การทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้สามทฤษฎีทางจิตสังคม ในนักศึกษาปริญญาตรี

dc.contributor.advisorดุจเดือน พันธุมนาวินth
dc.contributor.authorอนงค์ลักษณ์ พันธุ์พรหมธาดาth
dc.date.accessioned2022-08-15T09:30:42Z
dc.date.available2022-08-15T09:30:42Z
dc.date.issued2021th
dc.date.issuedBE2564th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่มีการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบในสามทฤษฎีทางจิตสังคม เพื่อศึกษาว่ากลุ่มตัวทำนายจากทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม (KAP) หรือกลุ่มตัวทำนายจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) หรือ ตัวทำนายจากกลุ่มจิตพลังจริยธรรม (Psycho Moral Strength: PMS) สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในครอบครัว ในมหาวิทยาลัย และในที่สาธารณะได้มากน้อยเพียงใด และมีปริมาณการทำนายที่เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 672 คน ประกอบด้วย เพศชาย 133 คน (19.80 %) เพศหญิง 539 คน (80.20 %) อายุเฉลี่ย 21 ปี 3 เดือน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวมและในกลุ่มย่อย 19 กลุ่ม ซึ่งแบ่งตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มพฤติกรรม 3 ตัวแปร คือ พฤติกรรมป้องกันโรคในครอบครัวพฤติกรรมป้องกันโรคในมหาวิทยาลัย และพฤติกรรมป้องกันโรคในที่สาธารณะ 2) กลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม 3 ตัวแปร คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เชิงประเมินค่า และ ความรู้สึกต่อพฤติกรรม 3) กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน 3 ตัวแปร คือ ปทัสถานทางสังคม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตน ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม 4) ทฤษฎีกลุ่มจิตพลังจริยธรรม คือ ความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และจริยธรรมหลุดด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และ 5) กลุ่มตัวแปรชีวสังคมภูมิหลัง แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดอยู่ระหว่าง .71 ถึง .87 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญมี 3 ประการ คือ ประการแรก กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรค (3 พฤติกรรม) ได้เพิ่มขึ้น จากกลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีปริมาณการทำนายที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 7.20% ถึง 15.00% โดยพบ 4 ตัวทำนายที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม 2) ความรู้สึกต่อพฤติกรรม 3) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และ 4) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประการที่สอง ทฤษฎีกลุ่มจิตพลังจริยธรรมสามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรค (3 พฤติกรรม) ได้เพิ่มขึ้น จาก 2 กลุ่มตัวทำนาย คือ กลุ่มทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม และตัวทำนายกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีปริมาณการทำนายที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 7.00% ถึง 9.10% โดยพบ 6 ตัวทำนายที่เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย  ได้แก่ 1) ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส 19 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส 19 3) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตน 4) ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม 5) ความรู้เชิงประเมินค่า และ 6) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และประการสุดท้าย ผลการทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงเส้นของกลุ่มพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 พบว่าได้รับอิทธิพลทางตรง จากตัวแปรแฝงทั้งหมด โดยเรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล ดังนี้ 1) ตัวแปรแฝงจากทฤษฎีกลุ่มจิตพลังจริยธรรม (.433) 2) ตัวแปรแฝงจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (.346) และ 3) ตัวแปรแฝงจากทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้-ทัศนคติ-พฤติกรรม (.276) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน (R2) ของตัวแปรแฝงพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ 57.90% โดยมีค่า α = 46.404, df = 33, p-value  = 0.0608, RMSEA = 0.025, CFI = 0.998, TLI = 0.995 และ SRMR = 0.028 ข้อเสนอแนะในการพัฒนา  ประการแรก ในกลุ่มรวม ควรพัฒนาทางด้านจิตลักษณะดังนี้ 1) ความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 3) ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม และ4) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม  เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ทั้งในบริบทของครอบครัว มหาวิทยาลัย และในที่สาธารณะ ประการที่สอง ในกลุ่มเสี่ยงขั้นต้น ควรพัฒนา 1) กลุ่มนักศึกษาเพศชาย โดยพัฒนาความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และอาจพัฒนาปัจจัยเชิงเหตุในกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพิ่มเติม 2) กลุ่มนักศึกษาที่มีค่าใช้จ่ายน้อย โดยพัฒนาความเชื่ออำนาจในตนด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรใช้ตัวทำนายในกลุ่มจิตพลังจริยธรรม หรือกลุ่มทฤษฎีอื่นๆ ที่สนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยควรเป็นจิตเฉพาะกิจ (State) ในการทำนายพฤติกรรม จึงจะสามารถพบผลที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรที่เป็นเป้าหมายของโครงการต่อไปth
dc.description.abstractThe aim of this correlational comparative study was to investigate three important psychological theories as knowledge – attitude - practice theory (KAP), theory of planned behavior (TPB), and psycho-moral strength theory (PMS), and to determine the predicting power of these three psycho-social models on the health preventive behavior concerning Covid-19 (HPB)  in family, university, and public area. The samples were 672 undergraduate students from junior and senior levels, which consisted of 133 males (19.80%), 539 females (80.20%), with an average age of 21.20 years old.  Multi-stage sampling was employed to select the sample.  The data were analyzed in the total sample and the other 19 subgroups which were categorized by the biosocial background of the sample. The variables were composed of 5 groups. The first group was the HPB which included three variables as the HPB in family, in university, and in the public. The second group of variables was from the KAP model, consisting of three variables as health literacy component (HL), cognitive evaluation component (CE), and affective component (AC). The third group of variables was from the TPB theory, consisting of the social norm (SN), perceived behavioral control (PBC), and behavioral intention (BI). The fourth group of variables was from the PMS model, consisting of internal locus of control concerning Covid-19 prevention (ICC), future orientation and self-control concerning Covid-19 prevention (FOSEC), need for achievement concerning Covid-19 prevention (nAchC), and moral disengagement concerning Covid-19 prevention (MDC). The final group of variables was the biosocial background of the sample. Most of the questionnaires were in the form of a summated rating scale with a range of reliability between  0.71 to 0.87.       Results revealed that 1) the predictors from the TPB theory could significantly predict these three behaviors beyond the predictors from the KAP model with additional predictive power ranging between  7.20% to 15.00%. The common important predictors were  BI, AC, PBC, HL. 2) the predictors from the PMS model could significantly predict these three behaviors beyond the predictors from the KAP model together with the TPB theory, with additional predictive power ranging between 7.00% to 9.10%. The common important predictors were FOSEC, nAchC, PBC, BI, CE, and HL. and 3) Path analysis result indicated model fit  (chi-square = 46.404, df = 33, p-value = 0.0608, RMSEA = 0.025, CFI = 0.998, TLI = 0.995, SRMR = 0.028). The HPB latent variable was directly affected by the PMS latent variable (path coefficient = .433), followed by the TPB latent variable (path coefficient = .346), and the KAP latent variable (path coefficient = .276) which could explain the variance (R2) of HPB at 57.90% Finally, the research suggested that promoting the HPB in all groups at all levels should be focused on the development of the ICC, nAchC, BI, and PBC. To promote the HPB among undergraduate students such as primary high-risk groups should be focused on the male students (the main point was to enhance the ICC) and low-income students (the main point was to enhance ICC, nAchC, and BI). Furthermore, suggestions for the next study should consider using the PMS model, especially in terms of psychological state for better explaining and predicting the desirable behaviors.th
dc.format.extent254 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2021.78
dc.identifier.otherb213854th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6008th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19th
dc.subjectความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมth
dc.subjectความรู้สึกต่อพฤติกรรมth
dc.subjectการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมth
dc.subjectBehavioral intentionth
dc.subjectAffective componentth
dc.subjectPerceived behavioral controlth
dc.subjectHealth literacy componentth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectความรอบรู้ด้านสุขภาพth
dc.subject.otherCOVID-19 (Disease)th
dc.subject.otherCOVID-19 prevention behaviorsth
dc.titleการทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้สามทฤษฎีทางจิตสังคม ในนักศึกษาปริญญาตรีth
dc.title.alternativePredicting COVID-19 related preventive behaviors using three psycho-social models in undergraduate studentth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสต์การบริหารth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b213854.pdf
Size:
2.88 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: