ความรู้ความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัยของพนักงานรัฐวิสาหกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีการประปาส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานใหญ่

dc.contributor.advisorประเสริฐ รักไทยดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorกิตติวไล บัววัฒนาth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:33Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:33Z
dc.date.issued1998th
dc.date.issuedBE2541th
dc.descriptionMethodology: Chi square testth
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1998.th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้เพื่อทราบวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัยของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค (2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความรู้ ความเข้าใจระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัยของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค (3) เพื่อทราบถึงปัญหาอุปสรรคของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ พนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ที่ดำรงตำแหน่งระดับชั้น 1-7 ตามหน่วยงานต่าง ๆ ที่สังกัดสำนักงานใหญ่ จำนวน 363 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ อายุ 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด ตำแหน่งหน้าที่อยู่ในกลุ่มวิชาชีพทั่วไปและอยู่ในระดับชั้น 6 มากที่สุด ระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 6-9 ปี มากที่สุด ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ระดับความรู้ความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัยของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค อยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัยของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคคือ ระดับการศึกษา ภาวะผู้นำ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา การฝึกอบรม และการสื่อสารภายในองค์การ ซึ่งเป็นไปในทางบวก ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลหรือมีความสัมพันธ์ได้แก่ เพศ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน 3) ปัญหา อุปสรรคของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัยของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีการเผยแพร่ความรู้ในด้านวินัย โดยใช้ภาษาสำนวนที่ง่ายแก่การทำความเข้าใจ ข้อเสนอแนะ จากการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ผู้บังคับบัญชาควรเป็นผู้ที่มีความสามารถเสริมสร้างให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยขององค์การ รวมทั้งเป็นผู้ที่ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของ กปถ. 2. ควรมีการสร้างสื่อต่าง ๆ เผยแพร่ความรู้ในด้านวินัย 3. ควรจัดฝึกอบรมเรื่องวินัยต่าง ๆ โดยจัดฝึกอบรมไปทั่วทุกภูมิภาคและมีการประเมินผลทั้งก่อน-หลังการฝึกอบรม 4. ควรมีบริการตอบคำถาม ปัญหา ข้อสงสัยในเรื่องวินัย.th
dc.description.abstractThe three main objectives of the study were (1) to determine the Knowledge and understanding of the regulations on the disciplines of state enterprise employees (2) to identily the important factors influencing it, and (3) to foreknow the problems and obstacles to it. The sample group consisted of 363 employees of C 1-7 (position classification) from different sections at the headquarters of the Provincial Water Works Authority of Thailand. The data were collected by using a questionnaire. List responders Aged 31-40 and were married most had a bachelor's degree, were in the general work line, held C-6 (position classification), and worked there for about 6-9 years. The findings were summed up as follows: 1. The knowledge and understanding of the regulations on the disciplines of state enterprise employees was found to be at a moderate. 2. The factors found to have a positive relationship with their knowledge an understanding of the regulations were education, leadership, relationship between the superior and subordinate, training and internal communication of the organizationl The facotrs found to have no significant relationship with it were sex, number of working yeard and relationship with colleagues. 3. regarding the problems and obstacles to their knowledge and understaning of the sdregulations, most of them thought it necessary to educate them about the disciplines using simple language so that they would easily understand them. The following were recommended. 1. The superior should be keen in the controlling his subordinates to observe the organizational disciplines. He should serve as a good model for them, too. 2. There should be variety of media to spread the knowledge about the organizational disciplines. 3. Training on the organizational disciplines should be conducted for the employees in all the regions, and pre-and post-evaluation of the training should be made. 4. The enquiry service should be available for those who had some questions about the organizational disciplines.th
dc.format.extent11, 183 แผ่น ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1871th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการประปาส่วนภูมิภาค -- พนักงาน -- วินัยth
dc.subject.lccJQ 1746 .Z13D5 ก34th
dc.subject.otherพนักงานรัฐวิสาหกิจ -- วินัยth
dc.titleความรู้ความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องวินัยของพนักงานรัฐวิสาหกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีการประปาส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานใหญ่th
dc.title.alternativeKnowledge and understanding of the regulations on the disciplines of state enterprise employee : a case study of the Headquarters of the Provincial Water Works Authority of Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b96742.pdf
Size:
3.94 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections