นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorอรญา อู่สุวรรณth
dc.date.accessioned2023-12-12T07:10:20Z
dc.date.available2023-12-12T07:10:20Z
dc.date.issued2023th
dc.date.issuedBE2566th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรชุมชน และนวัตกรรมทางสังคม เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคมตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – Depth Interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากกลุ่มผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นต้น จำนวน 20 ท่าน และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) กับตัวเเทนครัวเรือน จำนวน 261 ครัวเรือน โดยวิธีการสุ่มแบบโควตาไม่เป็นสัดส่วน (Quota sampling) และแบบบังเอิญ (Accidental Selection) วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS (Statistical Package for the Social Science) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการศึกษาพบว่า ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและนวัตกรรมทางสังคมของตำบลตลาดใหม่มีประวัติศาสตร์ของบรรพชนทั้งหมด 12 ท่าน และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการตั้งกลุ่มวิสาหกิจ เช่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจักสานบ้านตลาดใหม่ วิสาหกิจชุมชนคนรักดนตรีไทย อบต .ตลาดใหม่ การแสดงลำตัด กลุ่มขนมไทยบ้านตลาดใหม่ กลุ่มนวดแผนโบราณเพื่อสุขภาพ และกระถางดินเผา เป็นต้น ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน พบว่า มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และเปิดโอกาสให้หน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาเข้ามาพัฒนา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ รวมถึงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และ 2) ปัจจัยภายนอก พบว่า มีนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีกฎหมายในการควบคุมมาตรฐานของการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคม ได้แก่ การส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนโดยนวัตกรรมทางสังคม ผลักดันการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนและการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการตลาดดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว เพื่อประชาสัมพันธ์ และขายสินค้าและบริการการท่องเที่ยว จัดเส้นทางการท่องเที่ยว One Day Trip และครบวงจร ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชุมชน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในอำเภอ จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียงโดยขอความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนth
dc.description.abstractThis research study aims to analyze the potential for sustainable tourism development based on community resources and social innovation. It also aims to analyze factors affecting sustainable tourism management and to propose guidelines for driving sustainable tourism through social innovation in Talat Mai Subdistrict, Wiset Chai Chan District, Ang Thong Province. This study adopts a Mixed Method Research approach, combining Qualitative Research through In-Depth Interviews and Focus Group Discussions with formal and informal community leaders, such as Chief Executive of the SAO and Village Health Volunteer, totaling 20 people. Additionally, Quantitative Research using Questionnaires was conducted with 261 representative households, employing Quota sampling and Accidental Selection methods. Data from the questionnaires were analyzed using descriptive statistics such as percentages and frequencies with the Statistical Package for the Social Sciences, while qualitative data were analyzed through Content Analysis. The study revealed that the potential for sustainable tourism development and social innovation in Talat Mai Subdistrict is rooted in its history of 12 ancestors and local wisdom that has emerged from community participation in establishing enterprise groups. These groups include the Savings Group Community Enterprise for the Production of Baan Talat Mai Basketry, a Thai music lover community enterprise, the Talat Mai Subdistrict Administrative Organization, Lam Tad performances, Baan Talat Mai Thai dessert group, traditional massage for health, and clay pots production, among others. Factors influencing sustainable tourism include internal factors, such as the presence of history experts and opportunities for agencies or educational institutions to focus on area development, including support for community participation. External factors include government tourism promotion policies aimed at stimulating the economy and laws regulating tourism standards affecting sustainability. Guidelines for driving sustainable tourism through social innovation include: Promoting the development of the area as a historical tourist destination through the participation of people in the community, Driving sustainable historical tourism through social innovation, Promoting tourism that is consistent with community identity and environmentally friendly tourism, Utilizing digital marketing to publicize and sell tourism products and services, Organizing One-Day Trips and creating complete travel routes to promote community tourism, allowing tourists to learn about the ways of the community, Establishing connections in tourism across the district, province, and nearby regions by seeking cooperation with the government and private sectors."th
dc.format.extent160 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb216640th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6691th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectSocial innovationen
dc.subjectนวัตกรรมทางสังคมth
dc.subjectการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนth
dc.subject.otherการพัฒนาแบบยั่งยืนth
dc.subject.otherการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์th
dc.subject.otherSustainable tourismth
dc.subject.otherHistorical tourismth
dc.titleนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนth
dc.title.alternativeSocial innovation for sustainable tourismth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b216640.pdf
Size:
2.37 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections