ภาวะสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorสากล จริยวิทยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorวรีพรรณ หังสสูตรth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:23Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:23Z
dc.date.issued2008th
dc.date.issuedBE2551th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง ภาวะสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนที่เข้าร่วม และไม่ เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่อยู่ในโรงเรียนที่เข้า ร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่อยู่ใน โรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 2 และ 3 ของ โรงเรียนในเขตบางเขน กรุงเทพมหานครจํานวน 390 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวม ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) Independent t-test และ F-test (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1. นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ส่วนมากศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รับค่าอาหารวัน ละ 51-100 บาท มีบิดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า และมีมารดาจบการศึกษาระดับ ปริญญาตรีหรือสูงกว่า บิดาและมารดาประกอบอาชีพรับจ้าง รูปร่างของบิดาและมารดามีลักษณะ สมส่วน/พอดี 2. พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกําลังกายและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ โภชนาการของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลางและนักเรียนมีทัศนคติต่อการบริโภคอาหารที่ดี 3. นักเรียนมีภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง 4. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรม การออกกําลังกาย ทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหาร การศึกษาของบิดาและมารดาอาชีพของบิดา และมารดาและรูปร่างของบิดาและรูปร่างของมารดา 5. ภาวะสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพ ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโรงเรียน หรือจัดกิจกรรมขึ้นเพื่อเป็นการให้ ความรู้กับนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. การควบคุมร้านค้าภายในโรงเรียนไม่ให้มีการจําหน่ายสินค้าประเภทขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน/น้ำอัดลม และไอศกรีม แก่นักเรียน 2. การจัดกิจกรรมหรืออบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขบัญญัติ 10 ประการ พร้อมกับแจกสมุด บันทึกการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ 10 ประการให้แก่นักเรียน เพื่อนํามาประเมินภาวะสุขภาพของ นักเรียนเมื่อสิ้นภาคการศึกษา 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกําลังกายให้กับนักเรียนth
dc.format.extent12, 178 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2126th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccLB 3430 ว17 2008th
dc.subject.otherนักเรียนมัธยมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย -- ไทย -- กรุงเทพฯth
dc.titleภาวะสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตบางเขน กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeStudent's health conditions of participated and non-participated secondary schools in health promotion school project : a case study of schools in Bangkhen District, Bangkokth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b160882.pdf
Size:
2.02 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections