ทัศนคติของพัฒนากรต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด : ศึกษากรณีศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 3

dc.contributor.advisorรพี สุวรรณะชฎ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorรุ่งนภา บุญคุ้มth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:16Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:16Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractการศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์ (1) ทัศนคติของพัฒนากรต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ และ (2) ปัจจัยที่คาดว่าน่าจะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์สาธิตของพัฒนากร ได้แก่ 1) ความรู้ในนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ 2) ความเข้าใจในนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ 3) การได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา หน่วยในการวิเคราะห์คือ พัฒนากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย คือ จังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของพัฒนากรที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ ศพช.เขตที่ 3 การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีส่งแบบสอบถาม (mailed guestionnaires) ไปยังพัฒนากรกลุ่มเป้าหมาย (371 คน) และได้รับแบบสอบถามคืนมาประมาณร้อยละ 72.5 (271 คน) การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการสรุปลักษณะทั่วไปของพัฒนากรที่ศึกษา และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม (t-test) เพื่อทดสอบสมมติฐาน และ Pearson's Product Moment Correlation (r) เพื่อวิเคราะห์ระดับและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามth
dc.description.abstractจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา พบว่า กลุ่มพัฒนากรที่ศึกษาส่วนใหญ่ (79.2 เปอร์เซ็นต์) เป็นเพศชาย เกินตรึ่ง (65.7 เปอร์เซ็นต์) มีอายุ 31-50 ประมาณครึ่งหนึ่ง (53.3 เปอร์เซ็นต์) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประมาณสามในสี่ (75.5 เปอร์เซ็นต์) สมรสอยู่ด้วยกัน เกือบทั้งหมด (97.8 เปอร์เซ็นต์) มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด มากกว่าครึ่งหนึ่ง (61.7 เปอร์เซ็นต์) รับราชการกรมพัฒนาชุมชนระหว่าง พ.ศ.2508-2520 มากกว่าครึ่งหนึ่ง (66.8 เปอร์เซ็นต์) รับราชการครั้งแรกด้วยตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน 1 และประมาณครึ่งหนึ่ง (53.3 เปอร์เซ็นต์) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน 5 ประมาณครึ่งหนึ่ง (52.6 เปอร์เซ็นต์) ต้องรับผิดชอบ 2 ตำบล เกือบครึ่งหนึ่ง (49.6 เปอร์เซ็นต์) มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ ในตำบลที่รับผิดชอบ 1-2 กลุ่ม และเกือบหนึ่งในสาม (32.1 เปอร์เซ็นต์) มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ ในตำบลที่รับผิดชอบ 3-4 กลุ่ม มากกว่าครึ่งหนึ่ง (58.0 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีศูนย์สาธิตฯ ในตำบลที่รับผิดชอบ ประมาณหนึ่งในสี่ (28.8 เปอร์เซ็นต์) มีศูนย์สาธิตฯ ในตำบลที่รับผิดชอบ 1 ศูนย์ มีจำนวนน้อยที่มีศูนย์สาธิตฯ ในตำบลที่รับผิดชอบ 2 ศูนย์ (8.8 เปอร์เซ็นต์) และ 3 ศูนย์ขึ้นไป (4.4 เปอร์เซ็นต์) มากกว่าครึ่งหนึ่ง (67.2 เปอร์เซ็นต์) ไม่มียุ้งฉางในตำบลที่รับผิดชอบ ประมาณหนึ่งในห้า (19.7 เปอร์เซ็นต์) มียุ้งฉางในตำบลที่รับฟิดชอบ ประมาณหนึ่งในสี่ (27.7 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีธนาคารข้าวในตำบลที่รับฟิดชอบ และประมาณหนึ่งในสี่ (27.0) มีธนาคารข้าวในตำบลที่รับฟิดชอบ 1 แห่ง ประมาณครึ่งหนึ่ง (51.5 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลที่รับฟิดชอบ มากกว่าหนึ่งในสาม (36.9 เปอร์เซ็นต์) รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล 1 ศูนย์ เกือบครึ่งหนึ่ง (47.1 เปอร์เซ็นต์) รับผิดชอบศูนย์เยาวชนในตำบล 1 ศูนย์ ประมาณสามในสี่ (34.4 เปอร์เซ็นต์) รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลที่รับฟิดชอบศูนย์เยาวชนในตำบล 2 ศูนย์ มากกว่าครึ่งหนึ่ง (54.0 เปอร์เซ็นต์) รับผิดชอบกลุ่มอาชีพในตำบล 1-2 กลุ่ม มีจำนวนน้อย (18.6 เปอร์เซ็นต์) ที่ไม่มีกลุ่มอาชีพในตำบลที่รับผิดอชอบ.th
dc.description.abstractจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบทัศนคติต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ ของพัฒนากรที่มีการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ (ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติ = 179.6 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 29.9) กับพัฒนากรที่ไม่มีการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ (ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติ = 179.5 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 16.7) พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนใหญ่พัฒนากรทั้งสองกลุ่ม "เห็นด้วย" กับนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาดของกรมการพัฒนาชุมชนth
dc.description.abstractการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ความเข้าใจในนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ ความรู้ในนโยายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานที่ระดับสูง (0.7790) ระดับปานกลางค่อนข้างสูง (0.6771) และระดับปานกลาง (0.4129) ตามลำดับ.th
dc.description.abstractข้อเสนอแนะth
dc.description.abstractเพื่อช่วยให้พัฒนากรสามารถดำเนินการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ ได้ต่อเนื่องจากการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ ผู้ศึกษาใคร่เสนอความเห็นดังต่อไปนี้th
dc.description.abstract1. ควรสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจของพัฒนากรเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงาน และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ โดย.th
dc.description.abstract1.1 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและ/หรือศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต (ศพช.เขต) ควรจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ และในการฝึกอบรมทุกครั้งควรมีการประเมินระดับความรู้ ความเข้าใจของพัฒนากรต่อนโยบายเพื่อช่วยให้ทราบข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการฝึกอบรมครั้งต่อ ๆ ไป.th
dc.description.abstract1.2 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอและ/หรือสำนักงานพัฒนาชุมชนของจังหวัด และ/หรือ ศพช.เขต ควรจัดทัศนศึกษาให้พัฒนากรได้มีโอกาสดูการดำเนินงานทุกขั้นตอนของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ที่มีศูนย์สาธิตฯ เพื่อช่วยให้พัฒนากรได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องและประสบความสำเร็จได้ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดth
dc.description.abstract1.3 ในระยะเริ่มแรกที่มีการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ พัฒนากรอำเภอ นักวิชาการจังหวัด ควรเป็นที่ปรึกษาและติดตามการดำเนินงานของพัฒนากรอย่างใกล้ชิดth
dc.description.abstract1.4 กรมการพัฒนาชุมชนควรจัดทำคู่มือเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ โดยละเอียด แจกให้พัฒนากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ทุดคนth
dc.description.abstract2. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับตั้งแต่พัฒนากรอำเภอ นายอำเภอ พัฒนากรจังหวัดควรให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ ของพัฒนากร เช่น ให้การสนับสนุนด้านวิชาการโดยจัดหาวิทยากรฝึกอบรมคณะกรรมการ และสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ให้คำปรึกษา ตลอดจนเยี่ยมเยียนและติดตามผลการปฏิบัติงานของพัฒนากรในพื้นที่th
dc.description.abstract3. กรมการพัฒนาชุมชน ควรสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจของพัฒนากรเกี่ยวกับนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ เพื่อช่วยให้ได้ทราบข้อมูลที่กรมฯ จะได้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาพัฒนากรให้มีความสามารถที่จะจัดตั้งศูนย์สาธิตฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป.th
dc.format.extent16, 262 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.17
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1766th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHN 700.55 .Z9C6 ร42th
dc.subject.otherการพัฒนาชุมชน -- ไทยth
dc.subject.otherพัฒนากร -- ทัศนคติth
dc.titleทัศนคติของพัฒนากรต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด : ศึกษากรณีศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 3th
dc.title.alternativeThe community development workers attitudes toward the policy of establishment of the exhibition center of agricultural products : the case study of Community Development Technical Assistance Center, Region 3th
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b7024.pdf
Size:
3.96 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections