ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
114 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190104
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ (2015). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4924.
Title
ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Attitude and behavior using on facebook of working people in Bnagkok
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) และ 3) เพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการ ใช้งานเฟซบุ๊ก(Facebook) ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ วัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุระหวา่ง 22 – 59 ปี จำนวน 400 คน ที่เคยใช้บริการงาน เฟซบุ๊ก (Facebook) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย t-test, F-test และทำการทดสอบด้วย LSD และวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ด้วย Pearson Correlation
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40 - 49 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาโท เป็นพนักงานบริษัท/พนักงานของรัฐ /ข้าราชการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเฉลี่ยต่อ เดือน 30,001 – 40,000 บาท พฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก(Facebook) พบว่า ส่วนใหญ่ใช้งาน 7 วันต่อสัปดาห์ มีการใช้งานมากกว่า 10 ครั้งต่อวันสถานที่ใช้งานและการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ก (Facebook) ผู้ใช้บริการใช้ที่บ้าน/หอพัก/ที่พักอาศัยส่วนใหญ่ผ่านโทรศัพท์มือถือ ช่วงเวลาที่ใช้ 16.01 น.-20.00 น. และพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับานกลางโดยมีการกดปุ่ม (Like) เพื่อแสดงความชื่นชอบหัวข้อ, รูปภาพ, วีดีโอ, หรือ โพสต์ต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ ส่วนทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวม พบว่า มีทัศนคติที่ชอบ ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในปัจจุบัน ผลกระทบที่ได้จากการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมอยู่ในระดับมากในด้านทำให้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นการบันทึกรูปข้อมูลหรือนำรูป, ข้อมูลของ ผู้อื่นมาเผยแผ่ , โพสต์หรือแชร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจา้ของรูปภาพหรือข้อมูลนั้น ๆ เมื่อ ทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุและรายได้ต่อเดือน มีทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนทัศนคติ ในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใชง้านเฟซบุ๊ก (Facebook) อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลกระทบในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ในระดับต่ำโดยมีค่าสหสัมพันธ์ r = .196 อยา่งมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และรักษาความปลอดภัยใน การทำธุรกรรม และการปรับปรุงคุณภาพเนื้อหาขอ้มูลข่าวสารมีความน่าเชื่อถือทันยุคทันเหตุการณ์ และมีการคัดกรองผู้ที่ประสงค์ร้ายกับผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมทั้งควรศึกษาเปรียบเทียบ การใชสื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่น เช่น Line , Instragram เพราะเป็นเครือข่ายสังคมที่มีอิทธิพล ในการใช้บริการ
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40 - 49 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาโท เป็นพนักงานบริษัท/พนักงานของรัฐ /ข้าราชการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเฉลี่ยต่อ เดือน 30,001 – 40,000 บาท พฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก(Facebook) พบว่า ส่วนใหญ่ใช้งาน 7 วันต่อสัปดาห์ มีการใช้งานมากกว่า 10 ครั้งต่อวันสถานที่ใช้งานและการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ก (Facebook) ผู้ใช้บริการใช้ที่บ้าน/หอพัก/ที่พักอาศัยส่วนใหญ่ผ่านโทรศัพท์มือถือ ช่วงเวลาที่ใช้ 16.01 น.-20.00 น. และพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับานกลางโดยมีการกดปุ่ม (Like) เพื่อแสดงความชื่นชอบหัวข้อ, รูปภาพ, วีดีโอ, หรือ โพสต์ต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ ส่วนทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวม พบว่า มีทัศนคติที่ชอบ ได้แก่ เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในปัจจุบัน ผลกระทบที่ได้จากการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมอยู่ในระดับมากในด้านทำให้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นการบันทึกรูปข้อมูลหรือนำรูป, ข้อมูลของ ผู้อื่นมาเผยแผ่ , โพสต์หรือแชร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจา้ของรูปภาพหรือข้อมูลนั้น ๆ เมื่อ ทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุและรายได้ต่อเดือน มีทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนทัศนคติ ในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใชง้านเฟซบุ๊ก (Facebook) อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลกระทบในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ในระดับต่ำโดยมีค่าสหสัมพันธ์ r = .196 อยา่งมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และรักษาความปลอดภัยใน การทำธุรกรรม และการปรับปรุงคุณภาพเนื้อหาขอ้มูลข่าวสารมีความน่าเชื่อถือทันยุคทันเหตุการณ์ และมีการคัดกรองผู้ที่ประสงค์ร้ายกับผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมทั้งควรศึกษาเปรียบเทียบ การใชสื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่น เช่น Line , Instragram เพราะเป็นเครือข่ายสังคมที่มีอิทธิพล ในการใช้บริการ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558