ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน อายุ 18-20 ปี : ศึกษากรณีอำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา
Publisher
Issued Date
1998
Issued Date (B.E.)
2541
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
9, 119 แผ่น ; 30 ซม
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วัชรี ด่านกุล (1998). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน อายุ 18-20 ปี : ศึกษากรณีอำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1944.
Title
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน อายุ 18-20 ปี : ศึกษากรณีอำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Factors influencing political participation of the youth age 18-20 years : a case study of Amphoe Sikhiu, Nakhonratchasima Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาถึงระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน 2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน 3. เพื่อศึกษาถึงลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนทั้งชายและหญิง อายุ 18-20 ปี ตำบลสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 220 คน (ชาย 114 คน, หญิง 106 คน) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ปัจจัยเกี่ยวกับความสนใจข่าวสารทางการเมือง การยอมรับค่านิยมพื้นฐานทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง การยอมรับค่านิยมของสังคมไทยในเรื่องระบบอุปถัมภ์ พรรคพวก และเครือญาติ และความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของเยาวชน จะมีอิทธิพลกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนหรือไม่อย่างไร ผลของการศึกษาพบว่า 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองในะดับค่อนข้างต่ำ โดยกิจกรรมที่มีส่วนร่วมมากที่สุดได้แก่ การไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง รองลงมา ได้แก่ การติดตามข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่าง ๆ และกิจกรรมที่มีส่วนร่วมน้อยที่สุด ได้แก่ การช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้ง (ทางอ้อม) เช่น ใช้บ้านเป็นที่ชุมนุมหัวคะแนน จัดเลี้ยงอาหาร ใช้บ้านเป็นที่หาเสียงเป็นต้น 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน ได้แก่ ความสนใจข่าวสารทางการเมือง ความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง และความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วนปัจจัยทางด้านการยอมรับค่านิยมพื้นฐานทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและการยอมรับค่านิยมของสังคมไทยในเรื่องระบบอุปถัมภ์ พรรคพวก และเครือญาติ ไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน เรียงตามลำดับ ได้แก่ ความสนใจข่าวสารทางการเมือง และ ความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง โดยสามารถอธิบายความผันแปรในการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ร้อยละ 30.68 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา 1. รัฐควรเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ให้ควบคู่ไปกับการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ต้องเสริมสร้างภายใต้สภาพปัญหาที่แท้จริง.
มิใช่แค่เพียงหลักการ 2. จัดให้มีหลักสูตรภาคบังคับทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย 3. สร้างความตื่นตัวและความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง โดยการให้ข่าวสารทางการเมืองเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้าวขวาง 4. ส่งเสริมกิจกรรมการรวมกลุ่มผลประโยชน์หรือการจัดตั้งองค์กรเยาวชนที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบประชาธิปไตย 5. จัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักในคุณค่าและเห็นความสำคัญต่อการเลือกตั้งอย่างสุจริตและมีเหตุผล 6. รัฐควรพัฒนาให้เยาวชนเป็นผู้ที่ยึดถือเหตุผลเป็นสำคัญ มากกว่ายึดถือค่านิยมของสังคมไทยในเรื่องระบบอุปถัมภ์พรรคพวกและเครือญาติ
The objectives of this research were as follows: 1. To study the level of political participation of the youth 2. To study factors influencing political participation of the youth 3. To study factors had important sequentiaily to influencing political participation of the youth The samples in tehis research were the youth age 18-2- years in Tambol Sukhiu, Amphoe Sikhiu, Nakhonratchasima province, Totally 220 persons (male= 114 persons, female= 106 persons) The statistics employed were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression analysis by the method of stepwise. The variables in this research that factors of political news attention, fundamental democratic values, political efficacy, Thai values system (patronage and kinship system) and the difference in socio-economic status were influential to political participation of the youth. The results from this research are concluded as follows: 1. The political participation of the youth was rather low level. The activist were revealed to high level such as political voting and political news attention. In another hand, low activity political participation were supporting candidates by arranging food party to canvass and made it to be the center of political campaign. 2. Factors influencing political participation of the youth were political news attention, political efficacy and the difference in socio-economic status. But factors were not affected to political participation such as fundamental political values, Thai values system (patronage and kinship system) 3. Factors influencing political participation of the youth have twovariables that political news attention adn political efficacy, these two variables could explain the variation of political participation about 30.68% The suggestion were as follows; 1. The government should encourage fundamental political values with education system (both formal and informal) under the real circumstance, not only political principles. 2. Providing curriculum management (theory and practice) in compulsory education about democratic political participation. 3. Arousing in political awakening and political efficacy by powering information especially governmental activities and tncreasing opportunity to the youth in their opinion to problem. 4. Encouraging activities of interest groups or set up the youth organization with efficiency practice under democratic ways. 5. Set up campaign committee for the youth whom should be realized greatly to fairly and rational voting. 6. The government should develop their youth to grow with rational environment more than Thai vatues system.
มิใช่แค่เพียงหลักการ 2. จัดให้มีหลักสูตรภาคบังคับทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย 3. สร้างความตื่นตัวและความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง โดยการให้ข่าวสารทางการเมืองเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้าวขวาง 4. ส่งเสริมกิจกรรมการรวมกลุ่มผลประโยชน์หรือการจัดตั้งองค์กรเยาวชนที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแบบประชาธิปไตย 5. จัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักในคุณค่าและเห็นความสำคัญต่อการเลือกตั้งอย่างสุจริตและมีเหตุผล 6. รัฐควรพัฒนาให้เยาวชนเป็นผู้ที่ยึดถือเหตุผลเป็นสำคัญ มากกว่ายึดถือค่านิยมของสังคมไทยในเรื่องระบบอุปถัมภ์พรรคพวกและเครือญาติ
The objectives of this research were as follows: 1. To study the level of political participation of the youth 2. To study factors influencing political participation of the youth 3. To study factors had important sequentiaily to influencing political participation of the youth The samples in tehis research were the youth age 18-2- years in Tambol Sukhiu, Amphoe Sikhiu, Nakhonratchasima province, Totally 220 persons (male= 114 persons, female= 106 persons) The statistics employed were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression analysis by the method of stepwise. The variables in this research that factors of political news attention, fundamental democratic values, political efficacy, Thai values system (patronage and kinship system) and the difference in socio-economic status were influential to political participation of the youth. The results from this research are concluded as follows: 1. The political participation of the youth was rather low level. The activist were revealed to high level such as political voting and political news attention. In another hand, low activity political participation were supporting candidates by arranging food party to canvass and made it to be the center of political campaign. 2. Factors influencing political participation of the youth were political news attention, political efficacy and the difference in socio-economic status. But factors were not affected to political participation such as fundamental political values, Thai values system (patronage and kinship system) 3. Factors influencing political participation of the youth have twovariables that political news attention adn political efficacy, these two variables could explain the variation of political participation about 30.68% The suggestion were as follows; 1. The government should encourage fundamental political values with education system (both formal and informal) under the real circumstance, not only political principles. 2. Providing curriculum management (theory and practice) in compulsory education about democratic political participation. 3. Arousing in political awakening and political efficacy by powering information especially governmental activities and tncreasing opportunity to the youth in their opinion to problem. 4. Encouraging activities of interest groups or set up the youth organization with efficiency practice under democratic ways. 5. Set up campaign committee for the youth whom should be realized greatly to fairly and rational voting. 6. The government should develop their youth to grow with rational environment more than Thai vatues system.
Table of contents
Description
Methodology: Percent, Mean, Standard deviation, Multiple regression, T test, Pearson product moment correlation coefficient
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.