การประเมินผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24

dc.contributor.advisorแตงอ่อน มั่นใจตน, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorอภิสิทธิ์ พึ่งพรth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:14Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:14Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractการประเมินผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทำการศึกษาที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเหมืองทอง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาม และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยดอกไม้ ในการศึกษาครั้งนี้ เน้นการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการดำเนินงาน (Process) ประสิทธิผล (Effectiveness) และผลกระทบ (Impact) ของการดำเนินงานโครงการช่วงปีการศึกษา 2534-2535 ผลที่ได้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการต่อไป.th
dc.description.abstractการประเมินปัจจัยนำเข้าได้พิจารณาถึงการให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณ จากผลการศึกษาพบว่า การให้ความรู้ซึ่งพิจารณาจากการให้ความรู้ทางด้านการเกษตร ด้านการประกอบอาหารและโภชนาการ ด้านหลักและวิธีการดำเนินโครงการนั้น ในสองกิจกรรมแรกมีการให้ความรู้ โดยการจัดอบรมให้แก่ครูและนักเรียนทั้ง 4 โรงเรียน แต่สำหรับด้านหลักและวิธีการดำเนินโครงการ พบว่าไม่มีการให้ความรู้ในเรื่องนี้ทุกโรงเรียน ในด้านอุปกรณ์ซึ่งพิจารณาทั้งอุปกรณ์การเกษตร อุปกรณ์งานครัว และวัสดุการเกษตรนั้น พบว่าอุปกรณ์และวัสดุที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่เพียงพอในทุกด้าน แต่อย่างไรก็ตามได้มีการแก้ไขปัญหานี้โดยใช้อุปกรณ์ที่ชาวบ้านมีอยู่ สำหรับงบประมาณซึ่งส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาล และมีส่วนมาจากชาวบ้านนั้น จากการศึกษาพบว่างบประมาณที่มาจากชาวบ้านจะมีสัดส่วนสูงกว่างบประมาณที่มาจากรัฐบาลใน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า บ้านเหมืองทอง และบ้านห้วยเวียงงาม กล่าวคือจะอยู่ในระหว่างร้อยละ 59.81 - 72.97 นอกจากนี้พบว่าในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยดอกไม้ และบ้านห้วยเวียงงาม มีงบประมาณไม่เพียงพอth
dc.description.abstractการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ได้พิจารณาถึงการจัดการด้านต่าง ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการติดตามผลการดำเนินงาน จากผลการศึกษาพบว่าการจัดการด้านการผลิตนั้นในทุกโรงเรียน จะไม่ได้ใช้หลักวิชาการเท่าที่ควร แต่จะใช้ประสบการณ์ของครู ส่วนการจัดการด้านการประกอบอาหารกลางวัน พบว่ามีเพียงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้าเท่านั้น ที่ใช้หลักวิชาการในการดำเนินงานสำหรับการจัดการด้านการเงิน พบว่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเป้า และบ้านเหมืองทองเป็นไปอย่างเหมาะสม ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งพิจารณาการมีส่วนร่วมในเรื่องของการประชุม การอุทิศแรงกาย การบริจาคเงินและสิ่งของ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านห้วยเป้ามีสูงกว่าในหมู่บ้านอื่น ๆ ทุก ๆ ด้าน สำหรับ 3 โรงเรียนที่เหลือนั้น ชาวบ้านมีส่วนร่วมในระดับปานกลางทุกด้าน ยกเว้นบ้านห้วยดอกไม้ที่ชาวบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริจาคเงินและสิ่งของค่อนข้างน้อย เกี่ยวกับการติดตามผลการดำเนินงาน ซึ่งทำโดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรตำบล วิทยาลัยเกษตรกรรม เป็นต้น พบว่ามีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอในทุกโรงเรียนth
dc.description.abstractการประเมินประสิทธิผล พิจารณาจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืช และการเลี้ยงสัตว์ และพิจารณาจากการประกอบอาหาร จากผลการศึกษาพบว่าทั้งสามโรงเรียนยกเว้นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยดอกไม้ สามารถผลิตพืชผักได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายนักเรียน แต่สำหรับการเลี้ยงสัตว์นั้น ทั้ง 4 โรงเรียนผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนพันธุ์สัตว์ และอาหารสัตว์ ในส่วนของการประกอบอาหาร พบว่าโรงเรียนบ้านห้วยดอกไม้เป็นโรงเรียนเดียวที่ไม่สามารถประกอบอาหารได้ครบทุกวัน เพราะข้อจำกัดในด้านงบประมาณ.th
dc.description.abstractการประเมินผลกระทบ ได้พิจารณาในด้านของภาวะทุพโภชนาการ ความพึงพอใจ และความรู้ทางด้านการเกษตรและโภชนาการ จากผลการศึกษาพบว่าโครงการนี้มีส่วนช่วยแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในทุกโรงเรียน สำหรับความพึงพอใจนั้นได้พิจารณาความพึงพอใจทั้งของนักเรียนและของผู้ปกครอง ในส่วนของนักเรียนได้พิจารณาในด้านรสชาดและปริมาณของอาหาร กิจกรรมการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ สำหรับของผู้ปกครองพิจารณาความพึงพอใจต่อกิจกรรมด้านการเกษตรและการประกอบอาหาร ด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของนักเรียน จากผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจของนักเรียนในทุกโรงเรียน มีความพึงพอใจสูงในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านปริมาณอาหารกลางวัน สำหรับความพึงพอใจของผู้ปกครองพบว่ามีความพึงพอใจสูงในทุก ๆ ด้าน เช่นเดียวกันth
dc.description.abstractโดยสรุปการดำเนินงานโครงการ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการให้หมดไปได้ ทั้งนี้ควรปรับปรุงในด้านของปัจจัยนำเข้า (Input) และกระบวนการดำเนินงาน (Process) ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา กล่าวคือ ด้านปัจจัยนำเข้า ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักและวิธีการดำเนินงานโครงการให้กับครู และประชาชน ควรคัดเลือกครูใหญ่ โดยพิจารณาคุณสมบัติด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ นอกจากนี้ควรจัดหางบประมาณให้เพียงพอ สำหรับด้านกระบวนการดำเนินงาน ควรส่งเสริมให้มีการวางแผนการผลิต และการประกอบอาหารให้ถูกหลักวิชาการ ตลอดจนเน้นการผลิตอาหารโปรตีนทั้งมาจากพืชและจากสัตว์ให้พอเพียงกับความต้องการ.th
dc.format.extent12, 139 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.31
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1750th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการประเมินโครงการth
dc.subject.lccHD 69 .P75 อ16th
dc.subject.otherโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน -- การประเมินth
dc.titleการประเมินผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24th
dc.title.alternativeAn evaluation of the agricultural project for lunch program initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn : a case study of the schools in the 24th Border Patrol Police Regional Headquaterth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b4308.pdf
Size:
2.31 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections