การใช้เหมืองข้อมูล (Data Mining) ในการวิเคราะห์และสร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสังคมและความสุขของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี

dc.contributor.advisorสุรสิทธิ์ วชิรขจรth
dc.contributor.authorธนวรรณ วิสุทธิรัตน์th
dc.date.accessioned2022-12-23T08:46:46Z
dc.date.available2022-12-23T08:46:46Z
dc.date.issued2018
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561
dc.description.abstractคุณภาพสังคมของประชาชนที่มีคุณภาพเป็นเรื่องส าคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุข มากขึ้นและอยู่ภายใต้ความสนใจของนักวิจัยมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ นำไปสู่การอธิบายและทำนายคุณภาพสังคมและความสุขในปัจจุบันมีข้อจำกัด งานวิจัยนี้จึงนำเสนอ เทคนิคใหม่ๆ มาใช้โดยนำเอาเทคนิคเหมืองข้อมูลซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ข้อสรุปผลการวิจัยที่มีการค้นหา รูปแบบ แนวทาง และความสัมพันธ์แท้จริงที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น นำมาสร้างแบบจำลองคุณภาพ สังคมที่ดีเพื่อใช้ทำนายแนวโน้มความสุขของประชาชนth
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายดังนี้1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพสังคมและความสุขของ ประชาชน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสังคมและความสุขของประชาชน และ 3) เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์และสร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสังคมและความสุขของประชาชน เป็น การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์โดยตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย 1) คุณภาพสังคม โดยครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ ความครอบคลุมทางสังคม ความสมานฉันท์ทางสังคม และ การเสริมสร้างพลังทางสังคม และ 2) ความสุข กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 944 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพสังคมและแบบสอบถามความสุข มีค่าความเชื่อมั่นแบบ สัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง 0.607-0.972 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ได้แก่ โครงข่ายประสาทเทียม ต้นไม้ตัดสินใจ การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน และการจัดกลุ่ม แบบเคมีน ด้วยโปรแกรม SAS Enterprise Minerth
dc.description.abstractผลการวิจัยที่ส าคัญมี 2 ประการ ดังนี้ ประการแรก 1) ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ ความพึงพอใจในชีวิตครอบครัว ความพึงพอใจในงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ความพึงพอใจในสุขภาพ สถานะทางสุขภาพโดยรวม ความพึง พอใจในความเป็นอยู่ และความพึงพอใจในที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุข ส่วนการ ต้องออกจากที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุข 2) ความครอบคลุมทางสังคม ได้แก่ การ เห็นด้วยเรื่องผู้อพยพสามารถเป็นผู้น าทางการเมืองได้ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุข 3) ความ สมานฉันท์ทางสังคม ได้แก่ ความไว้วางใจในครอบครัว การติดต่อกับครอบครัว และการให้ ความสำคัญกับครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุข ส่วนความตึงเครียดระหว่างผู้ชายกับ ผู้หญิง ความตึงเครียดระหว่างคนที่มีศาสนาต่างกัน ความไว้วางใจในผู้นำทางการเมืองระดับชาติ มี ความสัมพันธ์ทางลบกับความสุข และ 4) การเสริมสร้างพลังทางสังคม ได้แก่ การดำรงชีวิตตาม ต้องการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุข ส่วนความรู้สึกถูกกีดกันออกจากสังคม ความรู้สึกการถูก ดูถูก ชีวิตเป็นเรื่องซับซ้อนจนไม่สามารถหาแนวทางของตนเองได้ ความรู้สึกว่าคุณค่าของสิ่งที่ทำอยู่ ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และความรู้สึกถูกบังคับให้ท าในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อความก้าวหน้า มี ความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขth
dc.description.abstractประการที่สอง จากการพิจารณาจากค่าสถิติความสอดคล้อง พบว่า การแยกตัวแปรแบบไม่ แบ่งกลุ่ม เป็นตัวแบบที่สามารถท านายความสุขได้ดีที่สุดและตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบ 3 หน่วยซ่อนเป็นตัวแบบที่มีความแม่นยำในการทำนายความสุขได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ตัวแบบโครงข่าย ประสาทเทียมแบบ 6 หน่วยซ่อน ตัวแบบต้นไม้ตัดสินใจแบบ 3 ทาง ตัวแบบต้นไม้ตัดสินใจแบบ 2 ทาง และตัวแบบการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน ตามลำดับth
dc.description.abstractผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการสร้างนโยบายในการทำให้ประชาชนใน จังหวัดจันทบุรีมีความสุขมากขึ้นด้วยคุณภาพสังคมที่มีประสิทธิภาพ และทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อต่อ ยอดการวิจัย ดังนี้1) ควรมีการศึกษาความสุขในเฉพาะด้าน เช่น ความสุขในการทำงาน ความสุขใน ครอบครัว ความสุขในการศึกษา และขยายกลุ่มตัวอย่างไปยังภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากบริบทพื้นที่จะมี สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน 2) ควรท าการศึกษาตัวแปรเชิงสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ตัวแปรทางจิตวิทยา ท าให้เห็นภาพรวมของความสุขในมุมมองที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และ 3) ควรมีการออกแบบการวิจัย โดยการใช้วิธีการเชิงคุณภาพเพิ่มเติม เช่น การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนา กลุ่ม เป็นต้น อาจจะทำให้เข้าใจถึงเงื่อนไขคุณลักษณะอื่นๆ ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ของ ความสุขได้อีก จะทำให้ได้ผลการวิจัยเกี่ยวกับความสุขที่ลุ่มลึกมากขึ้นในบริบทของสังคมไทยth
dc.format.extent406 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifierb203185th
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2018.93
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6108
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectData miningth
dc.subject.otherเหมืองข้อมูลth
dc.titleการใช้เหมืองข้อมูล (Data Mining) ในการวิเคราะห์และสร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสังคมและความสุขของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีth
dc.title.alternativeUsing data mining in an analysis and model building of the relationship between social quality and happiness of population in Chanthaburi Provinceth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b203185.pdf
Size:
11.34 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: