ้างความ เหมาะสมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยเพื่อไม่ให้เทศบาลเพิ่มจำนวนบุคลากรใน องค์การลดต้นทุนและเพิ่มการจ้างงานให้กับธุรกิจท้องถิ่น ประเภทการบริการที่เหมาะสมใช้ วิธีการทำสัญญาจ้าง คือการ่อสร้างซ่อมแซมถนนการรักษาความปลอดภัยและการบำรุงรักษา สวนสาธารณะเกาะกลางถนนเนื่องจากมีการครอบครองสินทรัพย์ต่ำ (Asset Specificity) ใช้แรงงานหรือเครื่องจักรเพียงเล็กน้อยการแข่งขันสูงกว่ารวดผลผลิตชัดเจนทำให้การควบคุมทำได้ง่าย ผลการศึกษาดานประสทธิผลของวิธีการทำสัญญาจ้างในเทศบาลนครพิษณุโลกและ เทศบาลนครขอนแก่นพบว่ามีคุณภาพการให้บริการสูงกว่าด้านการเท่าเทียมของการได้รับ บริการดีกว่าและดานตรงตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญามากกว่าการดำเนินการของเทศบาลนคร แต่ลดต้นทุนของภาครัฐได้น้อยในโครงการซ่อมถนนรักษาความปลอดภัยและดูแลสวนสาธารณะ ของทั้ง 2 เทศบาลโครงการเก็บขนขยะที่ใช้วิธีการทำสัญญาจ้างของเทศบาลนครขอนแก่นพบว่าต้นทุนของภาครฐเทาเดิม มีคุณภาพสูงกว่าได้รับบริการเท่าเทียมดีกว่าและตรงตามที่ตกลงใน สัญญามากกว่าสวนโครงการเก็บขนขยะของเทศบาลนครพิษณโลกแม้ว่าสามารถลดต้นทุนของ ภาครัฐได้แต่คุณภาพด้อยกว่าได้รับบรการไม่ทั่วถึงและตรงตามที่ตกลงในสัญญาน้อยกว่าการ ดําเนินการให้บริการของเทศบาลนคร ข้อเสนอแนะจากการวิจัยที่สําคัญคือควรปรับปรุงวิธีการทำสัญญาจ้างเพื่อเพิ่ม ประสิทธิผลโดยการกำหนดข้อกาหนดในสัญญาให้ชัดเจน เพื่อให้มีความสามารถในการควบคุม ณสมบัติของผู้รับจ้างโดยพิจารณาประสบการณ์และความสามารถในการจัดการถ้าเอกชนเป็น ผู้ดําเนินงานแทนกรณ์ให้ชุมชนดำเนินการแทนผู้นําชมชนต้องมีภาวะหน้าที่มีความสามารถใน การตัดสนใจมีจิตสาธารณะเสียสละและต้องมีความโปร่งใสเพื่อให้ได้การบริการที่มีคุณภาพ สร้างการแข่งขันให้เกิดขึ้นและลดต้นทุนของภาครัฐ การสนับสนุนของฝ่ายบริหารมความสาคัญ ในการช่วยให้เกิดการใช้วิธีการทำสัญญาจ้าง การมีส่วนรวมของประชาชนช่วยให้มีการตรวจสอบ การทำงานของเจ้าหน้าที่ การประเมินคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมเสนอราคาทำให้ได้ผู้ให้บริการที่มี ประสบการณ์การติดต่อสื่อสารระหว่างกันและช่วยแก้ไขปัญหาทําให้ประชาชนได้รับการ บริการอย่างมีประสิทธิผล.th
dc.format.extent392 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2010.74
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/939th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHD 3860 ม15 2010th
dc.subject.otherสัญญาของรัฐ -- ไทย -- ขอนแก่นth
dc.subject.otherบริการสาธารณะท้องถิ่น -- ไทย -- ขอนแก่นth
dc.titleการจัดการบริการสาธารณะโดยวิธีการทำสัญญาจ้าง : กรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลกและเทศบาลนครขอนแก่นth
dc.title.alternativePublic service management by means of contracting out : a case study of Phitsanuloke and Khon Kaen Municipalitiesth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b168729.pdf
Size:
23.38 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text