ปัจจัยเชิงเหตุ ด้านจิตลักษณะ สถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ และการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรี
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
No. of Pages/File Size
259 leaves
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b191703
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิลาวัลย์ คล้ายประยงค์ (2015). ปัจจัยเชิงเหตุ ด้านจิตลักษณะ สถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ และการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรี. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6662.
Title
ปัจจัยเชิงเหตุ ด้านจิตลักษณะ สถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ และการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรี
Alternative Title(s)
Psychological characteristics, situational factors and social norm related to attitude and acceptance of nuclear power plant in thai undergraduate students
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนคติ และ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักศึกษาปริญญาตรี ในด้านการประเมินค่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความรู้สึกต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่ามีปริมาณแตกต่างกันมากน้อยเพียงใดการวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดฟื้นฐานในการวิจัยมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎีและหลักการที่สำคัญทางจิตวิทยา ทั้งในประเทศละต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักศึกษาปริญญาศรี ชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควต้า ได้จำนวนทั้งสิ้น 498 คน เป็นเพศชาย 193 คน เพศหญิง 305 คน มีอายุเฉสี่ย 21 ปี 3 เดือน ตัวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ จิตลักษณะ 2) สถานการณ์ 3) การรับรู้ปทัสถานด้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4) ทันคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5) การยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ และ 6) ลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า
ผลการวิจัยที่สำคัญ ประการแรก ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า การรับรู้ ปทัสถานจากผู้ปกครองเป็นตัวทำนายที่สำคัญที่สุด ในการทำนายทันคติที่ดีต่อ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (การประเมินค่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความรู้สึกที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์) และตัวทำนายที่สำคัญรองลงมา ได้แก่ ความรู้ด้านโรงไฟฟ้านิเคลียร์ทั่วไป และการรับรู้ปทัสถานจากเพื่อน
ประการที่สอง ปัจจัยด้านจิตลักษณะ ร่วมกับสถานการณ์ และการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และทัศนติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวม 15 ตัวแปร พบผลทำนายของกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศหญิง กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มนักศึกษาที่มีอายุน้อย กลุ่มนักศึกษาที่มารดามีระดับการศึกษาน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่บิดามีระดับการศึกษาน้อย ตามลำดับ
สำหรับผลทำนายของกลุ่มที่มีความสำคัญต่อความเห็นด้วยในการก่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในหมู่บ้านที่เป็นภูมิลำเนาเดิม และในปริมณฑลรอบกรุงเทพฯ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศหญิง กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มนักศึกษาที่บิดามีระดับการศึกษาน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่มารดามีระดับการศึกษาน้อย ตามลำดับ
ประการที่สาม จากการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้น พบว่า :) ตัวแปรความรู้ค้าน โรงไฟฟ้าานิเคลียร์มีอิทธิพลทางตรงต่อ ตัวแปรการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และตัวแปรทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลท่ากับ .793 และ .459 ตามลำดับ) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .139) 2) ตัวแปรจิตลักษณะ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (คำสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .273) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้าานิวเคลียร์ ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟนิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .103) 3) ตัวแปร สถานการณ์ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปร ทันคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .184) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผ่านทัศนติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .069) 4) ตัวแปรการรับรู้ปทัสถานด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรทันติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .462) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผ่านทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์(ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .175) 5) ตัวแปร ทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีอิทธิพลทางตรงไปยัง ตัวแปรการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ค่าสัมประสิทธิอิทธิพลเท่ากับ .378)
ข้อเสนอแนะการปฏิบัติเพื่อการพัฒนานั้น พบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญอย่าง มากต่อการยอมรับโรงนิ วเคลียร์ คือ การรับรู้ปทัสถาน จากผู้ปกครอง และการรับรู้ปทัสถาน จากเพื่อนและความพร้อมที่จะยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้บุคคลที่มีบทบาทต่อการรับรู้ปทัสถานด้าน โรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักศึกษา เช่น ผู้ปกครอง และเพื่อนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อเป็นแบบอย่างด้านการมีทัศนคติที่ดี และมีการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558