การบริหารการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

dc.contributor.advisorสุวิชา เป้าอารีย์th
dc.contributor.authorซุกรีย๊ะห์ หะยีสะอะth
dc.date.accessioned2021-12-07T07:34:16Z
dc.date.available2021-12-07T07:34:16Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการศึกษาของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี2) เพื่อศึกษาการบริหารการพัฒนาการศึกษา เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซียนของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ศึกษาได้ศึกษา ข้อมูลจากเอกสาร และรวบรวมข้อมูล จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ รวมทั้งสิ้น 13 คน คณะผู้บริหาร จำนวน 1 คน คณะบุคลากรครูสมาคมศิษย์เก่า สมาคมผู้ปกครอง จำนวน 12 คน และนักเรียน จำนวน 18 คน โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมทั้งการสังเกต พฤติกรรม และกระบวนการสนทนากลุ่ม ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนก ข้อมูลเป็ นหมวดหมู่หาความหมายและความเชื่อมโยงของประเด็นต่างๆ ภายใต้บริบทที่เป็นอยู่ แล้วนำเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารการศึกษาของโรงเรียนสาธิตฯ ได้ทำการศึกษาไว้7 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการอำนวยการสั่งการ ด้าน การประสานงาน ด้านการรายงานผลการปฏิบัติงาน และด้านการงบประมาณ โดยสามารถสรุป ภาพรวมของการบริหาร คือ การบริหารของโรงเรียนสาธิตฯ เน้นการบริหารโดยในแต่ละฝ่าย ผู้บริหารจะยึดหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาลและการกระจายอำนาจ แต่ละฝ่ายสามารถ ทำงานและบริหารงานได้อย่างเต็มที่ตามนโยบายและแผนปฏิบัติงานของโรงเรียนที่กำหนดไว้ ในแต่ปี และกระบวนการพัฒนายึดหลัก PDCA ทั้งนี้ ในการบริหารยังมีคณะกรรมการอีก 4 ฝ่ายที่ ช่วยกันควบคุม ดูแลและเสนอแนะความคิดเห็นในการบริหาร คือ กรรมการบริหารโรงเรียน สาธิตฯ กรรมการสถานศึกษา กรรมการชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตฯ และ กรรมการ ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตฯ 2) การบริหารการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ โรงเรียนสาธิตฯ ประกอบด้วย ด้านการบริหาร พบว่า ทางโรงเรียนมีการเตรียมพร้อมในการบริหารในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านความเข้าใจในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้านภาษา ด้านหลักสูตร และด้านการเปิดเสรีทางการศึกษา ด้านการปรับตัว การปรับตัวของโรงเรียนสาธิตฯ พบว่า ใน ลักษณะของการปรับตัว จะให้ความสำคัญประการแรกเรื่องของภาษา รองลงมาการปรับตัวใน ด้านการเรียนรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอาเซียน วัฒนธรรม วิถีชีวิตของกลุ่มประเทศ อาเซียน ด้านผลกระทบ ผลกระทบทางบวก ทำให้เกิดความร่วมมือกันในด้านการศึกษา ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มประเทศ เกิดการกระตุ้นให้นักเรียน ฯลฯ ผลกระทบทางลบ เกิดการแข่งขันกันในการศึกษา การด้อยในเรื่องภาษาของเด็กนักเรียน หรือบุคลากร ฯลฯ ด้าน คุณภาพนักเรียน พบว่าในด้านการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ทางโรงเรียนสาธิตฯ มีแนวทางการ บริหารเป็ นไปในทิศทางที่มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่แล้วเพราะทางโรงเรียน มีความเข้มงวดในการเข้ารับนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อโดยการคัดเลือกในลักษณะที่มีความ เข้มข้น และด้านคุณภาพครู คุณภาพครูอาจจะมีความแตกต่างกันในแต่ละรายวิชาโดยถ้าเป็น ครูในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่ถ้ากลุ่มสาระอื่นๆ อาจจะมีความด้อยในด้านภาษาบ้าง โดยเฉพาะภาษาที่เป็นทางการเพื่อใช้ในการสื่อสารทาง วิชาการ 3) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสาธิตฯ คือ (1) ปัญหาการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยปัญหาที่พบคือ ทาง โรงเรียนมีแนวทางและแผนงานการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่อาเซียนที่ยังไม่ชัดเจน บุคลากร ครูบางส่วนไม่ค่อยตระหนักถึงเรื่องอาเซียน และประการสุดท้ายปัญหาการศึกษาตามนโยบาย กระทรวงศึกษาธิการที่มีลักษณะของการเรียนรู้ที่ไม่บูรณาการ องค์ความรู้มีขีดจำกัด รายวิชาที่ เรียนเยอะไป เน้นทฤษฎีมากเกินไป (2) แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคม อาเซียนต่อไป ในส่วนด้านการบริหาร ผู้บริหารควรมีแนวทางการขับเคลื่อนแผนงาน เป้าหมาย ในการดำเนินงานที่ชัดเจน ด้านบุคลากร นักเรียน ควรส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มี ความสามารถมากขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในการรวมตัวกันเป็นประชาคม และด้านวิชาการ ควรมีการเปิดหลักสูตรในด้านภาษาที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาษาเพื่อนบ้านใน กลุ่มอาเซียน ควรเปิดรายวิชาที่เป็นทักษะวิชาชีพ เพื่อง่ายในการเข้าทำงานในตลาดแรงงาน เป็นต้นth
dc.format.extent140 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.145
dc.identifier.otherb194301th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5334th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการบริหารการศึกษาth
dc.subject.otherโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth
dc.titleการบริหารการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีth
dc.title.alternativeThe education development administration for community: a case study of Demonstration School Prince of Songkla Universityth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194301.pdf
Size:
1.07 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections