พื้นฐานการก่อเกิดและการพัฒนานโยบายอีสานเขียวของกองทัพบก

dc.contributor.advisorวิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorระวีวรรณ กัลยาณสันต์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:23Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:23Z
dc.date.issued1989th
dc.date.issuedBE2532th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2532.th
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นการสำรวจและแสวงหาคำตอบ 3 ประการคือ 1) ศึกษาทบทวนบทบาทของทหารในการพัฒนาชนบท จากยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงยุคของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2) ศึกษาวิเคราะห์ถึงพื้นฐานการก่อเกิดนโยบายอีสานเขียวว่าเป็นผลมาจากปัจจัยใดบ้าง และ 3) ศึกษาถึงการพัฒนานโยบายอีสานเขียวว่ามีกระบวนการกำหนดนโยบาย การปรับเปลี่ยนและปรับปรุงนโยบายอย่างไร.th
dc.description.abstractวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการกำหนดนโยบายอีสานเขียว โดยการแสวงหาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง และการเข้าไปสังเกตด้วยตนเองในโครงการ รวมถึงบทบาทของทหารที่เกี่ยวกับการพัฒนาชนบท ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ช่วง พ.ศ. 2530-2532.th
dc.description.abstractผลการศึกษาพบว่าทหารได้มีการขยายบทบาทในการพัฒนาชนบทออกไปจากเดิม จากการพัฒนาเฉพาะพื้นที่และใช้การพัฒนาเป็นเป้าหมายอุปกรณ์เพื่อให้เกิดเป้าหมายสุดท้าย คือ การมีชัยเหนือพรรคคอมมิวนิสต์ มาเป็นการเข้ามามีบทบาทหน้าที่โดยตรงต่อการพัฒนาชนบทเช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น ๆ และใช้การพัฒนาเป็นเครื่องมือของการรักษาสถานภาพและชื่อเสียงของกองทัพบก รวมทั้งการขยายองค์กรภายในของกองทัพเพื่อรองรับการพัฒนา และพบว่า แนวความคิดและการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทยังขึ้นอยู่กับตัวผู้นำเป็นสำคัญ และมีลักษณะพึ่งพาหน่วยงานอื่น ๆ.th
dc.description.abstractในประเด็นการศึกษาพื้นฐานการก่อเกิดนโยบาย พบว่านโยบายอีสานเขียวถูกกำหนดขึ้นมาจากกลุ่มชนชั้นนำในสังคม โดยมีปัจจัยทางการเมือง เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กองทัพบกเข้ามามีบทบาทหลักในการกำหนดนโยบาย และมีปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และระบบราชการ เป็นเหตุผลความชอบธรรมที่เอื้ออำนวยให้กองทัพสามารถผลักดันนโยบายได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบหลักในการกำหนดนโยบาย ผู้ศึกษาพบว่ายังมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในบางจุดมากกว่าผลสำเร็จในกรณีของการนำนโยบายไปปฏิบัติth
dc.description.abstractประเด็นสุดท้ายของการศึกษาพบว่า การพัฒนานโยบายอีสานเขียวนั้น มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากของเดิมที่รวบรวมแผนงานที่มีอยู่แล้ว แก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมแผนงานโครงการเพิ่มขึ้นมีลักษณะเป็นแผนประจำปี อันอาจจะนำไปสู่ภาพพจน์ เช่น รูปแบบเดิมของการพัฒนาที่ผ่านมา.th
dc.format.extent248 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1989.5
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2130th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectนโยบายอีสานเขียวth
dc.subject.lccHN 700.55 .Z9C6 ร117th
dc.subject.otherการพัฒนาชนบท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)th
dc.subject.otherไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- นโยบายของรัฐth
dc.titleพื้นฐานการก่อเกิดและการพัฒนานโยบายอีสานเขียวของกองทัพบกth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentโครงการบัณฑิตศึกษาพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์ทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b8447.pdf
Size:
4.81 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections