ความแปลกแยกของแรงงานในอุตสาหกรรมไทย

dc.contributor.advisorแสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสมชาย ตระการกีรติth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:24Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:24Z
dc.date.issued1987th
dc.date.issuedBE2530th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2530.th
dc.description.abstractจากผลการศึกษาสรุปได้ว่า แรงงานในอุตสาหกรรมไทยมีความแปลกแยกดำรงอยู่ในระดับสูง เกือบทุกลักษณะของความแปลกแยก อันได้แก่ สภาวะเหินห่างจากตนเอง สภาวะไร้อำนาจ สภาวะไร้ความหมาย สภาวะสิ้นหวัง เว้นแต่สภาวะปรปักษ์เท่านั้นที่ดำรงอยู่ในระดับไม่สูงนัก ลักษณะของความแปลกแยกแต่ละลักษณะมีประเด็นที่ค้นพบแตกต่างกันไปบ้างดังนี้th
dc.description.abstractลักษณะของสภาวะเหินห่างจากตนเอง ได้พบทั้งในด้านการดำเนินการผลิตและผลผลิตแรงงาน กล่าวคือ ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่มีความผูกพันกับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนเป็นด้านหลัก โดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของชีวิตตนเองเป็นเพียงด้านรอง มีผู้ใช้แรงงานเพียงส่วนน้อยที่คำนึงถึงความผูกพันและเห็นคุณค่าในผลผลิตแรงงานหรือสิ่งของที่ตนใช้แรงงานผลิตเป็นด้านหลักth
dc.description.abstractลักษณะของสภาวะไร้อำนาจ ได้พบทั้งในด้านภาระหน้าที่การผลิต กระบวนการผลิต และกรรมวิธีการผลิต กล่าวคือ ผู้ใช้แรงงานนอกจากจะมีส่วนร่วมน้อยแล้ว ยังมีบทบาทน้อยมาก ในการกำหนดและการเปลี่ยนแปลงภาระหน้าที่การผลิต กระบวนการผลิต และกรรมวิธีการผลิตth
dc.description.abstractลักษณะของสภาวะไร้ความหมาย ได้พบทั้งในด้านกระบวนการผลิตและผลผลิตแรงงาน ทั้งนี้เพราะผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่เห็นว่าตนเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ประกอบอยู่ในระบบการผลิต ที่มีการใช้เครื่องจักรเป็นหลัก ภายใต้ลักษณะการแบ่งงานกันทำเป็นส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมth
dc.description.abstractลักษณะของสภาวะสิ้นหวัง ได้พบทั้งในด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคม ซึ่งผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่เห็นว่าตนมีรายได้เพียงระดับยังชีพ และก็มีจำนวนอีกไม่น้อยที่เห็นว่ามีรายได้ต่ำกว่าระดับยังชีพ และยังเห็นว่าตนเป็นคนอยู่ในระดับชั้นต่ำของสังคม ขณะเดียวกันตนก็มีความต้องการอยากจะยกหรือเลื่อนสถานภาพทางสังคมให้สูงขึ้น แต่ก็มองว่าไม่มีโอกาสเป็นไปได้หรือเป็นไปได้น้อยในการยกหรือเลื่อนสถานภาพดังกล่าว.th
dc.description.abstractสำหรับในลักษณะของสภาวะปรปักษ์ซึ่งแตกต่างจากลักษณะอื่นที่กล่าวแล้วข้างต้น คือ ได้พบในระดับไม่สูงทั้งในด้านการมีแนวคิดพื้นฐานในการมองความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงาน ด้านการมีแนวคิดต่อสภาพความขัดแย้งระหว่างทุนกับแรงงาน และด้านการมีแนวคิดต่อวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างทุนกับแรงงาน โดยผู้ใช้แรงงานมีแนวคิดพื้นฐานว่านายทุนกับผู้ใช้แรงงานเป็นบุคคลคนละฝ่ายที่มีผลประโยชน์แตกต่างกัน และ/หรือขัดแย้งกัน โดยฝ่ายนายทุนมักจะรวย ฝ่ายผู้ใช้แรงงานมักจะจน ฝ่ายนายทุนมักเป็นคนต่างเชื้อชาติ ฝ่ายผู้ใช้แรงงานมักจะเป็นคนไทย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างในลักษณะดังกล่าว ฝ่ายผู้ใช้แรงงานมองว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะมีผลประโยชน์บางส่วนร่วมกันทั้งในด้านหลักการและข้อเท็จจริง ในการแก้ไขความขัดแย้งผู้ใช้แรงงานมีแนวคิดในเชิงลัทธิสหภาพแรงงานที่เน้นการเจรจาต่อรองกับฝ่ายนายจ้างด้านเศรษฐกิจ จากลักษณะดังกล่าว แสดงว่าผู้ใช้แรงงานหย่อนจิตสำนึกทางชนชั้น กล่าวคือ มองความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างทุนกับแรงงานในแง่ชนชั้นและชนชาติเป็นสำคัญ มิได้มองความสัมพันธ์ในลักษณะเป็นปฏิปักษ์ แต่มองในลักษณะของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน มีความคับแคบในการมองและเข้าใจปัญหา โดยเห็นเฉพาะปัญหาค่าตอบแทน สวัสดิการ และสวัสดิภาพ อันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าเป็นหลักเท่านั้น ขาดการมองลักษณะด้านกว้างทางการเมือง.th
dc.description.abstractส่วนในประเด็นเหตุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความแปลกแยก พบว่า ขนาดของอุตสาหกรรม ระดับเทคโนโลยี และระบบการจัดการแบบสมัยใหม่ มีความสัมพันธ์ทางปฏิฐานกับความแปลกแยก นอกจากนี้ยังได้พบว่ามีความสัมพันธ์ทางปฏิฐานระหว่าง สภาวะเหินห่างจากตนเอง กับสภาวะไร้อำนาจ สภาวะไร้ความหมาย สภาวะสิ้นหวัง และสภาวะปรปักษ์อีกด้วย.th
dc.format.extent[113] แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1987.3
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2137th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectแรงงานth
dc.subjectอุตสาหกรรมth
dc.subjectความแปลกแยกth
dc.subject.lccHD 8700.575 ส16คth
dc.subject.otherแรงงาน -- ไทยth
dc.subject.otherอุตสาหกรรม -- ไทย -- ลูกจ้างth
dc.titleความแปลกแยกของแรงงานในอุตสาหกรรมไทยth
dc.title.alternativeLabour's alienation in Thai industryth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentโครงการบัณฑิตศึกษาพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์ทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b7425.pdf
Size:
1.42 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections