รูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำหวาน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

dc.contributor.advisorสุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorดวงทิพย์ อันประสิทธิ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:16Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:16Z
dc.date.issued2012th
dc.date.issuedBE2555th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012th
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาความหมายและลักษณะจิตอาสา ในทัศนะของชาว ชุมชน 2) ศึกษากระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ทำให้เกิดจิตอาสาในชุมชน 3) ศึกษาเปรียบเทียบ กระบวนการขัดเกลาของจิตอาสาของสถาบันทางสังคมที่สำคัญ 4) ศึกษาการสนับสนุนจากภาค ส่วนต่าง ๆ รวมถึงปัญหา /อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างการมีจิตอาสา ของคนในตำบลบางน้ำหวาน ผู้ศึกษาได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ผลการศึกษาพบว่า 1. ชาวชุมชนได้ให้ความหมายจิตอาสา คือ การกระทำด้วยใจจริง ช่วยเหลือด้วยความ บริสุทธิ์ใจ ทำประโยชน์ให้ผู้อื่นได้เท่าที่ตนทำได้ อย่างไม่อยู่นิ่งเฉย เพื่อที่จะนำชุมชนไปสู่ความ เข้มแข็งด้วยการที่เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และในด้านองค์ประกอบ/คุณลักษณะของผู้มีจิตอาสา คือ เป็ นผู้ที่พร้อมจะเสียสละเพื่อส่วนรวมทั้งแรงกาย แรงใจ รวมทั้งด้านเวลา และเป็นผู้ที่มีความเมตตา มีความซื่อสัตย์ โดยประพฤติตนเป็นบุคคลตัวอย่างให้กับผู้อื่นด้วยการยึดคุณธรรม จริยธรรม พร้อม กับมีความความขยัน อดทน และเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เป็นที่ปรึกษาให้ผู้อื่นได้ ถ่ายทอดความความรู้ ความสามารถของตนให้กับผู้อื่น และมีภาวะความเป็นผู้นำและมีความกระตือรือร้น 2. การขัดเกลาทางสังคมผ่านสถาบันต่าง ๆ คือ 1) ครอบครัว ได้แก่การอบรม/สั่งสอน ด้วยวาจา การทำตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง การลงโทษ การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัล สร้าง กฎเกณฑ์/ข้อตกลงร่วมกันการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง 2)ศาสนา ได้แก่การอบรม/สั่งสอนด้วยวาจาสร้างกฎเกณฑ์/ข้อตกลงร่วมกันการให้เรียนรู้ด้วยตนเองและ 3)โรงเรียน ได้แก่การอบรม/สั่งสอน ด้วยวาจาการลงโทษ การให้รางวัลการทำให้เห็นเป็นแบบอยาง่ 3. การเปรียบเทียบการขัดเกลาทางสังคมแต่ละสถาบัน วิธีการที่ทุกสถาบันใช้คือการขัด เกลาทางสังคม ทั้งครอบครัว ศาสนาและโรงเรียน ได้ใช้มากที่สุดคือ การอบรม/สั่งสอนด้วยวาจา และวิธีการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง รวมถึงวิธีการลงโทษ ทั้งวาจา และตีด้วยไม้เรียว ในการเปรียบเทียบรูปแบบการเลี้ยงดูหลัก ๆ ที่ทุกสถาบันให้ความสำคัญในการอบรมเลี้ยงดู ได้แก่ วิธีการอบรมที่เหมือนกันทั้งสามสถาบัน คือ การอบรม/สั่งสอนด้วยวาจา และวิธีการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง เมื่อพิจารณาเฉพาะในวิธีการลงโทษและวิธีการจูงใจให้รางวัล พบว่า สถาบันที่นำมาใช้คือ ครอบครัวและโรงเรียน ในขณะที่สถาบันทางศาสนาไม่เน้นใช้วิธีการนี้ ส่วนวิธีการให้ เรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันที่ใช้วิธีนี้มากที่สุดคือ ครอบครัวและศาสนา สำหรับวิธีการสร้างกฎเกณฑ์ ร่วมกันนั้น สถาบันครอบครัวได้นำมาใช้ ข้อเสนอแนะสำคัญคือสถาบันในการขัดเกลาทางสังคมเกี่ยวกับการเลี้ยงดู/กล่อมเกลา และ หน่วยงานการพัฒนาต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะต้องพึ่งพากัน โดยวิธีการในการขัดเกลาใน ระดับบุคคลเริ่มจากการเลี้ยงดูภายในครอบครัว และในระดับของการรวมกลุ่มซึ่งอยู่รูปแบบของ การได้เข้าร่วมกลุ่มในชุมชน ศาสนาและโรงเรียนth
dc.format.extent12, 180 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2012.53
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2101th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectจิตอาสาth
dc.subject.lccHM 251 ด17ร 2012th
dc.subject.otherสังคมประกิตth
dc.titleรูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำหวาน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeForms of socialization for community's voluntary mind : a study of Ban Nam Wan Community Phra Pradaeng District, Samut Prakan Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b175789.pdf
Size:
4.92 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections