ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นจังหวัดลพบุรี

dc.contributor.advisorสุรสิทธิ์ วชิรขจรth
dc.contributor.authorญานันท์ ใจอาจหาญth
dc.date.accessioned2019-06-14T01:18:18Z
dc.date.available2019-06-14T01:18:18Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น ทั้งปัจจัยภายในของตัวบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับจิตลักษณะที่สำคัญ และสาเหตุภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบุคคลรอบข้าง รวมทั้งการแสวงหากลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการตั้งครรภ์ พร้อมกับเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผ่านปัจจัยปกป้องที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น ต่อไปth
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐานในการวิจัยมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎี และหลักการที่สำคัญทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีอายุต่ากว่า 20 ปี จำนวน 428 คน และวัยรุ่นหญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 454 คน รวมทั้งสิ้น 882 คน ผลการวิจัยที่สำคัญมี 7 ประการ ดังนี้ 1) มารดาวัยรุ่น ที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก มีทัศนคติต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์ดีมาก เป็นผู้ที่มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากกว่ามารดาวัยรุ่นประเภทตรงข้าม พบในกลุ่มที่มีอายุมากจำนวน 202 คน คิดเป็นอัตรา 1:2 กลุ่มที่เป็นลูกคนเดียวจำนวน 81 คน คิดเป็นอัตรา 1: 5 และกลุ่มตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ จำนวน 168 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.5 2) มารดาวัยรุ่นที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสมมาก มีความเชื่ออำนาจในตนสูง และมีความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ดีมาก เป็นผู้ที่มีทัศนคติต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์มากกว่ามารดาวัยรุ่นประเภทตรงข้าม พบในกลุ่มตั้งครรภ์จากความรักจำนวน 121 คน คิดเป็นอัตรา 1: 3.5 และกลุ่มที่ไม่มีเพื่อนสนิทมีประวัติการตั้งครรภ์จำนวน 134 คนคิดเป็นอัตรา 1: 3.5 3) มารดาวัยรุ่นที่มีสุขภาพจิตดีมาก มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงและมีสัมพันธภาพในครอบครัวดีมาก เป็นผู้ที่มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากกว่ามารดาวัยรุ่นประเภทตรงข้าม พบในกลุ่มที่มีพี่น้องหนึ่งคน จำนวน 165 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.5 และกลุ่มตั้งครรภ์จากไม่ได้ป้องกันการคุมกำเนิด จำนวน 167 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.5 4) จิตลักษณะเดิมและสถานการณ์ ร่วมกับตัวทำนายกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ ทำนาย 1) ทัศนคติต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์สูงสุดในกลุ่มมารดาวัยรุ่น และกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีอาชีพอื่นๆ 47.6% จำนวน 326 คน คิดเป็นอัตรา 1: 2.7 และ 2) ความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ทำนายได้สูงสุดในกลุ่มมารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่ไม่ได้รับค่าใช้จ่ายจากพ่อแม่ 52.6 % จำนวน 249 คน คิดเป็นอัตรา 1: 3.5 5) จิตลักษณะเดิมและสถานการณ์ กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ร่วมกับตัวทำนายกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ สำมำรถทำนายการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ได้ 54.6 % โดยมีตัวทำนายที่สำคัญ คือ ความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม และทำนายได้สูงสุดในกลุ่มมารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ได้ 63.8 % จำนวน 259 คน คิดเป็นอัตรา1: 3.4 6) จำ แนกพฤติกรรมของมารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิง ในปริมาณที่แตกต่างกันได้ถูกต้อง 65.3% และ 7) มารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ได้แก่ 1) กลุ่มที่มีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์น้อยประกอบด้วย กลุ่มที่มีพี่น้อง กลุ่มที่ไม่ได้ป้องกันคุมกำเนิด และกลุ่มที่ตั้งครรภ์จากความผิดพลาดในการคุมกำเนิด โดยมีปัจจัยปกป้องที่สำคัญ คือ ความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน และ 2) มารดาวัยรุ่นและกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมการคุมกำเนิดขณะมีเพศสัมพันธ์ ประกอบด้วย กลุ่มที่มีพี่น้อง และกลุ่มที่พักอาศัยบ้านคนอื่น โดยมีปัจจัยปกป้องที่สำคัญ คือ การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม สัมพันธภาพในครอบครัวความพร้อมในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ และความเชื่ออำนาจในตนth
dc.description.abstractจากผลการวิจัย ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดการวิจัยได้ ดังนี้ 1) สามารถนำผลการวิจัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างชุดฝึกอบรม เพื่อพัฒนาให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม 2) สร้างฐานข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ 3) เสริมผลการศึกษาที่ได้จากการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพในกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญเพื่อให้สามารถตอบคำถามการวิจัย ให้มีความครอบคลุมและละเอียดมากยิ่งขึ้นth
dc.format.extent356 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2014.76
dc.identifier.otherb190486th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4459th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherครรภ์ในวัยรุ่นth
dc.titleปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นจังหวัดลพบุรีth
dc.title.alternativePsycho-social factors contributing to teenage pregnancy behavior in Lop Buri Provinceth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190486.pdf
Size:
5.54 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
full text

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: