การนำนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

dc.contributor.advisorประเสริฐ รักไทยดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorจินตนา สิงหเทพth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:23Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:23Z
dc.date.issued1997th
dc.date.issuedBE2540th
dc.descriptionMethodology: Descriptive statisticsth
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.th
dc.description.abstractการศึกษาการนำนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ผลสำเร็จและล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดย ศึกษาถึงกระบวนการเกี่ยวกับความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย การกำหนดกิจกรรมและการมอบหมายงาน มาตรการควบคุมและประเมินผล การสนับสนุนจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น และโครงสร้างขององค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ตลอดจน เพื่อใช้เสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการในนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อพื้นที่ที่ศึกษา โดยทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและจากการสัมภาษณ์คณะกรรมการการจัดการสิ่งแวดล้อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 18 คน / ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบาย อาศัยบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ๆ และงบประมาณที่ใช้ก็จะมาจากงบประมาณในแหล่งต่าง ๆ โดยงบประมาณส่วนใหญ่ได้มาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติพบว่าจังหวัดได้มีการจัดทำนโยบายตรงตามปัญหาที่ประสบอยู่ ซึ่งสามารถสรุปผลความสำเร็จและความล้อมเหลวของนโยบายได้ดังนี้ / 1. ความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย ส่วนใหญ่แล้วจะทราบนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการวางแผนนโยบายระดับจังหวัดทั้งสิ้น แต่นโยบายและวัตถุประสงค์ที่เป็นระดับกระทรวงไม่มีความชัดเจน / 2. การกำหนดกิจกรรมและการมอบหมายงาน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามีความสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ของจังหวัด การมอบหมายงานในระดับกระทรวง เป็นการมอบหมายงาน แต่ไม่มีอำนาจในการโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดตามพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมได้ / 3. มาตรการควบคุมและประเมินผล จังหวัดมีการควบคุมและประเมินผลตามพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เป็นหลัก และการควบคุมการใช้ที่ดินและอาคารการก่อสร้างใช้พระราชบัญญัติ พ.ศ. 2522 แต่มาตรการในการควบคุมของจังหวัดเองยังไม่มีการกำหนดใช้ / 4. การสนับสนุนจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น ในส่วนกลางให้การสนับสนุนเกี่ยวกับงบประมาณ โดยเป็นส่วนของงบประมาณประจำปีที่จังหวัดเสนอขอขึ้นไป แต่ก็ได้รับการสนับสนุนค่อนข้างน้อย ตลอดระยะเวลา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538-2539 ได้รับการอนุมัติไม่ถึงร้อยละ 50 ในด้านของบุคลากรได้รับสนับสนุนจากส่วนกลางเป็นอย่างดี กรณีที่ขอความร่วมมือเรื่องการเฝ้าระวังโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษth
dc.description.abstractจากการร้องเรียนจากประชาชน ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการระดับจังหวัดค่อนข้างน้อย ส่วนความร่วมมือของประชาชนจะให้ความร่วมมือสูงกว่า / 5. โครงสร้างขององค์กร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย เนื่องจากนโยบายด้านนี้จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องหลายกระทรวง โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นแกนหลักในการประสานงานระหว่างกระทรวงต่าง ๆ ในระดับจังหวัดจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องเกือบทุกหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรเอกชน ตลอดจนนักการเมืองในท้องถิ่น โดยผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่จะสังกัดกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่น ๆ ที่อยู่ในระดับภูมิภาค โดยสำนักงานจังหวัดเป็นผู้ประสานแผนนโยบาย ในระดับจังหวัดกับส่วนราชการ และระดับกระทรวง ซึ่งแต่ละส่วนราชการไม่มีงบประมาณโดยตรงในการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม งบประมาณส่วนใหญ่ก็ได้รับมาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ บุคลากรที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และมีจำนวนไม่เพียงพอ ซึ่งการปฏิบัติงานบางครั้งต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เฉพาะด้าน / ผลการปฏิบัติงานพบว่า ความสามารถในการบรรลุได้ตามแผนที่ตั้งไว้อยู่ในระดับ ปานกลางค่อนข้างต่ำ จำนวนแผนที่รองรับตามปัญหานั้นจังหวัดได้จัดทำแผนอย่างตรงตามปัญหาที่ประสบอยู่ แต่การได้รับอนุมัติตามแผนปฏิบัติการยังอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงแผนการด้านการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลเท่านั้น ที่จังหวัดมีจำนวนแผนมารองรับมากที่สุด และเป็นรูปธรรมมากกว่าแผนด้านอื่น ๆ ความต่อเนื่องของโครงการยังขาดความต่อเนื่องทำให้โครงการไม่แล้วเสร็จตามเป้าหมาย / ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน / 1. ความไม่ชัดเจนของวัตถุประสงค์ ในระดับกระทรวง ไม่มีคู่มือในการปฏิบัติตามแผน และนโยบาย และระดับจังหวัดไม่ได้ดัดแปลงนโยบายระดับกระทรวง มาเป็นของจังหวัด / 2. การประสานงานระดับจังหวัด ในแต่ละส่วนราชการระดับจังหวัด และระดับกระทรวงไม่มีการประสานงานในการจัดทำโครงการแต่ละโครงการ บางครั้งทำให้เกิดการซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณ / 3. จังหวัดไม่มีอำนาจอย่างแท้จริงในการดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม 4. ปัญหาด้านงบประมาณจังหวัด ได้รับการอนุมัติช้า ไม่เพียงพอและขาดความต่อเนื่อง / ข้อเสนอแนะ / 1. ควรมีผู้ประสานงานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง ในระดับจังหวัด โดยให้มีอำนาจในการตัดสินใจในบางโครงการที่เสนอซ้ำซ้อนกันได้ มีหน้าที่ในการประสานงานในส่วนราชการระดับต่าง ๆ และในระดับจังหวัดเอง.th
dc.description.abstractอีกทั้งรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานให้ผู้บริหารระดับสูงทราบเป็นระยะ ๆ ควรมีการประชุมประสานแผนก่อนที่จะเสนอผ่านไปยังหน่วยงานระดับกระทรวง และเมื่อได้รับการอนุมัติควรจัดประชุมร่วมจัดในระหว่างหน่วยงานที่ได้รับการอนุมัติโครงการ เนื่องจากบางแผนงานและโครงการสามารถดำเนินการร่วมกันไปได้ เป็นการประหยัดทรัพยากรได้ทางหนึ่ง / 2. การกระจายอำนาจและการมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานแทน ควรกระจายอำนาจให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่แทนควรมีอำนาจเพียงพอและมีกฎหมายรองรับ เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน / 3. ผู้บริหารระดับสูงควรมีความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และควรร่วมมือแก้ไขกันอย่างจริงจัง โดยให้องค์กรเอกชน นักธุรกิจ และประชาชนภายในจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนระดับจังหวัดนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุด / สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเสริมสร้างจิตสำนึก และความตระหนักร่วมกัน ของราชการและประชาชนในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขสิ่งแวดล้อมร่วมกันth
dc.description.abstractObjective of this research is to study the success and failure of the implementation of policy on Natural resource and Environment Management, in Ayudhaya Province. The area of study includes the purpose of policy, activities design and job assignment, measurement of control and evaluation, supporting from central and local agency, structure of organization and personal concerned to policy. Moreover the result of this research could be a guidance for management of the policy on natural resource and environment management in tha area. Method of the research based on collection of secondary data and interview board of environment management of Autthaya Province. The study shows that the implementation of environment policy at Phanakorn Sri Ayudhaya Province relies on both officials and budgets from other agencies. Almost of the budget is supported by the Ministry of Science, Technology and Environment. As for the policy implementation, the study reveals that the provincial agency had precisely prepared the policy. The success and failure of the policy can be summarized as follows. 1. The clarity in objectives of policy: Almost of the officials in charge of policy implementation on natural resource and environment management acknowledge the policy well because they also participate in the provincial policy planning. However, the policy and objectives in the ministerial level are not clear. 2. Activity construction and job assignment: Almost of the officials concerned view that the activity construction and job assignment are responded to the objectives. However, the job assignment in the ministerial level was proceeded without any penalty towards the abusement of the environment decree. 3. Measurement of control and evaluation ; the province mostly depend on the environment decree 1992 and the decree for land use and building construction 1979. The province did not have its own measurement of control. 4. Supporting from central and local agencies ; central agency supported some budget proposed by the province but little in amount of providing, less than 50% during fiscal year of 1995-1996. While the supporting of the personal from central agency was quite good, cooperation of local agency especially at the province level was little compared with cooperation of people. 5. Structure of organization and the personel concerned ; though the policy related to many ministries and ogranizations, the Ministry of Science Technology and Environment, as coordinated, coordinated with other ministires. At local level, varieties agencies concerned included private sector, local politicians and other practitioners from Ministry of Interior and other ministries at regional level, office of the governor is a coordinator of the policy. At the province level, the agencies did not have their own budget for environment project directly. Most of practitioness lacked of knowledge and did not understand the issue of environment management. It has found that an ability to succeed according to the plan was moderate and low, the plans formulated by province related to the confront problem. But approval of the plan was still low, except for the plan to get rid to garbage and waste, which was more practical than other plans. Moreover, discontinuing of the projects brought about the failure of the projects. Problems and obstruction of performance 1. At the ministry level, objective of policy is not clear. Besides, there is no manual of policy and plan implementation. As for the provincial level, policy adaptation is not made from ministerial to provincial level. 2. Lack of coordination between different agencies at province leval and ministry level. Some time, there was redundant and budget consumed. 3. Lack of authority to penalize the abusement of Environment Decree. 4. Delay of budget approval, shortage and discontinuing of the budget, Suggestions 1. At province level, there must be a coordinator who can make decision on projects, coordinate with different agencies and report of the performance progress to higher level regularly. There must be meeting between different agencies before submit the projects to ministry level and after the approval of the projects to determine how to cooperate with other agencies 2. Decentralized and delegate to the agencies concerned that could be efficient in practice. Providing sufficient authority to delegates for their better morale in works. 3. High-level administrators should aware of the importance of environment. Moreover, government sector should allow private organization, businessmen, and provincial residents to cooperately prepare the provincial plan for further imprementation. The most important factor of environment problem and its resolution are to encourage consciousness and awareness among government officials and people.th
dc.format.extent13, 172 แผ่น ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1807th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectพระนครศรีอยุธยาth
dc.subject.lccGE 190 .T5 จ35th
dc.subject.otherนโยบายสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยาth
dc.subject.otherการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยาth
dc.subject.otherการนำนโยบายไปปฏิบัติth
dc.titleการนำนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาth
dc.title.alternativeThe implementation of natural resources and environmental policy : a case study of Phanakhon Sri Ayutthaya Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b91141.pdf
Size:
4.26 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections